แผนการสอน
รายวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย
บทที่ 6 การกำจัดสิ่งปฏิกูล
6.1
แนวคิดและหลักการ
ปัญหาของมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
และความเป็นอยู่ของพลเมือง วิวัฒนาการของการจัดการมูลฝอยและแนวนโยบาย และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หลักเกณฑ์ในการจัดการมูลฝอยในแง่ของแหล่งกำเนิดต่างๆชนิดองค์ประกอบ และลักษณะสมบัติของมูลฝอย
การคาดการณ์ปริมาณมูลฝอย เทคโนโลยีการนำมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ (Recycling) การเก็บรวบรวม เก็บขน ขนส่ง และวิธี/เทคโนโลยีการกำจัดต่างๆ
เช่น การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การหมักทำปุ๋ย การใช้เตาเผา การจัดการกากของเสียอันตราย
และการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และ การวางแผนการจัดการมูลฝอยจะทำให้ชุมชนสะอาด
และปราศจากพิษภัยอันเกิดจากปริมาณขยะตลอดจน
การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน มีจิตสำนึกในการทิ้ง
และการลดปริมาณของเสียก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2จำนวนชั่วโมงเรียน ภาคบรรยาย 2 ชั่วโมง ภาคกิจกรรม 1 ชั่วโมง
6.3 จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งขับถ่าย
องค์ประกอบที่พิจารณาในการกำจัดสิ่งขับถ่าย
ตลอดจนหลักการกำจัดและวิธีการกำจัดสิ่งขับถ่าย
และการควบคุมและป้องกันโรค
6.4 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อนิสิตเรียนวิชานี้แล้ว
นักศึกษามีความรู้ ความสามารถและทักษะ ดังนี้
1. สามารถบอกความหมาย
ความสำคัญของการสุขาภิบาลสิ่งขับถ่าย
2. สามารถอธิบายองค์ประกอบที่พิจารณาในการกำจัดสิ่งขับถ่าย
3. สามารถบอกและอธิบายหลักการกำจัดและวิธีการกำจัดสิ่งขับถ่าย
6.5เนื้อหาสาระ
ภาคบรรยาย
ความหมาย
ความสำคัญของการสุขาภิบาลสิ่งขับถ่าย
องค์ประกอบที่พิจารณาในการกำจัดสิ่งขับถ่าย
ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านเศรษฐกิจสังคม
หลักการกำจัดและวิธีการกำจัดสิ่งขับถ่าย
หลักการกำจัด
วิธีการกำจัดสิ่งขับถ่าย
6.6 กิจกรรมการเรียนการสอน
ภาคบรรยาย ทำการสอนในห้องเรียนแบบบรรยาย
4 ชั่วโมง ในหัวข้อที่ 1 - 3
6.7 สื่อการเรียนการสอน
แผ่นสไลด์บรรยาย (powerpoint)
เอกสารประกอบการสอน
เอกสารประกอบการสอน
ประกอบด้วยรูปภาพและตารางประกอบคำบรรยาย
6.8 การวัดผลและประเมินผล
สอบข้อเขียนกลางภาค ปลายภาค สรุปเนื้อหาที่เรียน
/ ความรู้ที่ได้รับลงสมุดบันทึกท้ายชั่วโมงบรรยาย
บทที่ 6 การกำจัดสิ่งปฏิกูล
เนื้อหา
6.1
แนวคิด
6.2 นิยามและความหมาย
6.3 ความจำเป็นในการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
6.4 วัตถุประสงค์ในการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
6.5 ปริมาณและองค์ประกอบของสิ่งปฏิกูล
6.6 เชื้อโรคในสิ่งปฏิกูล
6.7 การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสิ่งปฏิกูล
6.8 หลักการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
6.9
เกณฑ์สำคัญในการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
6.10 ระบบบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
6.1
แนวคิด
ปัญหาของมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
