แผนการสอน
รายวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย
บทที่ 2 นโยบายเกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ
2.1 แนวคิดและจุดมุ่งหมายของนโยบาย
2.2 การจัดทำนโยบาย
2.3 การดำเนินงานทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
2.4 การกำหนดนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.5 วิธีการเผยแพร่นโยบายภายในองค์กร
2.6 วิธีการเผยแพร่ภายนอกองค์กร
2.7
วิธีการทบทวนและปรับปรุงนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.8
ข้อตกลงเกี่ยวกับนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.9 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่12
2.10 กิจกรรมที่ 1 สรุปประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพ
2.11แบบฝึกหัดประจำบทที่ 2
2.1 แนวคิดและหลักการ
คือแถลงการณ์ขององค์กรถึงความตั้งใจ มุ่งมั่น และหลักการในการทำงานด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมโดยรวม
เพื่อสภาพแวดล้อมที่ดีของสังคม นโยบายจึงเป็นกรอบสำหรับการดำเนินการขององค์กร และเพื่อการจัดตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของอนามัยสิ่งแวดล้อม
นโยบายเป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกในการปฏิบัติ
และปรับปรุงระบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กร เพื่อให้สามารถรักษาและปรับปรุงผลงานด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมาย และระบุถึงความตั้งในมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูงในอันที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นเรื่อย
ๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้า การดำเนินการ และอื่น ๆ
นโยบายต้องชัดเจนและง่ายต่อการอธิบายต่อคนงานในองค์กรและ
ผู้สนใจทั่วไปพร้อมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนให้ทันต่อเหตุการณ์และข้อมูลอยู่เสมอ นโยบายนี้ยังควรสอดคล้องกับนโยบายด้านอื่น
ๆ ขององค์กร เช่น นโยบายด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ฯลฯ นโยบายควรสะท้อนถึงสภาวะและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป
นโยบายจะนำไปใช้กับส่วนงานใดบ้างก็ควรจะชี้บ่งให้ชัดเจนลงไป ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรควรกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมและจัดทำเป็นเอกสาร
ในกรณีที่องค์กรนี้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใหญ่ นโยบายควรอยู่ในกรอบของนโยบายขององค์กรใหญ่
โดยที่องค์กรใหญ่นั้นยอมรับด้วย ซึ่งผู้บริหารอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือเป็นคณะกรรมการก็ได้
ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานโดยรวมขององค์กรนั้น ๆ
2.2 จำนวนชั่วโมงเรียน ภาคบรรยาย
2 ชั่วโมง
2.3 จุดประสงค์การเรียนรู้
2.4 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
2.5 เนื้อหาสาระ
ภาคบรรยาย
ภาคปฏิบัติ
2.6 สื่อการเรียนการสอน
แผ่นสไลด์บรรยาย (power point)
2.7 เอกสารประกอบการสอน
เอกสารประกอบการสอน
ประกอบด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่12 นโยบายกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
2.8 การวัดผลและประเมินผล
- สอบเตรียมความพร้อมก่อน-หลังเรียนประจำสัปดาห์
สรุปเนื้อหาที่เรียน/ใบงาน/ความรู้ที่ได้รับลงสมุดบันทึกท้ายชั่วโมงบรรยาย
การเข้าชั้นเรียน/การส่งใบงานตามเวลากำหนด
- สอบข้อเขียนกลางภาค
-
สอบข้อเขียนปลายภาค
บทที่ 2
นโยบายเกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ
2.1 แนวคิดและจุดมุ่งหมายของนโยบาย
2.2 การจัดทำนโยบาย
2.3
การดำเนินงานทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
2.4 การกำหนดนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.5 วิธีการเผยแพร่นโยบายภายในองค์กร
2.6 วิธีการเผยแพร่ภายนอกองค์กร
2.7 วิธีการทบทวนและปรับปรุงนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.8
ข้อตกลงเกี่ยวกับนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.9 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่12
2.10 กิจกรรมที่ 1
สรุปในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพ มา 3 ประเด็น
2.11แบบฝึกหัดประจำบทที่ 2
2.1 แนวคิดและจุดมุ่งหมายของนโยบาย
นโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมจะต้องเผยแพร่ให้กับบุคลากรภายในองค์กรได้ทราบ โดยการกำหนดลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญที่แสดงถึงจุดมุ่งหมายขององค์กร
นโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดทิศทางและแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดและเผยแพร่นโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับลักษณะ
ประเภท ขนาดของธุรกิจ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขององค์กร นโยบายสิ่งแวดล้อมต้องมีความเฉพาะเจาะจง
ชัดเจนและเป็นที่เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งภายในองค์กร ตลอดถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นระยะๆ
ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
2.2 การจัดทำนโยบาย
ในการจัดทำนโยบายนั้นจะต้องมีการดำเนินการโดยผู้บริหารสูงสุดเป็นหลัก หรือเป็นผู้ชี้แนวทางในการจัดทำนโยบายที่ถูกต้อง
และผู้ดำเนินการจะต้องเป็นผู้จัดทำนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดเพื่อให้ตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเช่น ผู้ร่วมถือหุ้น ผู้ร่วมลงทุน ชุมชนรอบข้างหรือเพื่อนบ้าน
ผู้รับประกัน คู่แข่งทางธุรกิจ องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ผู้กำหนดกฎหมาย ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ
ความคิดเห็นของชุมชน พนักงานในองค์กร ผู้บริโภค เป็นต้น กลุ่มบุคคลเหล่านี้คือบุคคลที่จะรับทราบถึงนโยบายขององค์กร
ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าแต่ละกลุ่มก็ต้องการรับข้อมูลหรือผลประโยชน์ทางด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป
2.3 การดำเนินงานทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
การแสดงถึงการดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างความสัมพันธ์อันดี รวมไปถึงภาพพจน์ที่ดีต่อสังคมและชุมชน
จะเห็นได้ว่าความแตกต่างของกลุ่มบุคคลย่อมมีจุดประสงค์ในการรับข้อมูลข่าวสารแตกต่างกันไป
และไม่ใช่ว่าองค์กรใดที่ไม่มีนโยบายสิ่งแวดล้อมจะไม่มีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในองค์กร
ในบางองค์กรจะรวมเอาเรื่องของสิ่งแวดล้อมอยู่ในการดำเนินงานขององค์กรด้วยแล้ว ซึ่งโดยมากจะรวมถึง
ด้านสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม แรงงานสัมพันธ์ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ทราบกันดีในแง่ของมาตรการทางด้านสังคม
ซึ่งเป็นมาตรการในการดำเนินงานร่วมกัน ซึ่งถ้าจะให้มีความเฉพาะเจาะจงก็ต้องมีการกำหนดนโยบายเฉพาะขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นนโยบายสิ่งแวดล้อม
หรือนโยบายด้านสังคมก็ตามขั้นตอนในการจัดทำนโยบายดังต่อไปนี้
(1)
การกำหนดนโยบาย
(2) การเผยแพร่นโยบาย
(3) การทบทวนและปรับปรุงนโยบายสิ่งแวดล้อม
(2) การเผยแพร่นโยบาย
