แผนการสอน
รายวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย
บทที่ 13 เรื่องการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ
13.1 บทนำ
13.2
หลักการของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
13.3
ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
13.4
การบูรณาการการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
13.1 แนวคิดและหลักการ
13.2จำนวนชั่วโมงเรียน ภาคบรรยาย 2 ชั่วโมง
13.3
จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแมลงที่เป็นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์
ยุง แมลงวัน แมลงสาบ หนู การควบคุมและป้องกันโรค
13.4
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อนิสิตเรียนวิชานี้แล้ว นักศึกษามีความรู้
ความสามารถและทักษะ ดังนี้
1. สามารถบอกความหมาย ความสำคัญของการสุขาภิบาลสิ่งขับถ่าย
2. สามารถอธิบายองค์ประกอบที่พิจารณาในการกำจัดสิ่งขับถ่าย
3. สามารถบอกและอธิบายหลักการกำจัดและวิธีการกำจัดสิ่งขับถ่าย
13.5เนื้อหาสาระ
ภาคบรรยาย
ความหมาย
ความสำคัญของเกี่ยวกับแมลง หลักการกำจัดและวิธีการกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
13.6
กิจกรรมการเรียนการสอน
ภาคบรรยาย ทำการสอนในห้องเรียนแบบบรรยาย
4
ชั่วโมง ในหัวข้อที่ 1 - 3
13.7
สื่อการเรียนการสอน
แผ่นสไลด์บรรยาย (power point)
เอกสารประกอบการสอน
เอกสารประกอบการสอน
ประกอบด้วยรูปภาพและตารางประกอบคำบรรยาย
13.8 การวัดผลและประเมินผล
สอบข้อเขียนกลางภาค ปลายภาค สรุปเนื้อหาที่เรียน
/ ความรู้ที่ได้รับลงสมุดบันทึกท้ายชั่วโมงบรรยาย
บทที่ 13 การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ
13.1
บทนำ
13.2
หลักการของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
13.3
ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
13.4
การบูรณาการการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม
13.1 บทนำ
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental
Impact Assessment - EIA) หมายถึงการประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ
รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาจนิยามได้ว่าเป็น "กระบวนการเพื่อการบ่งชี้
ทำนาย ประเมิน และบรรเทาผลกระทบทางชีวกายภาพ สังคม และผลกระทบที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
ที่มีต่อข้อเสนอการพัฒนาใด ๆ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจให้ลงมือดำเนินได้"[1]
วัตถุประสงค์ของการประเมินก็เพื่อให้เป็นการประกันได้ว่า
ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบของโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม
ก่อนทำการอนุมัติให้ดำเนินโครงการที่มีผู้ขออนุญาตดำเนินการ
ประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการฉบับแรก
คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518
ซึ่งได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น
มีอำนาจหน้าที่ คือ เสนอนโยบายและความเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการ
ที่อาจส่งผลเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2521
ทั้งนี้เนื่องจากพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 1
มิได้มีการระบุให้แน่ชัดเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติบางเรื่อง
จึงก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ดังนั้น
จึงได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2518
โดยได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ชัดเจนและรัดกุมขึ้นกว่าเดิมรวม
3 ประการ คือ
กำหนดให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการพัฒนาของรัฐและกิจกรรมบางประเภทของเอกชน
ให้อำนาจในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ที่มิได้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยราชการใด
ตลอดจนการกำหนดวิธีการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ดำเนินการในด้านการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในกรณีที่ฉุกเฉิน
สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น
ๆ
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสามารถเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อเอื้ออำนวยต่อการบริหารสิ่งแวดล้อม
และแก้ไขอุปสรรคและข้อขัดข้องในทางปฏิบัติได้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2524
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ได้กำหนดให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ
หรือกิจการบางประเภทและบางขนาด โดยอาศัยอำนาจตามประกาศกฎกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงานซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2524