และความเป็นอยู่ของพลเมือง วิวัฒนาการของการจัดการมูลฝอยและแนวนโยบาย และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หลักเกณฑ์ในการจัดการมูลฝอยในแง่ของแหล่งกำเนิดต่างๆชนิดองค์ประกอบ และลักษณะสมบัติของมูลฝอย
การคาดการณ์ปริมาณมูลฝอย เทคโนโลยีการนำมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ (Recycling) การเก็บรวบรวม เก็บขน ขนส่ง และวิธี/เทคโนโลยีการกำจัดต่างๆ
เช่น การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การหมักทำปุ๋ย การใช้เตาเผา การจัดการกากของเสียอันตราย
และการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และ การวางแผนการจัดการมูลฝอยจะทำให้ชุมชนสะอาด
และปราศจากพิษภัยอันเกิดจากปริมาณขยะตลอดจน
การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน มีจิตสำนึกในการทิ้ง
และการลดปริมาณของเสียก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 นิยามและความหมาย
“สิ่งปฏิกูล”
ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
มาตรา 4 มีความหมายว่า “อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น” แต่ “สิ่งปฏิกูล” ในภาษาอังกฤษ “Human waste or Human excreta”
หมายถึง ของเสียที่ปล่อยหรือขับถ่ายออกจากร่างกายมนุษย์ ที่สำคัญได้แก่ อุจจาระ (Feces)
และ ปัสสาวะ (Urine)
สิ่งปฏิกูล(Excreta) หมายถึง ของเสียที่ปล่อยออกมาจากร่างกายโดยมีน้ำหนักแห้ง 27
กรัมต่อคนต่อวัน น้ำหนักเปียก 100-200 กรัมต่อคนต่อวัน มีอีโคไล ประมาณ 400
พันล้านต่อคนต่อวัน ฟิคัลโคลิฟอร์ม 2000 พันล้านต่อคนต่อวัน ฟิคัลสเตรปโตคอคไค
ประมาณ 450 พันล้านต่อคนต่อวัน (พัฒนา มูลพฤกษ์, 2539)
สิ่งปฏิกูล
หมายถึงอุจจาระและปัสสาวะ
รวมตลอดถึงวัสดุอื่นใดที่เป็นสิ่งสกปรกโสโครก
และมีกลิ่นเหม็น(สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์, เอกสารอัดสำเนา)
การบำบัดสิ่งปฏิกูล(Excreta treatment) หมายถึงการเปลี่ยนสภาพของของเสียในสิ่งปฏิกูลโดยการทำลาย ลด
หรือควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
และการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสิ่งปฏิกูลหรือลดค่าบีโอดีของสิ่งปฏิกูลเพื่อไม่ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
ทางดิน เป็นต้น
การกำจัดสิ่งปฏิกูล(Excreta disposal) หมายถึงการนำสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการบำบัดหรือผลผลิตที่เกิดจากการบำบัดต่างๆ
ไปกำจัดทิ้งหรือนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
6.3 ความจำเป็นในการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
สิ่งปฏิกูลเป็นของเสียที่เกิดจากมนุษย์ขับถ่ายออกมา เป็นกากอาหารและของเหลวที่เหลือ
เกิดขึ้นภายหลังที่ร่างกายได้มีการย่อยและดูดซึมเอาสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินต่างๆ
ไปใช้ประโยชน์แล้ว
ซึ่งอาจปนเปื้อนไปด้วยเชื้อโรค ทั้งที่ก่อโรคและไม่ก่อโรค รวมทั้ง หนอนพยาธิอีกด้วย หากกำจัดไม่ดี
อาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค กลายเป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นในชุมชนได้
เชื้อโรคที่มีอยู่ในสิ่งปฏิกูล
สามารถแพร่กระจายไปได้หลายทาง ทั้งทางตรง
โดยตัวบุคคลที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี
เช่น ภายหลังถ่ายอุจจาระ
ไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารหรือจับต้องอาหาร เป็นต้น