(3) การทบทวนและปรับปรุงนโยบายสิ่งแวดล้อม
2.4 การกำหนดนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้กำหนดนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือให้ทิศทางแล้วมอบหมายให้คณะจัดทำฯ
ร่างนโยบายและนำมาเสนอให้พิจารณานโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม เนื้อหาที่จะต้องนำมาบรรจุลงในนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
เนื่องจากแต่ละองค์กรมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน มีปรัชญาในการดำเนินงานแตกต่างกัน
ซึ่งองค์กรจะต้องคาดหวังว่านโยบายจะต้องปฏิบัติได้ มีความเฉพาะเจาะจง และจะต้องเป็นที่ประทับใจของลูกค้าหรือผู้พบเห็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ชุมชนหรือคู่แข่งทางธุรกิจ นโยบายสิ่งแวดล้อมควรมีพื้นฐานมาจากการทบทวนสถานะเบื้องต้นทางด้านสิ่งแวดล้อม
นโยบายจะไม่มีความหมายเลยถ้าไม่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานที่จะปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
นโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมจะต้องครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้
(1) เหมาะสมกับลักษณะ ขนาด
และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากกิจกรรม สินค้า หรือบริการขององค์การ
(2) แสดงความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและป้องกันมลภาวะด้วยการใช้กระบวนการ กรรมวิธี หลีกเลี่ยง ลด หรือควบคุมมลพิษ ซึ่งอาจรวมถึงการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ การใช้ประโยชน์จากของเสีย การบำบัด การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต กรรมวิธีควบคุม การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้วัสดุทดแทน
(3) แสดงถึงความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับ รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ ที่องค์กรเป็นสมาชิกอยู่
(4) เป็นแนวทางที่ใช้ในการกำหนดและทบทวน วัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
(5) มีการบันทึกไว้ นำไปปฏิบัติและการรักษา เพื่อสื่อสารต่อพนักงานทุกคน เช่น รวมไว้ในคู่มือพนักงานหรือแยกส่วนไว้ต่างหาก
(6) เปิดเผยต่อสาธารณชน เช่น ปิดประกาศไว้ในห้องโถง และมีแจกถ้ามีผู้ขอดูนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีการลงนามโดยผู้บริหารระดับสูงสุด รวมทั้งลงวัน เดือน ปี ที่มีผลบังคับใช้ด้วย
(2) แสดงความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและป้องกันมลภาวะด้วยการใช้กระบวนการ กรรมวิธี หลีกเลี่ยง ลด หรือควบคุมมลพิษ ซึ่งอาจรวมถึงการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ การใช้ประโยชน์จากของเสีย การบำบัด การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต กรรมวิธีควบคุม การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้วัสดุทดแทน
(3) แสดงถึงความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับ รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ ที่องค์กรเป็นสมาชิกอยู่
(4) เป็นแนวทางที่ใช้ในการกำหนดและทบทวน วัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
(5) มีการบันทึกไว้ นำไปปฏิบัติและการรักษา เพื่อสื่อสารต่อพนักงานทุกคน เช่น รวมไว้ในคู่มือพนักงานหรือแยกส่วนไว้ต่างหาก
(6) เปิดเผยต่อสาธารณชน เช่น ปิดประกาศไว้ในห้องโถง และมีแจกถ้ามีผู้ขอดูนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีการลงนามโดยผู้บริหารระดับสูงสุด รวมทั้งลงวัน เดือน ปี ที่มีผลบังคับใช้ด้วย
นโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมควรเป็นแนวทางหรือหลักการสั้น ๆ และกว้างที่พิมพ์เผยแพร่
นอกจากนี้ยังมีแนวทางของกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละกลุ่มซึ่งรวมไปถึงแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
เช่น มาตรการของกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมอีเลคโทรนิค เป็นต้น มาตรการของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็สามารถนำมากำหนดเป็นนโยบายขององค์กรได้
เช่น การประหยัดพลังงาน การประหยัดน้ำ การป้องกันการเกิดมลพิษ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
หรือการลดปริมาณของเสียอันตราย เป็นต้น นโยบายจึงเป็นส่วนสำคัญในการใช้สำหรับการจัดทำวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ส่วนรายละเอียดและเป้าหมายนั้นจะเขียนไว้ในวัตถุประสงค์และเป้าหมายในขั้นตอนของการวางแผน
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายอีกทีหนึ่ง ในกรณีที่มีหน่วยงานในองค์กรใหญ่ ซึ่งมีนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว
นโยบายของหน่วยงานควรสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรใหญ่โดยอาจมีข้อจำกัดเฉพาะลงไปอีกได้
เอกสารนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรเป็นเอกสารระดับแรก ในระบบฯ
ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นขององค์กร ปัจจุบันหลาย ๆ องค์กรมักมีการจัดทำวิสัยทัศน์ขององค์กรมากกว่านโยบาย
ซึ่งในวิสัยทัศน์จะรวมถึงแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย โดยมากเอกสารนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมจะถูกระบุไว้ในคู่มือสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นเอกสารระดับสูงสุดขององค์กร อย่างไรก็ตามการเผยแพร่นโยบายซึ่งโดยมากองค์กรติดประกาศนโยบายไว้ตามที่ต่าง
ๆ ในองค์กรด้วย ซึ่งเอกสารนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นก็ต้องควบคุม (ตามแนวทางการควบคุมเอกสาร) ตามจุดที่นำไปติดด้วย
2.5 วิธีการเผยแพร่นโยบายภายในองค์กร
ต้องทำความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ รวมทั้งผู้รับจ้างที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ขององค์กรด้วยแล้วให้นำนโยบายไปปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าใจ และรู้จักวิธีการดำเนินงานที่ถูกต้องตามนโยบายดังกล่าว คือจะต้องทราบว่ากิจกรรมที่ตนเองทำนั้นส่งผลกระทบอะไรต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง และมีแนวทางในการดำเนินการเพื่อควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องมีการฝึกอบรมความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่มิใช่ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถท่องจำได้
ต้องทำความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ รวมทั้งผู้รับจ้างที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ขององค์กรด้วยแล้วให้นำนโยบายไปปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าใจ และรู้จักวิธีการดำเนินงานที่ถูกต้องตามนโยบายดังกล่าว คือจะต้องทราบว่ากิจกรรมที่ตนเองทำนั้นส่งผลกระทบอะไรต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง และมีแนวทางในการดำเนินการเพื่อควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องมีการฝึกอบรมความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่มิใช่ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถท่องจำได้
2.6 วิธีการเผยแพร่ภายนอกองค์กร
นโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมสามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานต่างประเทศ ที่เป็นทั้งลูกค้า โดยเฉพาะผู้ที่ส่งวัตถุดิบหรือผู้ส่งมอบ ผู้ที่ต้องการทราบ การเผยแพร่อาจทำเป็นเอกสาร ข่าวสาร หรือหนังสือพิมพ์ ต่อชุมชนโดยรอบ อาจจัดทำป้ายขนาดใหญ่หรือ การส่งเอกสารเพื่อเผยแพร่อื่น ๆ ก็ได้ การเผยแพร่สู่ภายนอกนั้นก็เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เช่น ลูกค้า ผู้ส่งมอบสินค้า ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ผู้ที่ได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากองค์กร ภายนอกองค์กรไม่ใช่ทุกคนตามที่หลายท่านเข้าใจ
นโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมสามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานต่างประเทศ ที่เป็นทั้งลูกค้า โดยเฉพาะผู้ที่ส่งวัตถุดิบหรือผู้ส่งมอบ ผู้ที่ต้องการทราบ การเผยแพร่อาจทำเป็นเอกสาร ข่าวสาร หรือหนังสือพิมพ์ ต่อชุมชนโดยรอบ อาจจัดทำป้ายขนาดใหญ่หรือ การส่งเอกสารเพื่อเผยแพร่อื่น ๆ ก็ได้ การเผยแพร่สู่ภายนอกนั้นก็เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เช่น ลูกค้า ผู้ส่งมอบสินค้า ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ผู้ที่ได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากองค์กร ภายนอกองค์กรไม่ใช่ทุกคนตามที่หลายท่านเข้าใจ
2.7
วิธีการทบทวนและปรับปรุงนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากสภาพการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ดังนั้น ผู้บริหารสูงสุดต้องมีการทบทวนและปรับปรุงนโยบายสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยอาจกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามความเหมะสม หรือถ้านโยบายที่กำหนดไว้ยังคงมีความทันสมัย
เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม นโยบายสิ่งแวดล้อมดังกล่าวก็ยังสามารถใช้ได้ก็ให้คงไว้ได้
ในการทบทวนและปรับปรุงนโยบายนั้นจะอาจมาจากคณะกรรมการดำเนินการ พนักงานหรือผู้บริหารเองก็ได้
ซึ่งต้องมีการสื่อสารนโยบายใหม่ให้กับคณะกรรมการบริหารพิจารณาตามลำดับ จนกระทั่งถึงคณะกรรมการบริหารองค์กรและผู้บริหารสูงสุด
ซึ่งนโยบายใหม่ทุกคนจะต้องเห็นพ้องกันในการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากนั้นก็ประกาศใช้และดำเนินการเข้าสู่วงจรของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อไป
ความมุ่งมั่นของนโยบายควรคำนึงถึงกิจกรรม
ผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกเหนือจากการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมายแล้ว
ยังอาจแสดงความมุ่งมั่นที่จะทำการต่อไปนี้
• นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุดขององค์กร และต้องมั่นใจว่านโยบายจะได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการบริหารในองค์กรด้วย
• ต้องแสดงถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสิ่งแวดล้อม และองค์กรจะต้องปฏิบัติให้ได้ด้วย
• ต้องแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเผยแพร่นโยบาย และผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมกับองค์กรภายนอกหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
• ลดผลกระทบอันร้ายแรงโดยการใช้วิธีจัดการสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Integrated Environmental Management) และการวางแผน
• จัดทำขั้นตอนในการวัดผลการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดลอม และตัวดัชนีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อม
• รวมวิธีคิดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Analysis) และพยายามปฏิบัติให้ได้มากที่สุด ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
• ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในการผลิต การใช้และการทิ้งของเสียในกระบวนการผลิต
• ป้องกันมลพิษ ลดปริมาณของเสีย และความต้องการทรัพยากร เช่นวัตถุดับ เชื้อเพลิง และพลังงาน มุ่งมั่นที่จะน้ำกลับมาใช้หมุนเวียนและสกัดของมีค่าแทนการทิ้ง
• การให้การศึกษาและฝึกอบรมแก่ พนักงาน สาธารณชน ลูกค้า ผู้ส่งมอบ ผู้รับจ้างช่วง หรือแม้แต่นักศึกษาฝึกงาน ฯลฯ
• การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น จากการประชุม การแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ
• การเข้าร่วม และติดต่อกับกลุ่มผู้ที่สนใจ แสดงถึงความมุ่งมั่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามนโยบาย
• พยายามเข้าสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development)
• สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ผู้ขายส่งและผู้รับเหมาขององค์กร โดยการสนับสนุนในด้านการเงิน ด้านเทคนิค หรือด้านบุคลากรก็ได้
• สร้างมาตรการในการลดการใช้ทรัพยากรหรือใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ไฟฟ้า น้ำ น้ำมัน
• มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
• จัดทำรายงานประจำปี ซึ่งต้องแสดงถึงข้อมูล ข่าวสารที่จำเป็นที่แสดงถึงสถานภาพการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรไว้ด้วย
• นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุดขององค์กร และต้องมั่นใจว่านโยบายจะได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการบริหารในองค์กรด้วย
• ต้องแสดงถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสิ่งแวดล้อม และองค์กรจะต้องปฏิบัติให้ได้ด้วย
• ต้องแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเผยแพร่นโยบาย และผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมกับองค์กรภายนอกหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
• ลดผลกระทบอันร้ายแรงโดยการใช้วิธีจัดการสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Integrated Environmental Management) และการวางแผน
• จัดทำขั้นตอนในการวัดผลการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดลอม และตัวดัชนีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อม
• รวมวิธีคิดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Analysis) และพยายามปฏิบัติให้ได้มากที่สุด ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
• ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในการผลิต การใช้และการทิ้งของเสียในกระบวนการผลิต
• ป้องกันมลพิษ ลดปริมาณของเสีย และความต้องการทรัพยากร เช่นวัตถุดับ เชื้อเพลิง และพลังงาน มุ่งมั่นที่จะน้ำกลับมาใช้หมุนเวียนและสกัดของมีค่าแทนการทิ้ง
• การให้การศึกษาและฝึกอบรมแก่ พนักงาน สาธารณชน ลูกค้า ผู้ส่งมอบ ผู้รับจ้างช่วง หรือแม้แต่นักศึกษาฝึกงาน ฯลฯ
• การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น จากการประชุม การแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ
• การเข้าร่วม และติดต่อกับกลุ่มผู้ที่สนใจ แสดงถึงความมุ่งมั่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามนโยบาย
• พยายามเข้าสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development)
• สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ผู้ขายส่งและผู้รับเหมาขององค์กร โดยการสนับสนุนในด้านการเงิน ด้านเทคนิค หรือด้านบุคลากรก็ได้