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่าง
ๆ ที่มีต่อมนุษย์ที่อาจจะถูกกระทบกระเทือน เนื่องจากโครงการหรือกิจการนั้น ๆ
(สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2527)
ในปี พ.ศ. 2535
ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกฎหมายสิ่งแวดล้อมออกเป็น
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
ในส่วนของการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ปรากฏใน ส่วนที่ 4 มาตราที่ 46
ถึง มาตราที่ 51 กฎหมายฉบับดังกล่าวได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์แก่ผู้รักษาการ
(แต่ยังมิได้ระบุไว้ในมาตราโดยตรง) วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องนำเสนอพร้อมรายงานฯ
เพิ่มเติม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
ได้ระบุไว้ชัดในมาตราที่ 56 โดยมีประเด็นหลักที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาใด ๆ
ก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชุมชน
จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการใด ๆ หากไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อน
ดังนั้น จากกฎหมายหลักฉบับนี้ของไทย ทำให้กฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ
ต้องปฏิบัติตามภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว
13.2
หลักการของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือที่มักเรียกกันว่า EIA ย่อมาจากคำว่าEnvironmental Impact Assessment ซึ่งหมายถึง
การใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบของการดำเนินโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ
ด้านทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ และทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นให้เกิดน้อยที่สุด
ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้อย่างมีประโยชน์
มีประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของนักบริหารว่าสมควรดาเนินการหรือไม่
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะเป็นประโยชน์อย่างมากหากได้รับการนามาในการวางแผนป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังดาเนินโครงการไปแล้วได้มากและเป็นวิสัยทัศน์ของนักบริหารโครงการในยุคโลกาภิวัตน์ที่มุ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข
(สนธิ วรรณแสง และคณะ, 2541)
13.3 ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ประกอบด้วย
1) การกลั่นกรองโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2) การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3) การพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
4) การติดตามตรวจสอบ
1) การกลั่นกรองโครงการที่ต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เป็นขั้นตอนที่จะบอกว่าโครงการที่จะพัฒนาขึ้นนั้นจาเป็นจะต้องทาการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่
โดยจะพิจารณาว่าโครงการพัฒนาต่างๆ อาจก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด และหากจาเป็นต้องทาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมควรจะต้องทาการวิเคราะห์ในระดับใด
จะทาเป็นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นหรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2) การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ในการจัดทำรายงานมีขั้นตอนการดาเนินงานที่สำคัญประกอบด้วย การกำหนดขอบเขตการศึกษาและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2.1 กำหนดขอบเขตการศึกษา
(Scoping) การกำหนดขอบเขตการศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญ และจาเป็นต้องทำ
ตั้งแต่ระยะแรกๆ ของการดาเนินโครงการ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ
ซึ่งได้แก่ สาธารณชนผู้สนใจหรือผู้ที่ถูกผลกระทบจากโครงการ หน่วยงานของรัฐและผู้ดำเนินโครงการ
กระบวนการการกำหนดขอบเขตการศึกษานี้สามารถชี้ให้เห็นถึงสิ่งต่อไปนี้
1) ขอบเขตพื้นที่หรือหัวข้อของความจำเป็นที่ต้องศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2) ประเด็นที่สำคัญหรือที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน
3) ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการประเมินผลกระทบ
4) ผลกระทบที่มีนัยสำคัญ
วิธีการลดผลกระทบ วิธีการติดตามตรวจสอบและองค์ประกอบอื่นๆที่ต้องพิจารณา
5) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ต้องมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม
6) ข้อมูลที่จาเป็นเพื่อการตัดสินใจของผู้มีอำนาจตัดสินใจในระดับสูง