หรือเกิดขึ้นทางอ้อม เช่น ปนเปื้อนมาพร้อมกับน้ำ อาหาร ดิน แมลงวัน
และสัตว์อื่นๆ เป็นต้น ทำให้อุจจาระ มีเชื้อโรค เช่น E.coli ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งสามารถติดต่อมายังมนุษย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการผ่านทางอาหารหรือน้ำเป็นสื่อ
เมื่อมนุษย์ได้รับเข้าไปอาจก่อให้เกิดโรคได้ จึงมี ความจำเป็นที่จะต้องมีการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ดีและถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของมนุษย์

6.4 วัตถุประสงค์ในการบำบัดสิ่งปฏิกูล
เพื่อที่จะทำลายเชื้อโรคหรือป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับสิ่งปฏิกูลและเพื่อทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสิ่งปฏิกูลไม่ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ
เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางดิน เป็นต้น เชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับสิ่งปฏิกูลมักทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินอาหาร เป็นส่วนใหญ่ จึงต้องทำการสกัดกั้นการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลไม่ให้แพร่กระจายไปได้
6.5ปริมาณและองค์ประกอบของสิ่งปฏิกูล
ปริมาณของสิ่งปฏิกูลที่ขับถ่ายออกมาของบุคคลในแต่ละวันจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับการกินอาหาร การดื่มน้ำ สภาพภูมิอากาศ
และการประกอบอาชีพ จากรายงานการศึกษาพบว่า
คนในประเทศที่กำลังพัฒนามีการถ่ายอุจจาระประมาณวันละ 200 ถึง 600 กรัม (น้ำหนักเปียก) ส่วนคนยุโรปและคนอเมริกัน ในแต่ละวันจะถ่ายอุจจาระน้อยกว่า ประมาณ 100
ถึง 200 กรัม (น้ำหนักเปียก)
สำหรับการขับถ่ายปัสสาวะ
ในผู้ใหญ่จะขับถ่ายปัสสาวะประมาณวันละ 0.6 ถึง 1.3 ลิตร องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้กำหนดค่าเฉลี่ยปริมาณของสิ่งปฏิกูล
ไว้ดังนี้
- คนที่นิยมรับประทานอาหาร ซึ่งมีโปรตีนสูง
และอาศัยอยู่ในเขตเมืองหนาว
จะขับถ่ายอุจจาระประมาณ 120 กรัม/คน/วัน
และขับถ่ายปัสสาวะประมาณ 1.2 ลิตร/คน/วัน
- คนที่นิยมรับประทานอาหารพืชผัก
และอาศัยอยู่ในเขตเมืองร้อน จะขับถ่ายอุจจาระประมาณ 400 กรัม/คน/วัน และขับถ่ายปัสสาวะประมาณ 1 ลิตร/คน/วัน
องค์ประกอบส่วนใหญ่ของสิ่งปฏิกูล
จะประกอบด้วยน้ำ สารอินทรีย์เป็นหลัก
โดยจะมีคาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสโพแทสเซียม และสารอนินทรีย์อื่นๆ
ปนอยู่เล็กน้อย
แต่ตามปกติมักจะให้ความสนใจต่ออัตราส่วนของคาร์บอน(C) และ
ไนโตรเจน(N) ซึ่งพบว่าในอุจจาระมีค่าประมาณ
8 ส่วน ปัสสาวะมีค่าประมาณน้อยกว่า 1
ซึ่งค่าอัตราส่วนนี้เป็นเกณฑ์ที่จะนำไปพิจารณาในการจัดทำระบบหมัก(Composting
systems)ที่ต้องการอัตราส่วนระหว่าง C ต่อ
N ประมาณ 20–30
6.6 เชื้อโรคในสิ่งปฏิกูล
เชื้อโรคที่พบในสิ่งปฏิกูลและก่อให้เกิดโรคติดต่อในมนุษย์มี
4 กลุ่ม คือ ไวรัส (viruses)
แบคทีเรีย(bacteria)
โปรโตรซัว (protozoa) และพยาธิ (worms)จะมีการแพร่กระจายสู่คน 2 ทาง คือ
Infected excreta transmission หมายถึง
การแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลออกสู่สิ่งแวดล้อมและเข้าสู่คนอื่นต่อไป
Excreta–related Insect or Vector
transmission หมายถึงการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลโดยมีแมลงเป็นพาหะของเชื้อโรค