• สร้างมาตรการในการลดการใช้ทรัพยากรหรือใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ไฟฟ้า น้ำ น้ำมัน
• มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
• จัดทำรายงานประจำปี ซึ่งต้องแสดงถึงข้อมูล ข่าวสารที่จำเป็นที่แสดงถึงสถานภาพการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรไว้ด้วย
2.8
ข้อตกลงเกี่ยวกับนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อม
(1) ข้อตกลงที่องค์กรได้ทำไว้กับชุมชนโดยรอบ ถือเป็นสิ่งที่ต้องนำไปปฏิบัติด้วย
เนื่องจากถ้ามีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น ชุมชนโดยรอบจะต้องอ้างนโยบายที่องค์กรได้แถลงต่อชุมชนก่อนเสมอ
ฉะนั้นจะต้องดำเนินการตามนโยบายอย่างเคร่งครัดที่สุด
(2) ควรระบุในนโยบายสิ่งแวดล้อม ถึงการเปิดเผยนโยบายฯ ต่อสาธารณะชน ในสภาพความเป็นจริงอาจระบุเช่นนั้นก็ได้ แต่บางท่านอาจมีการเปิดเผยต่อสาธารณะชนแล้วก็ไม่ต้องระบุก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติเพื่อให้ชุมชนรอบข้างได้ทราบถึงนโยบายขององค์กร
(3) ควรนำผลจากการทบทวนสถานะปัจจุบันของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการกำหนดนโยบายด้วย การทบทวนทำให้ทราบการดำเนินการในปัจจุบันและปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กร และสามารถนำปัญหาเหล่านั้นมากำหนดเป็นนโยบายก็ได้
(2) ควรระบุในนโยบายสิ่งแวดล้อม ถึงการเปิดเผยนโยบายฯ ต่อสาธารณะชน ในสภาพความเป็นจริงอาจระบุเช่นนั้นก็ได้ แต่บางท่านอาจมีการเปิดเผยต่อสาธารณะชนแล้วก็ไม่ต้องระบุก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติเพื่อให้ชุมชนรอบข้างได้ทราบถึงนโยบายขององค์กร
(3) ควรนำผลจากการทบทวนสถานะปัจจุบันของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการกำหนดนโยบายด้วย การทบทวนทำให้ทราบการดำเนินการในปัจจุบันและปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กร และสามารถนำปัญหาเหล่านั้นมากำหนดเป็นนโยบายก็ได้
โดยสรุปแล้วนโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นเอกสารที่แสดงถึงหน้าตาและมาตรการในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งกำหนดโดยองค์กรเอง
นโยบายสิ่งแวดล้อมแสดงถึงข้อมูลข่าวสารที่ให้พนักงานในองค์กรและสาธารณะชน ทราบถึงเป้าหมายขององค์กรในการที่จะควบคุมและปรับปรุงปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กร
ซึ่งมีหลักการในการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมอยู่
4 ประการคือ
• นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ซึ่งสามารถกำหนดได้จากการลงนามในประกาศประชาสัมพันธ์ของผู้บริหาร
และความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามนโยบายที่เกิดขึ้น
• จะต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระยะเวลาที่เหมาะสม
• จะต้องเผยแพร่นโยบายสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณชนภายนอก
• นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการทบทวนให้ทันสมัยอยู่เสมอ และต้องได้รับการตรวจสอบว่ายังมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะถูกดำเนินการโดยการตรวจประเมินระบบ ฯ ภายในหรือภายนอก และเป็นการทบทวนระบบ ฯ หลังจากถูกตรวจประเมินแล้ว
• จะต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระยะเวลาที่เหมาะสม
• จะต้องเผยแพร่นโยบายสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณชนภายนอก
• นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการทบทวนให้ทันสมัยอยู่เสมอ และต้องได้รับการตรวจสอบว่ายังมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะถูกดำเนินการโดยการตรวจประเมินระบบ ฯ ภายในหรือภายนอก และเป็นการทบทวนระบบ ฯ หลังจากถูกตรวจประเมินแล้ว
2.9 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12
2.9.1 หลักการ
หลักการพัฒนาประเทศที่สำคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยึดหลัก “ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาที่ยั่งยืน”
และ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ที่ต่อเนื่องจาก แผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 9-11 และยึดหลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำและขับเคลื่อนการ
เจริญเติบโตจากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม
สำหรับการกำหนดวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ยึดวิสัยทัศของกรอบ
ยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง
ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการ พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ในขณะที่การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดในด้านต่างๆ ของแผนพัฒนาฯ
ได้ยึดเป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579 ที่เป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาเป็น
กรอบในการกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปี โดยที่เป้าหมายและตัวชี้วัดต้องสอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย
การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่องค์กรระหว่างประเทศกำหนดขึ้น อาทิ
การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development goals : SDGs) ที่องค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้น
เป็นต้น ส่วนแนวทางการ พัฒนา ได้บูรณาการนโยบายหรือประเด็นพัฒนาที่สำคัญของประเด็นการปฏิรูปประเทศ
37 วาระ และ ไทย แลนด์ 4.0
ประเด็นการพัฒนาหลักที่สำคัญในช่วงแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 12 ประเทศไทยแม้ว่า ได้ดำเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดี
มีการขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นระบบ โครงข่ายมากขึ้น
และมีการเพิ่มการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา
แต่อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย ยังปรับตัวช้าเมื่อเทียบกับหลายประเทศ
เนื่องจากคุณภาพคนต่ำ การลงทุนในการวิจัยและพัฒนายังมีน้อย
คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ดี
และปัญหาการบริหารจัดการภาครัฐและกฎระเบียบต่างๆ ล้าสมัยและขาดประสิทธิผลในการบังคับใช้
เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกและภัยพิบัติธรรมชาติ ทำให้
เศรษฐกิจไทยผันผวนได้ง่าย
และเศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าศักยภาพมาต่อเนื่องหลายปี
นอกจากนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับแรงกดดันและความเสี่ยงมากขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่
กระแสโลกาภิวัตน์เข้มข้นมากขึ้น เป็นโลกไร้พรมแดน โดยมีการเคลื่อนย้ายคน เงินทุน
องค์ความรู้ เทคโนโลยี ข่าวสาร สินค้าและบริการอย่างเสรี
ทำให้การแข่งขันในตลาดโลกรุนแรงขึ้น ส่งผลให้มีการรวมตัวด้านเศรษฐกิจ
ของกลุ่มต่างๆ ในโลกมีความเข้มข้นขึ้น ประเทศเศรษฐกิจใหม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น
เช่น จีน อินเดีย ละตินอเมริกา และเวียดนาม
ซึ่งมีแรงงานราคาถูกและมีมาตรการอื่นๆประกอบในการดึงดูดการลงทุน
จากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนั้นการพัฒนาการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้สังคมโลกมีความ
เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ทำให้เกิดภัยคุกคามและความเสี่ยง อาทิ
การก่อการร้าย โรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาแรงงานต่างด้าว
ในขณะเดียวกันประเทศไทยมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมสูง
วัยมากขึ้น จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลง ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพและมีแนวโน้มอยู่คนเดียวสูงขึ้น
ปัญหา ความยากจนยังกระจุกตัวหนาแน่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
รวมทั้งความแตกต่างของรายได้ ระหว่างกลุ่มคนรวยที่สุดและกลุ่มคนจนที่สุดสูงถึง
34.9 เท่า ในปี 2556 เนื่องจากการกระจายโอกาสการ พัฒนาไม่ทั่วถึง
ยิ่งไปกว่านั้นทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม มีปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์
ทรัพยากรธรรมชาติระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนในกลุ่มต่างๆ
เนื่องจากการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติมีลักษณะรวมศูนย์ขาดการเชื่อมโยงกับพื้นที่
ในขณะที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้นตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจและชุมชนเมือง
ประกอบกับสภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงผันผวนมากขึ้น
ประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรงมากขึ้น
ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยมากกว่า ในอดีต
ภายใต้เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ สังคม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศดังกล่าว
จะเป็นแรงกดดันให้ประเทศไทยต้องปรับตัวและมีการบริหารความเสี่ยง
อย่างชาญฉลาดมากขึ้น
ต่อจากนี้ไป
ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหารากฐานสำคัญที่เป็น
จุดอ่อนและข้อจำกัดของประเทศที่สั่งสมมานาน ในขณะเดียวกันดำเนินยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อใช้ประโยชน์จาก
จุดแข็งและจุดเด่นของประเทศ
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับประเด็นที่มีลักษณะการบูรณาการ
และใช้ประกอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ
เพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่าง แท้จริง ในประเด็นต่างๆ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมีดังนี้
การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและยกระดับคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม เน้นการรักษาและฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติ
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
สนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อม
เพื่อลดมลพิษที่เกิดจากการผลิตและการบริโภค
พัฒนาระบบบริหารจัดการที่โปร่งใสเป็นธรรม ส่งเสริม
การผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เร่งเตรียมความพร้อมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รวมทั้งบริหารจัดการเพื่อลด ความเสี่ยงด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ
2.9.2วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 12
1
เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบ วินัย
ค่านิยมที่ดี มีจิตสาธารณะ และมีความสุข โดยมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี
ครอบครัวอบอุ่น ตลอดจน
เป็นคนเก่งที่มีทักษะความรู้ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
2
เพื่อให้คนไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ได้รับความเป็นธรรมใน
การเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพ
รวมทั้งชุมชนมี ความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้
3 เพื่อให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง
แข่งขันได้ มีเสถียรภาพ และมีความยั่งยืน
สร้างความเข้มแข็งของฐานการผลิตและบริการเดิมและขยายฐานใหม่โดยการใช้นวัตกรรมที่เข้มข้นมากขึ้น
สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และสร้างความมั่นคงทางพลังงาน อาหาร และน้ า
4.
เพื่อรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถ
สนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
5.
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัย และมี การท
างานเชิงบูรณาการของภาคีการพัฒนา
6.
เพื่อให้มีการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค โดยการพัฒนาภาคและเมือง
เพื่อรองรับการพัฒนายกระดับฐานการผลิตและบริการเดิมและขยายฐานการผลิตและบริการใหม่
7.
เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีความเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ทั้งในระดับ อนุภูมิภาค
ภูมิภาค และนานาชาติได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ประเทศไทยมีบทบาทน
าและ สร้างสรรค์ในด้านการค้า การบริการ และการลงทุนภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ
ทั้งในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และโลก
2.9.3 เป้าหมายรวม
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายรวมการพัฒนาของ แผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย
1. คนไทยมีคุณ
ลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ มีวินัย มีทัศนคติและ
พฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้
มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรู้ เท่าทันสถานการณ์ มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม
มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีความเจริญ งอกงามทางจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่พอเพียง
และมีความเป็นไทย
2.
ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความยากจนลดลง เศรษฐกิจฐานราก มีความเข้มแข็ง
ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร การประกอบอาชีพ และบริการทางสังคมที่มี
คุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม กลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 40
มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 15
3.
ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้โครงสร้างเศรษฐกิจปรับสู่
เศรษฐกิจฐานบริการและดิจิทัล มีผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเป็นสังคมผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการขนาด
กลางและขนาดเล็กที่เข้มแข็งสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและ
บริการ มีระบบการผลิตและให้บริการจากฐานรายได้เดิมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
และมีการลงทุนในการผลิตและ บริการฐานความรู้ชั้นสูงใหม่ๆ
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมทั้งกระจายฐานการผลิตและการ
ให้บริการสู่ภูมิภาคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพและมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ
5 ต่อปี และมีปัจจัยสนับสนุนอาทิ ระบบโลจิสติกส์ พลังงาน
และการลงทุนวิจัยและพัฒนาที่เอื้อต่อการ ขยายตัวของภาคการผลิตและบริการ
4.
ทุนทางธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถสนับสนุนการเติบโตที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และน้ำ
โดยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ 40 ของ
พื้นที่ประเทศเพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและขนส่ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ภายในปี2563
เทียบกับการปล่อยในกรณีปกติ มีปริมาณหรือสัดส่วนของขยะมูลฝอยที่
ได้รับการจัดการอย่างถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้น
และรักษาคุณภาพน้ำและคุณภาพอากาศในพื้นที่วิกฤตให้อยู่ ในเกณฑ์มาตรฐาน
5. มีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย
สังคมปลอด ภัย สามัคคี สร้างภาพลักษณ์ดี
และเพิ่มความเชื่อมั่นของนานาชาติต่อประเทศไทย ความขัดแย้งทางอุดมการณ์และ
ความคิดในสังคมลดลง ปัญหาอาชญากรรมลดลง
ปริมาณความสูญเสียจากภัยโจรสลัดและการลักลอบขนส่ง สินค้าและค้ามนุษย์ลดลง
มีความพร้อมที่ปกป้องประชาชนจากการก่อการร้ายและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ประเทศไทยมีส่วนร่วมในการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศ เกิดความเชื่อมโยงการขนส่ง
โลจิสติกส์ ห่วงโซ่มูลค่า เป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่สำคัญในอนุภูมิภาค ภูมิภาค
และโลก และอัตราการเติบโตของมูลค่า การลงทุนและการส่งออกของไทยในอนุภูมิภาค
ภูมิภาค และอาเซียนสูงขึ้น
6
มีระบบบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจายอำนาจและมีส่วนร่วมจากประชาชน
บทบาทภาครัฐในการให้บริการซึ่งภาคเอกชน ดำเนินการแทนได้ดีกว่าลดลง
เพิ่มการใช้ระบบดิจิทัลในการให้บริการ ปัญหาคอร์รัปชั่นลดลง และการบริหาร
จัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระมากขึ้น
โดยอันดับประสิทธิภาพภาครัฐที่จัดทำโดยสถาบัน
การจัดการนานาชาติและอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจในประเทศดีขึ้น
การใช้จ่ายภาครัฐและระบบ งบประมาณมีประสิทธิภาพสูง ฐานภาษีกว้างขึ้น
และดัชนีการรับรู้การทุจริตดีขึ้น รวมถึงมีบุคลากรภาครัฐที่มี
ความรู้ความสามารถและปรับตัวได้ทันกับยุคดิจิทัลเพิ่มขึ้น
บรรณานุกรม
เกษม จันทร์แกว้. (2540).วิทยาศาสตร์
สิ่งแวดล้อม.กรุงเทพฯ:อักษรสยาม.
________. (2541).การวางแผนและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพฯ:
วรเดช จันทรศร. (2528). การน านโยบายไปปฏิบัติ : การส
ารวจกรอบความรู้โดยสังเขป. ใน อุทัย
เลาหวิเชียร และ ประทาน คงฤทธิศึกษากร
(บรรณาธิการ), การบริหารรัฐวิสาหกิจ
: บทความทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
วรเดช จันทรศร. (2540). การน านโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :
กราฟิคฟอร์แมท.
วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎีการน
านโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :
พริกหวานกราฟิค.
สุรพร เสี้ยนสลาย. ( 2539). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการน
านโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ :
ศึกษากรณีนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย
. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนา, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ส้านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
. (2550). สรุปสถานการณ์การปฏิบัติตามมาตรการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โครงการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและโครงการร่วมกับเอกชน. กรุงเทพฯ :
ส้านักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม.
ส้านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
. (ม.ป.ป. ). มติคณะกรรมการ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2548 เมื่อวันที่ 3
พฤษภาคม 2548 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://www.onep.go.th/neb/3.%20Resolution/data/2548/mati6-48.pdf
[2551, 8 กรกฎาคม].
ส้านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ( 2550). เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สภาร่างรัฐธรรมนูญ.
Anderson, James E. (2000). Public
Policy making : An Introduction. (4 th ed.). Boston :
Houghton Miffin.
Attewell, Pall and Dean R. Gerstein.
(1979). Government Policy and Local Practice. American Sociological Review, Vol.44 April, pp.311-327
กิจกรรมที่
1 สรุปประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม
1.ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลใน แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ฉบับปัจจุบัน(2560-2561)แล้วสรุปในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพ
มา 3 ประเด็น
2.ให้นักศึกษาศึกษาจาก เอกสารเพิ่มเติมต่อไปนี้ แล้วสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม(1page
paper)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้สำรวจ
วิเคราะห์
และนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสของประเทศไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจรวมถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ซึ่งเป็นทางเลือกของเศรษฐกิจไทย
การเตรียมการสำหรับภาวะโลกร้อนและสร้างโอกาสการพัฒนา
การออกแบบสถาปัตยกรรมทางสังคมให้เป็นทางเลือกใหม่ของคนไทย
และสร้างสัญญาประชาคมใหม่ให้เป็นพลังขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สมดุล
โดยสามารถกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์หลักการพัฒนาในช่วงแผนฯ 12 ดังนี้
ความท้าทายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ : โอกาสของประเทศไทย
การจัดทำวิสัยทัศน์ประเทศไทยสู่ปี 2570 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินแนวโน้มหลักที่ประเทศไทยและโลกอาจต้องเผชิญใน
20 ปีข้างหน้า 7
ประการ
1. การรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
ซึ่งส่งผลให้มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคเพิ่มมากขึ้นและทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว
2. เศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนศูนย์กลางอำนาจมาอยู่ที่ประเทศแถบเอเชียมากขึ้น
3.
การเปลี่ยนแปลงด้านการเงินโลกซึ่งจะมีความผันผวนและความเสี่ยงมากขึ้น
4. ประชากรสูงอายุของโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมือง
แต่จะเป็นโอกาสของประเทศไทยในการให้บริการผู้สูงอายุ
5. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อม
6. แนวโน้มปัญหาด้านพลังงานซึ่งจะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของโลก
7. ปัญหาภัยคุกคามจากภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ เศรษฐกิจ
และคุณภาพชีวิต
ระหว่างการประเมินการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกเพื่อประกอบการจัดทำวิสัยทัศน์
เศรษฐกิจโลกอยู่ท่ามกลางภาวะไม่สมดุลซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตสำคัญ
4 ประการ คือ
1. วิกฤติการณ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศของโลก
(Climate change crisis)
2. วิกฤติการณ์น้ำมันและพลังงาน (Oil & Energy crisis)
3. วิกฤติการณ์ทางด้านอาหารและความหิวโหย (Food & Hunger crisis)
4. วิกฤติการณ์ทางด้านการเงินและเศรษฐกิจ (Financial and Economic
crisis)
ประเด็นการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น
และระยะยาว ได้แก่
1. การรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและลดความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
2. การสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลกในระยะยาว
เพื่อเตรียมพร้อมในการฉกฉวยโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ
2.1 โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและการเงินโลก ในการขยาย
ตลาดและการสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจ
การค้า และการลงทุน และลดความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนทางเศรษฐกิจ
2.2
โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ทางด้านอาหาร
พลังงานและสิ่งแวดล้อมโลก ในการส่งออกสินค้าอาหารโดยอาศัยความได้เปรียบของภาคการเกษตร
การพัฒนามูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรและอาหาร
การพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างสมดุลระหว่างความต้องการด้านอาหารและพลังงาน
2.3 โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก
และความตี่นตัวในความ
รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในการสร้างงาน สร้างรายได้ และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน (Green Jobs, Green Growth, Green Economy)
2.4 โอกาสจากการปรับตัวของประชากรโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ในการขยายตัวของ ภาคธุรกิจบริการในประเทศไทย
โดยเฉพาะการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ การให้บริการการแพทย์และสุขภาพ
การให้บริการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะอยู่ที่พักในระยะยาว
2.5
โอกาสในการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเร่งอัตราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ
ส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการผลิต การค้า การลงทุน
การสร้างความร่วมมือเพื่อลดปัญหาความเสี่ยงทางการเงิน
และปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายนอก
รวมถึงความร่วมมือในการพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค
ประเด็นเชิงยุทธศาสตร์
1.
พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้
เพื่อนำไปเพิ่มคุณค่าให้กับทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีอยู่ ดังนั้น
จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนา
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบด้วย
2. กำหนดนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศและบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงาน เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีกรอบการดำเนินงานที่ค่อนข้างกว้างและเกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมภายในประเทศไทย
เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและคมนาคม
การส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา การจัดหาแหล่งเงินทุน การพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบและครบวงจรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
การพัฒนาการตลาดสมัยใหม่ให้ทันต่อคู่แข่งขันและการเปลี่ยนแปลงของโลก
โดยให้ความสำคัญในประเด็น ต่อไปนี้
3.1 พัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนผลิตสินค้าสร้างสรรค์
โดยเพิ่ม
มาตรการกระตุ้นเพื่อดึงดูดบริษัทข้ามชาติให้ร่วมลงทุนกับภาคเอกชนและชุมชนไทยในการพัฒนาสินค้าสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้สมัยใหม่
3.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูล
สื่อสาร และคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรอบรับ
ภาคการผลิตสร้างสรรค์
ตลอดจนส่งเสริมแหล่งเรียนรู้สาธารณะและพัฒนาพื้นที่สาธารณะรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างเวทีนักคิดและสร้างสรรค์ต่าง ๆ
ตลอดจนการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ให้
เหมาะสมกับบริบทของชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. ให้คุณค่าต่อทรัพย์สินทางปัญญาจากความคิดสร้างสรรค์
โดยมีกฎหมายและกฎระเบียบที่ช่วยในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
และกระบวนการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและกระบวนการที่มีอยู่
5. ขับเคลื่อนและสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการ
การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยให้มีความคิดสร้างสรรค์
(Creative entrepreneurs)
6. ศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงลึกในสาขาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และทุนวัฒนธรรม โดยทำการศึกษาใน 5 ประเภท ได้แก่ 1.
มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และความหลากหลายทางชีวภาพ
2. เอกลักษณ์ศิลปะและวัฒนธรรม
3. งานช่างฝีมือและหัตถกรรม
4. อุตสาหกรรมสื่อ บันเทิง และซอฟต์แวร์
5. การออกแบบและพัฒนาสินค้าสร้างสรรค์
7. การติดตามประเมินผล
การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยโดยให้มีกลไกในการดำเนินการติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ซึ่งจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการติดตาม ดัชนีชี้วัดศักยภาพเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในรายสาขา
8. ปรับโครงสร้างการผลิตและบริการของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยผนวกความคิดสร้างสรรค์
9. พัฒนาสถาบันและบูรณาการบทบาทของสถาบันที่เกี่ยวข้อง
ให้เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อให้สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ประเด็นการพัฒนา จากการพิจารณาสถานการณ์ แนวโน้มในอนาคตที่ประเทศไทยต้องเผชิญและโอกาสในการพัฒนาแล้ว
มีประเด็นที่ควรพิจารณาแนวทางการดำเนินการในอนาคต ให้เป็นรูปธรรม ดังนี้
1. การปรับทิศทางการพัฒนาประเทศสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ
(Low Carbon Society)
โดยการปรับระบบการขนส่ง
และโครงสร้างพื้นฐานการวางผังเมืองที่ผสมผสานระบบนิเวศน์เข้าด้วยกัน
การปรับด้านโครงสร้างพลังงาน สู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
และการปรับพฤติกรรมการบริโภคของสังคม สู่รูปแบบการบริโภคอย่างยั่งยืน
2.
การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ
ในการสร้างรายได้ควบคู่กับการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
โดยให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าและบริการจากทรัพยากรชีวภาพที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และการอนุรักษ์ฟื้นฟู
3.
ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน
โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัยและความมั่นคงด้านอาหาร (Food Safety and Food Security) เพื่อให้ประเทศไทยมีอาหารที่เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ
รวมถึงสามารถรองรับการบริโภคจากต่างประเทศได้ระดับหนึ่ง
4.
การสร้างองค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนา จัดระบบข้อมูล
เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาและสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน
5. สร้างศักยภาพในการเจรจาระหว่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสและความได้เปรียบในการกำหนดท่าทีในการเจรจา
ประเด็นการพัฒนาสังคม
ในระยะต่อไป
จากการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประเทศที่ต้องเผชิญทั้งการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
ความกดดันจากระบบทุนนิยม แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทย
และทั้งวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่สะท้อนความอ่อนแอของฐานรากสังคมไทยการปรับกระบวนทรรศน์ใหม่ของการพัฒนาสังคมจึงเป็นความจำเป็นและนำไปสู่แนวคิดในการออกแบบโครงสร้างทางโลกอย่างมีภูมิคุ้มกันทีดี
จึงควรมีการวางโครงสร้างสถาปัตยกรรมทางสังคม
หรือหาทางเลือกใหม่ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทไทยและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ดังนี้
1. การปรับโครงสร้างทางสังคมให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งและรองรับการเปลี่ยนแปลงโดย
1.1 นำหลักคิดและแนวปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ต่อยอดกับทุนทางสังคม
ที่ยังมีอยู่หลายด้านอย่างจริงจัง
การพัฒนามนุษย์ให้มีค่านิยมจิตสาธารณะซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จของการสร้างทุนมนุษย์ในระดับจุลภาค
1.2 วางรากฐานการพัฒนาสังคมที่ฐานราก ตั้งแต่ชุมชน ท้องถิ่น
ให้สามารถพัฒนาความเข้มแข็งทุกด้านด้วยตัวเอง
1.3 การออกแบบสังคมที่มีคุณภาพ
คุณภาพสังคมเป็นแนวคิดที่มีความซับซ้อนตามสภาพสังคมเป็นแนวคิดเชิงบูรณาการของเรื่องต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพมนุษย์ ทั้งความตระหนักตนและการมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นคุณภาพสังคมเป็นเป้าหมายเชิงบูรณาการระหว่างนโยบายพัฒนาสังคม
นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายพัฒนาสิ่งแวดล้อม และนโยบายพัฒนาด้านอื่น ๆ
โดยสะท้อนจากสังคมใน 4 มิติ คือ
สังคมแห่งความเอื้ออาทรและสมานฉันท์ (Social Cohesion)
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
(Socio Economic Security)
การรวมกลุ่มเพื่อสร้างโอกาสให้กับทุกคนอย่างเป็นธรรม
(Social Inclusion)
การเสริมสร้างพลังทางสังคม
(Social Empowerment)
2.
พัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์
2.1 แนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์ในศตวรรษที่
21 การพัฒนามนุษย์นอกจากการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ศาสตร์วิทยาการแล้ว
การดำเนินชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ได้โดยต้องมีจิตสาธารณะใน 5 ประการ คือ
จิตแห่งวิทยาการ
จิตแห่งการสังเคราะห์
จิตแห่งการสร้างสรรค์
จิตแห่งความเคารพ จิตแห่งคุณธรรม
2.2 การพัฒนาคนทุกช่วงอายุให้เป็นทุนมนุษย์ที่เข้มแข็ง
มีความรู้พื้นฐานที่มีคุณภาพ
เรียนรู้ทักษะชีวิตที่เหมาะสม และมีความรู้ชำนาญในศาสตร์วิทยาการ
ได้รับการพัฒนาต่อยอดตามศักยภาพและความถนัดอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2.3 เน้นกระบวนการพัฒนาที่คนเป็นศูนย์กลางทุกภาคส่วนสนับสนุน
โดย ภาคประชาชน/ชุมชน ต้องมีบทบาทเป็นเจ้าของเรื่อง
มีบทบาทสำคัญตลอดกระบวนการ ภาครัฐ
ประเด็น พลังขับเคลื่อนสังคมสู่สมดุล
1. ปรับกระบวนทรรศน์ (Paradigm) การพัฒนาประเทศใหม่โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของการแก้ไขปัญหา
2.
สร้างค่านิยมร่วม (Shared Value) ของคนในสังคมที่ยึดมั่นที่ความดี
ความสุจริต ความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการมีจิตสำนึกด้านสิทธิหน้าที่ของพลเมือง
ไม่ละเมิดสิทธิ ของผู้อื่น ตระหนักในคุณค่าและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
เพื่อลดความขัดแย้งในสังคม
3. พัฒนากระบวนการ “สัญญาประชาคม” บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับชุมชน
ท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ
3.1 พัฒนากลไกในระดับภาพรวม ได้แก่
การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม กลไกตรวจสอบระบบให้คุณให้โทษ ระบบกฎหมาย
3.2 พัฒนากลไกในระดับชุมชน
ให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และสร้างความสุขสงบสุขในชุมชน
รวมทั้งทำงานร่วมกับชุมชนอื่นในลักษณะเครือข่าย (Networking)
4. สร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้าง
กลไกและกระบวนการบริหารจัดการของทุกภาคส่วนของสังคม
บนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาลและประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมการเมืองไทย ที่ยึดโยงกับแนวปฏิบัติภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และหลักคำสอนที่ทรงคุณค่าบนพื้นฐานของศาสนา
ทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ โดยวางรากฐานด้านคุณธรรมจริยธรรม
และวัฒนธรรมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล
5.
ขับเคลื่อนและวางระบบการติดตามประเมินผลในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับพื้นที่
เพื่อสนับสนุนการสร้างสัญญาประชาคมใหม่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม
กิจกรรมที่
2
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มจัดทำร่างข้อเสนอแนวนโยบายด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในระดับตำบลเพื่อให้ประชาชนมีชุมชนมีส่วนร่วมในการดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ดีและปราศจากมลภาวะ
แบบฝึกหัดประจำบทที่
2
1.จงอธิบายความหมายของหลักการอนามัยสิ่งแวดล้อม
ตอบ
2.จงระบุประเด็นที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงนโยบายสิ่งแวดล้อมมา 5 ประเด็น
ตอบ
คำถามประจำบทที่
2
โรงพยาบาลระดับตำบลที่ท่านปฏิบัติงานอยู่ตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับถนน
ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของชุมชนพาดผ่านด้านหน้าติดกับรั้วของโรงพยาบาล
พื้นที่ด้านหลังของโรงพยาบาลเป็นที่ราบต่ำขนาดกว้างใหญ่
เวลามีฝนตกลงมาน้ำฝนจะไหลจากถนนลงมาบริเวณโรงพยาบาล แล้วไหลต่อลงไปในที่ราบลุ่ม
ด้านหลัง
ผู้บริหารของรพ.สต.แห่งนี้ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นหลายคนแล้ว ด้วยปัญหาน้ำจากถนนที่ไหลลงมา
ทำให้โรงพยาบาลประสบกับปัญหาน้ำท่วมขัง อยู่ทุกปี
มีการทำหนังสือไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อให้ลงมาช่วยแก้ไขปัญหา
แต่เนื่องจาก รพ.สต.แห่งนี้เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านไว้วางใจ และเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน
ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่คัดค้านการย้ายสถานพยาบาลแห่งนี้ไปอยู่ ที่อื่น
งานดูแลสุขภาพประชาชนตามนโยบายของรพ.สต.แห่งนี้ทำได้ตามเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด
ชุมชนแห่งนี้ชาวบ้านให้การความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี
อีกทั้งมีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมให้การสนับสนุน ในวันสิ้นเดือนนี้จะมีการประชุมชี้แจงชาวบ้านโดยรพ.สต.มอบหมายให้ท่านร่างนโยบายมา 2 ประเด็น คือนโยบายเร่งด่วน 2
ข้อกับนโยบายต่อเนื่องระยะยาว 2 ข้อ
พร้อมทั้งระบุเหตุผลของนโยบาย
ท่านจงเขียนมาทั้ง 2 ประเด็นพร้อมประกอบเหตุผล
คำตอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น