ในการจัดทำขอบเขตการศึกษาเพื่อการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
จะต้องจัดทำ ร่วมกันโดยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านน้ำ ด้านอากาศ ด้านชีวภาพ
ด้านสังคม ซึ่งเรียกว่า การทำขอบเขตการศึกษาทางวิชาการ หรือ technical
scoping และควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่มีความห่วงใย
และนำประเด็นดังกล่าวมาพิจารณากำหนดไว้ในขอบเขตการศึกษาหรือที่เรียกว่าการกำหนดขอบเขตการศึกษาทางสังคมหรือ
social scoping การที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจะทำให้มีการระบุผลกระทบสิ่งแวดล้อมประเด็นสำคัญอื่น
ๆ ที่คนในสังคมเหล่านั้นจะได้รับ ในกรณีที่ได้มีการจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
จะช่วยให้ทราบ ประเด็นที่มีนัยสำคัญทางวิชาการที่สมควรนำไปศึกษาในขั้นการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเมื่อนำข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้จากการประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการดังกล่าวข้างต้น
จะทำให้การกำหนดขอบเขตการศึกษาได้ผลดีที่สุด และจากประสบการณ์ ขอบเขตการศึกษา ไม่ควรจะเป็นเอกสารที่จำกัดเกินไป
โดยหากในขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้พบผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพเพิ่มเติมที่มีนัยสำคัญก็ควรทาการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นเพิ่มเติมด้วย
2.2 การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็เพื่อที่ระบุถึงแนวโน้มของผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในด้านต่างๆ
เช่น คุณภาพอากาศ คุณภาพน้า ดิน ทรัพยากรชีวภาพ การจ้างงาน การใช้ที่ดิน เป็นต้น ในการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะต้องครอบคลุมบริเวณที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบและต้องพิจารณาผลกระทบที่เกิดโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากโครงการและผลกระทบทางอ้อมที่โครงการดังกล่าวมีต่อปัจจัยอื่นแล้วย้อนกลับมามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และต้องพิจารณาว่าผลกระทบนั้นเป็นผลกระทบระยะสั้น และผลกระทบระยะยาว หรือผลกระทบสะสม
(cumulative impacts) หรือไม่ในขั้นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องมีการสำรวจสภาพแวดล้อมของโครงการ
พร้อมทั้งดาเนินการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งเป็น
3 ขั้นตอน ได้แก่
2.2.1 การจำแนกผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โดยเป็น การอธิบายเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันในบริเวณโครงการว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร
โดยแบ่งเป็น
1) ทรัพยากรด้านกายภาพ เช่น
ดิน น้ำ อากาศ เสียง ภูมิสัณฐาน ธรณีวิทยา เป็นต้น
2) ทรัพยากรด้านชีวภาพ เช่น
สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย รวมทั้ง สัตว์ พืช สิ่งมีชีวิตที่หายาก เป็นต้น
3) คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
เช่น น้ำดื่ม น้ำใช้ การขนส่ง ไฟฟ้าและพลังงาน การควบคุมน้าท่วม การระบายน้ำ การเกษตรกรรม
การอุตสาหกรรม เหมืองแร่ สันทนาการ การใช้ที่ดิน เป็นต้น
4) คุณค่าคุณภาพของชีวิต
เช่น เศรษฐกิจสังคม การสาธารณสุข อาชีวอนามัย ประวัติศาสตร์ สุนทรีภาพ เป็นต้น
การอธิบายว่าโครงการจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในช่วงก่อสร้างและดำเนินโครงการ เช่น การก่อสร้างถนน
อาคาร ก่อให้เกิดฝุ่น และตะกอน เป็นต้น ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมหรือคุณค่าต่าง
ๆ ที่มีต่อมนุษย์ในแต่ละด้านนั้น จะต้องกระทาในเชิงปริมาณให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ 2.2.2 การทำนายผลกระทบสิ่งแวดล้อม การทำนายผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ การคาดการณ์หรือการทานายถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโครงการ
ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปอาจใช้วิธีวิเคราะห์โดยการอธิบายใช้แบบจาลองทางคณิตศาสตร์ เช่น ในกรณีการประเมินด้านอากาศ
เป็นต้น หรือเป็นการใช้วิจารณญาณของผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
2.2.3 การตีค่าผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เป็นขั้นตอนหลังจากที่ทราบขนาดของผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมแต่ละตัวแปรแล้ว การรวบรวมผลกระทบของตัวแปรทั้งหมด
เพื่อพิจารณาดูผลกระทบทั้งโครงการว่ามีผลดีหรือผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีความหลากหลาย
เช่น อาจเป็นผลกระทบโดยตรงในเรื่องมลพิษทางน้า อากาศ ไปถึงผลกระทบทางอ้อม เช่น ปัญหาต่อสุขภาพเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต
หรือแผ่นดินไหวจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเดียวโดดๆ
อาจไม่มีนัยสำคัญ แต่หากพิจารณาในภาพรวมของหลาย ๆ โครงการในบริเวณดังกล่าวรวมกันจะเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นผลกระทบสะสม
เป็นต้น
3) การพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามที่
พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ.2535 กำหนดแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 กรณีโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
หรือโครงการร่วมกับเอกชน ที่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี รูปแบบที่
2 กรณีโครงการที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการและโครงการของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือโครงการหรือกิจการซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมายก่อนเริ่มการก่อสร้างหรือดำเนินการซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติตามมาตรา
47 มาตรา 48 และมาตรา 49 ดังนี้
3.1 กรณีโครงการของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชนที่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา
47 วรรคแรก ระบุถึงขั้นตอนการจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการที่เป็นของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชนซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นที่เจ้าของโครงการทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ
นอกจากนี้ มาตรา 47 วรรคแรกได้ระบุถึงขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่าโครงการที่เป็นของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชนซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้ต้องเสนอรายงานฯ
ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและจะเห็นว่ามาตรา
47 นี้ไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการพิจารณารายงานไว้ ในทางปฏิบัติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการขึ้นมาช่วยพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
การดาเนินงานตามขั้นตอนการพิจารณาโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชนที่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
จึงมีขั้นตอนสรุปได้ดังภาคผนวก ก
3.2 กรณีโครงการที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมายและโครงการของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี กรณีโครงการที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการและโครงการของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของรายงานภายในระยะเวลา
15 วัน กรณีที่รายงานที่เสนอมาไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง สานักงานฯ จะแจ้งเจ้าของโครงการแก้ไขรายงาน
หากรายงานดังกล่าวครบถ้วนและถูกต้องแล้ว สานักงานฯ จะสรุปความเห็นเบื้องต้นเสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานฯ
ภายในระยะเวลา 15 วัน คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ จะใช้เวลาในการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
45 วัน หากคณะกรรมการเห็นชอบ สานักงานฯ จะแจ้งให้หน่วยงานอนุญาตทราบเพื่อนาผลไปประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตต่อไป
แต่หากคณะกรรมการผู้ชำนาญการยังไม่เห็นชอบในรายงานหรือให้เจ้าของโครงการเพิ่มเติมข้อมูล
สานักงานฯ จะแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบและแก้ไขรายงานต่อไป ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตต้องแก้ไขเพิ่มเติมรายงานตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการเมื่อได้แก้ไขเพิ่มเติมรายงานและเสนอรายงานดังกล่าวต่อสานักงานฯ
แล้วสานักงานฯ จะนาเสนอคณะกรรมการพิจารณา โดยในขั้นตอนนี้คณะกรรมการจะมีเวลาพิจารณา
30 วัน สรุปขั้นตอนการพิจารณารายงานฉบับแก้ไขเพิ่มเติมได้ ดังภาคผนวก
ข ในระหว่างการแก้ไขนี้ หน่วยงานอนุญาตจะสั่งอนุญาตไม่ได้ต้องรอจนกว่าผู้ขออนุญาตได้เสนอรายงานฉบับแก้ไขเพิ่มเติมและรายงานได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการซึ่งการกำหนดไว้ในลักษณะนี้เพื่อยังไม่ให้มีการก่อสร้างหรือดาเนินโครงการจนกว่ารายงานจะได้รับความเห็นชอบ
ซึ่งผู้ขออนุญาตจะต้องนำมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบไปปฏิบัติในการก่อสร้างหรือดาเนินโครงการ
หากมีการก่อสร้างหรือดาเนินโครงการไปแล้ว ผลจากการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก็จะไม่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติในการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้ล่วงหน้า