ถ่ายทอดเชื้อโรคจากทวารหนักสู่ปาก
การแพร่กระจายของเชื้อโรคในสิ่งปฏิกูลสามารถแพร่กระจายได้โดยตรง
เนื่องจากการมีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี เช่น
การไม่ล้างมือให้สะอาดหลังจากเข้าห้องส้วมแล้วนำมือเข้าปาก เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีการแพร่กระจายโดยอ้อม เช่น ผ่าน ดิน อาหาร น้ำ แมลงวัน เป็นต้น

6.7 การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสิ่งปฏิกูล
สิ่งปฏิกูลมีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ
20 เป็นสารประกอบของไนโตรเจน คาร์บอน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ และสารอื่น ๆ
ตามลักษณะอาหารที่รับประทาน สารอินทรีย์เหล่านี้จะเน่าเสียง่าย
หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการบำบัดจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นหรือมีสภาพที่น่ารังเกียจหรืออาจจะก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมต่างๆ
เช่น แหล่งดิน แหล่งน้ำ เป็นต้น การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสิ่งปฏิกูล
จะอาศัยจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายในสภาวะที่มีออกซิเจน(aerobic condition) และสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน
(anaerobic condition) สิ่งปฏิกูลที่มีการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์แล้วจะลดปริมาตรและมวลของสิ่งปฏิกูลได้ประมาณร้อยละ
80 โดยเปลี่ยนสถานะจากของแข็งหรือของเหลวไปเป็นแก๊สต่างๆ เช่น มีเทน(CH4) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย เป็นต้น

6.8 หลักการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
สิ่งปฏิกูลส่วนใหญ่มีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบสำคัญ ดังนั้น
การบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลจึงมีหลักการเดียวกันกับการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ ซึ่งอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ สามารถแบ่งกระบวนการได้เป็น 2 แบบ ตามชนิดของจุลินทรีย์
ได้แก่กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน
ซึ่งอาศัยจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์
กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน
ซึ่งอาศัยจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์
6.9
เกณฑ์สำคัญในการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้กำหนดข้อพิจารณาและหลักเกณฑ์ในการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาไว้
เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกใช้ระบบบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะไว้
ดังนี้ สิ่งปฏิกูลต้องไม่เกิดการปนเปื้อนกับผิวดิน สิ่งปฏิกูลต้องไม่เกิดการปนเปื้อนกับน้ำใต้ดิน
สิ่งปฏิกูลต้องไม่เกิดการปนเปื้อนกับน้ำผิวดิน ต้องไม่เป็นที่อยู่อาศัยของแมลงและสัตว์ต่างๆ
ต้องไม่มีการขนถ่ายอุจจาระสด หรือหากจำเป็นต้องขนถ่าย ให้ทำการขนถ่ายน้อยที่สุด ต้องปราศจากกลิ่นเหม็นรบกวนหรือสภาพที่น่ารังเกียจ
การใช้งานประจำวันจะต้องง่าย สะดวก และปลอดภัย ราคาค่าก่อสร้างจะต้องไม่สูงเกินกว่าร้อยละ
10
ของราคาก่อสร้างบ้านวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างต้องเป็นวัสดุที่หาได้หรือผลิตได้ในท้องถิ่น
และต้องการบำรุงรักษาน้อยถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำในการทำให้เจือจางหรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลสามารถใช้งานได้ในพื้นที่ซึ่งมีชุมชนอยู่กันอย่างหนาแน่น
6.10 ระบบบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล
การกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยวิธีระบบบำบัดน้ำเสีย
(Sewerage
system) การกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยวิธีระบบบำบัดน้ำเสียนี้
จะปล่อยให้อุจจาระและปัสสาวะที่ขับออกมาละลายปนเข้าไปในท่อระบายน้ำเสียแล้วเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อบำบัดรวมกันทั้งน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล
ซึ่งเรียกระบบบำบัดแบบนี้ว่า ระบบบำบัดรวม (Central treatment) โดยการเปลี่ยนสภาพของเสียในสิ่งปฏิกูลให้อยู่ในสภาพ ที่ปลอดภัยจากการเกิดโรค
ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแล้วจึงทำการกำจัดทิ้งไปหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ทำปุ๋ย
เชื้อเพลิง ฯลฯ
โดยระบบบำบัดและการกำจัดสิ่งปฏิกูลอันดับแรกเรามักเรียกว่า “ ส้วม
” ซึ่งมีหลายลักษณะแล้วแต่จะเลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละคนหรือแต่ละท้องถิ่น
ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
ซึ่งบางกลุ่มอาจไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เพราะอาจเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่จะขอกล่าวเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานของการบำบัดและการกำจัดสิ่งปฏิกูล
ดังนี้
1. ระบบไม่ใช้น้ำ สิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดนอกอาคารหรือนอกบริเวณที่ตั้งอาคาร( Dry system,
off-site treatment and disposal ) คือระบบบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ไม่ใช้น้ำราดหรือขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูลลงถังเก็บ
และสิ่งปฏิกูลจะถูกนำไปบำบัดนอกอาคาร ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกสุขลักษณะนักเนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนในระหว่างการเดินทางไปกำจัด
โดยระบบดังกล่าวมีใช้อยู่ 3 ประเภท คือ
1.1 ส้วมถังเท (Bucket Latrine) ลักษณะของส้วมคือมีที่เก็บกักสิ่งปฏิกูลเป็นถังตัวเรือนส้วมและมีพื้นที่ส้วมที่มีรูหรือช่อง
ให้มีขนาดโตพอที่สิ่งปฏิกูลจะตกลงไปได้ โดยต้องมีที่ ปิดฝาถังที่มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงลงไป
จากนั้นเมื่อเต็มก็นำไปบำบัดต่อไป

1.2 ส้วมเคมี (Chemical Toilets) อาจจัดไว้ในพวกส้วมถังเท
แต่ต่างกันตรงที่มี การใช้สารเคมีย่อยสลายสารอินทรีย์และทำลายเชื้อโรคในสิ่งปฏิกูล

1.3 ส้วมหลุมตัน (Vault Privies) ลักษณะของส้วมคือมีหลุมกักเก็บสิ่งปฏิกูล ซึ่งสร้างด้วยวัสดุที่ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าออกได้
เช่น ทำด้วยคอนกรีต เหล็กไร้สนิม ไฟเบอร์กลาส

2. ระบบไม่ใช้น้ำ สิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดภายในอาคารหรือภายในบริเวณที่ตั้งอาคาร (Dry system, on
-site treatment and disposal) สิ่งปฏิกูลจะถูกนำไปบำบัดและกำจัดภายในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคาร
จะไม่ใช้น้ำเป็นตัวขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลจะถูกบำบัดแลกำจัดภายในที่กักเก็บจนกว่าจะเกิดการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลอย่างสมบูรณ์และมีความปลอดภัย
แล้วจึงนำกากตะกอนหรือของเหลวที่ผ่าน การบำบัดแล้วไปกำจัดให้เหมาะสมต่อไป
เช่น ทำปุ๋ย ถมที่ลุ่ม ปรับสภาพดิน เป็นต้น ซึ่งการบำบัดด้วยวิธีนี้ได้แก่
2.1 ส้วมหลุม
(Pit Privies) ไม่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูล ลักษณะทำเป็นหลุมดิน
ให้หลุมมีขนาดเพียงพอที่จะย่อยสลายอย่างสมบูรณ์และปลอดภัยได้
2.2 ส้วมหมัก (Composting Latrines) ไม่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูล มีวัตถุประสงค์ของการใช้ส้วมชนิดนี้คือ
จะใช้หมักทำปุ๋ย
2.3 ส้วมร่องดิน (Trench Latrines) ไม่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูล
ลักษณะเป็นร่องดินที่ขุดเป็นแนวตามยาว เมื่อใช้งานเสร็จก็จะกลบ มักใช้กับที่อาศัยอยู่ชั่วคราว
เช่นค่ายทหาร แคมป์ลูกเสือ ค่ายอาสา
พัฒนาชนบท
เป็นต้น

2.4 ส้วมแขวน (Overhang Latrines) ลักษณะของส้วมแขวนประกอบด้วยตัวเรือนส้วมและพื้นที่ส้วมที่สร้างบนเสาไม้เหนือน้ำตามริมฝั่งแม่น้ำ
ทะเล หรือมหาสมุทร 

3. ระบบใช้น้ำ สิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดนอกอาคารหรือนอกบริเวณ ที่ตั้งอาคาร ( Wet
system, off-site treatment and disposal ) หมายถึงระบบที่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูลลงสู่ที่กักเก็บและสิ่งปฏิกูลถูกบำบัดภายในถังกักเก็บ
แล้วปล่อยส่วนที่เป็นของเหลวที่ยังคงมีสารอินทรีย์และเชื้อโรคไปบำบัดและกำจัดต่อโดยท่อระบายน้ำเสียไปยังระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางภายนอกอาคาร

4. ระบบใช้น้ำ สิ่งปฏิกูลถูกนำไปบำบัดและกำจัดในอาคารหรือบริเวณ ( Wet system,
on-site treatment and disposal ) หมายถึงระบบที่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนสิ่งปฏิกูลลงสู่ที่กักเก็บและสิ่งปฏิกูลถูกบำบัดภายในถัง
กักเก็บ อาจมีการแบ่งชนิดของส้วมตามลักษณะที่ใช้น้ำและลักษณะของหลุมที่เก็บกักสิ่งปฏิกูลได้หลายอย่าง
แต่ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ
ส้วมราดน้ำ (Pour-flush Toilet)
เป็นส้วมที่ให้มีน้ำขังอยู่ใต้พื้นส้วมซึ่งมีการออกแบบที่รองรับให้น้ำขังอยู่
ถังเกรอะ หรือ บ่อเกรอะ (Septic Tanks) เป็นส้วมระบบที่ใช้น้ำและให้มีน้ำขังอยู่ที่โถส้วมแบบราดน้ำหรือแบบชักโครกผลักดันน้ำไหลไปยังที่เก็บกักสิ่งปฏิกูลเพื่อการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลในถังเกรอะซึ่งสร้างไว้ห่างจากพื้นส้วมโดยมีท่อนำสิ่งปฏิกูลลงสู่ถัง

กิจกรรมที่ 12
กิจกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคจากแหล่งแพร่เชื้อ
1.ให้ผู้ศึกษาสำรวจสภาพของห้องน้ำบริเวณอาคารเรียน
โรงอาหารและหอพักระบุปัญหาที่พบ
โดยมีภาพถ่ายประกอบ
แบบฝึกหัดประจำบทที่ 6
จงตอบคำถาม
โดยอธิบายคำตอบพอสังเขป
1.จงให้ความหมายของสิ่งปฏิกูลโดยสรุป
2.การจัดการสิ่งปฏิกูล
มีวัตถุประสงค์อย่างไร
3.ระบบการบำบัดสิ่งปฏิกูล
มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย
4.จงบอกเกณฑ์ที่ใช้ในการประกวดส้วมสะอาดระดับหมู่บ้าน
5.จงวิเคราะห์ส้วมที่อยู่ในอาคารเรียนที่ท่านศึกษาอยู่ในปัจจุบันโดยรวมตามมาตรฐานHAS
มีออ้างอิงของข้อมูลไหมคะ
ตอบลบ