ในขั้นตอนนี้ จะเห็นว่าการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ใช่การอนุญาตโครงการ แต่เป็นกระบวนการดาเนินงานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจอนุญาตโครงการของหน่วยงานอนุญาต
4) การติดตามตรวจสอบ ในการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น
การหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าวเป็นวิธีการในการกาหนดมาตรการที่สาคัญที่สุด
บางครั้งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบโครงการ เช่น การขยับแนวถนนเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อชุมชนหรือต่อโบราณสถาน
เป็นต้น ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดมาตรการที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลกระทบได้ ก็จำเป็นต้องเสนอมาตรการที่จะช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
เช่น การติดตั้งระบบบาบัดน้าเสียที่มีประสิทธิภาพและสามารถบาบัดน้าเสียให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกาหนด
เป็นต้น นอกจากการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วยังต้องกาหนดมาตรการในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบบริเวณโครงการอยู่ในมาตรฐาน
13.4
การบูรณาการการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการประเมินผลกระทบทางสุขภาพตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1) ข้อมูลสุขภาพมีอยู่ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายใต้ด้านคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต
เรื่อง สาธารณสุขและอาชีวอนามัย
2) ข้อมูลสุขภาพ ยังไม่ได้นำไปแสดงความสัมพันธ์ต่อผลกระทบในด้านอื่น
ๆ เช่น ด้านกายภาพ ด้านคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นต้น
3) ควรศึกษาในเรื่องกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบทางสุขภาพให้ชัดเจนมากขึ้นว่าประชาชนแต่ละกลุ่มจะมีโอกาสได้รับผลกระทบที่แตกต่างกันหรือไม่
อย่างไร ซึ่งจะต้องถูกนำไปใช้ในการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่ชัดเจน
4) การตัดสินใจอนุมัติ อนุญาต
โครงการหรือกิจการ ควรพิจารณาข้อมูลทุกด้านประกอบกันทั้งด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม สิ่งแวดล้อม
สุขภาพ สังคม การแยกการประเมินทางสุขภาพจะทาให้ข้อมูลแยกส่วน การพิจารณาสิ้นเปลืองเวลาและทรัพยากรมากขึ้น
(รายละเอียดความเชื่อมโยงของข้อมูลสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังภาพที่
1) นอกจากประโยชน์โดยตรงในการลดผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว การประเมินผลกระทบทางสุขภาพยังมีประโยชน์ในด้านต่อไปนี้
คือ
ทำให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางสุขภาพมากยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้กำหนดนโยบายเห็นภาพว่าการตัดสินใจของพวกเขามีผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างไร
ทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพและนโยบายการพัฒนาด้านต่างๆ
ทำให้เกิดความร่วมมือและประสานการดำเนินการระหว่างภาคส่วนต่างๆในการดูแลสุขภาพประชาชน
ทำให้เกิดการวางแผนและตัดสินใจโดยใช้ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์
ทำให้เกิดการลงทุนในการดาเนินการเพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการหรือกิจการ
ทำให้กระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย
มีความโปร่งใส เพราะมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียได้เข้าร่วมกระบวนการตัดสินใจด้วย
จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก (WHO, 1992) ระบุที่ผ่านมาในการตัดสินใจในการพัฒนา ให้ความสำคัญในประเด็นด้านสุขภาพน้อยมาก
และการปรับปรุงรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเรื่องสุขภาพให้มากขึ้น เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลและเป็นโอกาสที่ดีที่จะทาให้มีการพิจารณาให้ความสำคัญต่อประเด็นทางด้านสุขภาพในกระบวนการตัดสินใจอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ The World Commission on Environment and Development, 1987 ได้รายงานไว้ในเอกสาร “Our Common Future” โดยเน้นถึงความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ประชากร
4 ใน 5 ของโลกซึ่งยากจน ได้มีสุขภาพที่เหมาะสม
ในขณะที่การพัฒนาดังกล่าวต้องไม่ทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในสาระของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เรื่องของสุขภาพอนามัยจึงต้องเชื่อมโยงกับสภาวะที่ดีของระบบนิเวศ การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
กระบวนการทางธรรมชาติและระบบค้ำจุนการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต