แผนการสอน
รายวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
บทที่
11 การจัดการเหตุรำคาญ
หัวข้อ
11.1 แนวคิด
11.2 นิยาม
11.3 ผลกระทบเหตุรำคาญ
ต่อสุขภาพร่างกาย
11.4 ลักษณะของเหตุรำคาญที่เกิดอยู่บ่อย
ๆ
11.5 การดำเนินการควบคุมปัญหาด้าน
เหตุรำคาญ
11.6 กฎหมายที่เกี่ยวกับเหตุรำคาญ
11.7 กิจกรรมสำรวจเหตุรำคาญในชุมชน
11.8 คำถามประจำบทที่ 11
11.1 แนวคิด
ปัญหาเหตุรำคาญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุรำคาญที่มีสาเหตุมาจากมลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเสียงดัง
ฝุ่นละออง กลิ่นเหม็น ไอระเหยจากสารเคมี น้ำเสีย หรือกากขยะอุตสาหกรรม เป็นต้น
ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน บทบาทอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานสาธารณสุขกฎหมายสาธารณสุข
ในการระงับเหตุรำคาญที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การร่างข้อกำหนดท้องถิ่น การตรวจสอบ
การรายงาน
มาตรฐานด้านมลพิษที่ก่อเหตุรำคาญ
และตัวอย่างกรณีศึกษาการแก้ไขเหตุรำคาญที่ประชาชนร้องเรียน และการกำหนดวิธีป้องกันไม่ให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคต
11.2 นิยาม
เหตุรำคาญ
หมายถึง สภาวะที่ทำให้เกิดการรบกวนต่อประสาทสัมผัสที่เกิดต่อเนื่องเป็น
เวลานานหรือบ่อยๆก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
จนทำลายความสงบสุขให้หมดไป
11.3 จำนวนชั่วโมงเรียน ภาคบรรยาย 2 ชั่วโมง
11.4 จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแมลงที่เป็นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์
ยุง แมลงวัน แมลงสาบ หนู การควบคุมและป้องกันโรค
11.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อนักศึกษาเรียนวิชานี้แล้ว
นักศึกษามีความรู้ ความสามารถและทักษะ ดังนี้
1. สามารถบอกความหมาย
ความสำคัญของการสุขาภิบาลสิ่งขับถ่าย
2. สามารถอธิบายองค์ประกอบที่พิจารณาในการกำจัดสิ่งขับถ่าย
3. สามารถบอกและอธิบายหลักการกำจัดและวิธีการกำจัดสิ่งขับถ่าย
11.6 เนื้อหาสาระ
ภาคบรรยาย ความหมาย
ความสำคัญของเกี่ยวกับแมลง หลักการกำจัดและวิธีการกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
11.7 กิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมสำรวจเหตุรำคาญในชุมชน
11.8 สื่อการเรียนการสอน
แผ่นสไลด์บรรยาย (power point)
เอกสารประกอบการสอน
เอกสารประกอบการสอน ประกอบด้วยรูปภาพและตารางประกอบคำบรรยาย
11.9 การวัดผลและประเมินผล
สอบข้อเขียนกลางภาค ปลายภาค
สรุปเนื้อหาที่เรียน / ความรู้ที่ได้รับลงสมุดบันทึกท้ายชั่วโมงบรรยาย
บทที่
11การจัดการ เหตุรำคาญ
หัวข้อ
11.1 แนวคิด
11.2 นิยาม
11.3 ผลกระทบเหตุรำคาญ
ต่อสุขภาพร่างกาย
11.4
ลักษณะของเหตุรำคาญที่เกิดอยู่บ่อย ๆ
11.5การดำเนินการควบคุมปัญหาด้าน
เหตุรำคาญ
11.6 กฎหมายที่เกี่ยวกับเหตุรำคาญ
11.7 กิจกรรมที่กิจกรรมสำรวจเหตุรำคาญในชุมชน
11.8 คำถามประจำบทที่ 11
11.1 แนวคิด
ปัญหาเหตุรำคาญ
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
เหตุรำคาญมักมีสาเหตุมาจากมลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเสียงดัง ฝุ่นละออง
กลิ่นเหม็น ไอระเหยจากสารเคมี น้ำเสีย หรือกากขยะอุตสาหกรรม
เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น
จำเป็นต้องดำเนินการกับแหล่งกำเนิดของปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่
คือสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
โรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ
เพื่อไม่ให้ก่อมลพิษสิ่งแวดล้อมอันจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่โดยปกติของประชาชน
การจัดการกับแหล่งปัญหาดังกล่าว เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานในพื้นที่ ต้องใช้หลักวิชาสังคมศาสตร์
วิทยาศาสตร์ เป็นองค์ความรู้สำหรับควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้น
ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควรมีแนวทางการจัดการเหตุรำคาญและการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่เป็นเอกภาพ
ประกอบกับมีองค์ความรู้ไม่ครอบคลุม ต่อการจัดการปัญหาได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ในการจัดการปัญหาเหตุรำคาญที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ
ต้องมีหลายองค์ประกอบผนวกร่วมกันอย่างเป็นระบบ ได้แก่
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญ
และสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่
โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจ
และสามารถนำความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้
ต้องมีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นต้นแบบ
หรือมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุรำคาญที่มีสาเหตุมาจากมลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น
ปัญหาเสียงดัง ฝุ่นละออง กลิ่นเหม็น ไอระเหยจากสารเคมี น้ำเสีย หรือกากขยะอุตสาหกรรม
เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
11.2 นิยาม
ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. 2535 ได้ให้ความหมายของเหตุรำคาญหมายถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้
ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ
(1) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า
หรือสถานที่อื่นใดซึ่งอยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม สกปรก
มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของที่มีการเททิ้งสิ่งใดเป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษ
หรือเป็นหรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหนะนำโรค
หรือก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(2) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(3) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์โรงงานหรือสถานที่ประกอบการใดไม่มีการระบายอากาศ
การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือการควบคุมสารเป็นพิษหรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเยงจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(4) การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี ความร้อน
ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า
หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(5) เหตุอื่นใดหรือรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดก่อเหตุรำคาญในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย
ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนนทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง
และสถานที่ต่างๆ
ในเขตของตนให้ปราศจากรำคาญในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ
กำจัด และควบคุมเหตุรำคาญต่างๆ ได้
โดยผู้พบเห็นสามารถดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
เช่น หากท่านพักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครฯ ท่านอาจแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ
หรือหากท่านพักอาศัยอยู่ในต่างจังหวัดก็อาจแจ้งต่อเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
เพื่อดำเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเป็นต้น
สรุป เหตุรำคาญ หมายถึง
สภาวะที่ทำให้เกิดการรบกวนต่อประสาทสัมผัสที่เกิดต่อเนื่องเป็น
เวลานานหรือบ่อยๆก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
จนทำลายความสงบสุขให้หมดไป
11.3 ผลกระทบเหตุรำคาญ ต่อสุขภาพร่างกาย
เหตุรำคาญทำให้เกิดความหงุดหงิด
รำคาญและมีผลไปถึงประสิทธิภาพการทำงาน
โดยทำให้สมาธิการทำงานน้อยลงต้องใช้เวลาในการทำงานนานกว่าปกติ หรือทำให้นอนไม่หลับ
พักผ่อนไม่ได้ยกตัวอย่างเช่น อันตรายจากความสั่นสะเทือน
จะมีผลทำให้ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้นกว่าปกติ และทำให้ปอดและหัวใจทำงานหนักขึ้น
1.ผลกระทบของกลิ่นต่อสุขภาพ
การเกิดกลิ่นนั้นสามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพ
ของสารเคมีที่เป็นอันตราย
อย่างไรก็ตามได้มีการใช้ประโยชน์ของกลิ่นในการเตือนอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากได้กลิ่น
เช่น การเติมสารเอทิลเมอร์แคบแทน (Ethyl Mercaptan) ลงไปในก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งเดิมไม่มีกลิ่น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์เพื่อให้ประชาชนได้ทราบหากมีก๊าซรั่ว
ก็จะได้กลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นไข่เน่าของสารเอทิลเมอร์แคบแทน
จะได้รีบดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที
2.ผลกระทบของละอองสารเป็นพิษต่อสุขภาพ
เมื่อเข้าสู่ร่างกาย 3 ทาง
1. ทางจมูก
ด้วยการสูดดมไอของสาร
ผลคือละอองของสารพิษปะปนเข้าไปกับลมหายใจ
สารพิษบางชนิดจะมีฤทธิ์กัดกร่อน
ทำให้เยื่อจมูกและหลอดลมอักเสบหรือซึมผ่านเนื้อเยื่อเข้าสู่กระแสโลหิตทำให้โลหิตเป็นพิษ
2.
ทางปาก
อาจจะเข้าปากโดยความสะเพร่า
เช่น ใช้มือที่เปื้อนสารพิษหยิบอาหารเข้าปากหรือกินผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างอยู่
หรืออาจจะจงใจกินสารพิษบางชนิดเพื่อฆ่าตัวตาย
เป็นต้น
3.
ทางผิวหนัง
เกิดอาการสัมผัสหรือจับต้องสารพิษ
สารพิษบางชนิดสามารถซึมผ่านทางผิวหนังได้เพราะเข้าไปทำปฏิกิริยาเกิดเป็นพิษแก่ร่างกาย
สารพิษเมื่อเข้าสู่ร่างกายทางใดก็ตาม เมื่อมีความเข้มข้นพอจะมีปฏิกิริยา ณ
จุดสัมผัสและซึมเข้าสู่กระแสโลหิต
ซึ่งจะพาสารพิษไปทั่วร่างกายความสามารถในการสู่กระแสโลหิตนั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการละลายของสารพิษนั้น สารพิษบางชนิดอาจถูกร่างกายทำลายได้ บางชนิดอาจถูกขับถ่ายออกทางไต
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะบางชนิดอาจถูกสะสมไว้ เช่น
ที่ตับ ไขมัน เป็นต้น
3.ผลกระทบของแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่อปัญหาสุขภาพ
โดยองค์การอนามัยโลก (WHO)
ได้จัดกลุ่มโรคติดต่อหลายชนิดที่เกิดจากน้ำที่ปนเปื้อนด้วยของเสียจากมนุษย์
ของเสียประเภทสารเคมีหรือของเสียจากอุตสาหกรรม ทั้งจากการกิน การสัมผัสของร่างกาย
ดังนี้
1. โรคหรือความเจ็บป่วยที่มีน้ำเป็นสื่อในการแพร่กระจาย
(Water-borne disease) เกิดจากการบริโภคน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระของคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อโรคแบคทีเรีย
ไวรัส เช่น เชื้ออหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์ และโรคอุจจาระร่วง อื่นๆ
2. โรคหรือความเจ็บป่วยที่เนื่องมาจากความขาดแคลนน้ำสะอาดในการชำระล้าง
ทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม (Water-washed disease) มักจะเป็นโรคติดเชื้อตามภายนอกร่างกาย ผิวหน้า เยื่อบุตา เช่น ริดสีดวงตา
(ตาแดง) แผลตามผิวหนัง หิด เหา ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากอนามัยส่วนบุคคลไม่ดี (Poor
personal hygiene)
3. โรคหรือความเจ็บป่วยเนื่องจากเชื้อโรคหรือสัตว์นำโรคที่มีวงจรชีวิตอาศัยอยู่ในน้ำ
(Water-based disease) เกิดจากปาราสิตพวกที่มีระยะการเจริญเติบโตอยู่ในน้ำ
เช่น โรคพยาธิต่างๆ ที่พบบ่อยเช่น โรคพยาธิใบไม้ชนิดต่างๆ
4. โรคหรือความเจ็บป่วยเนื่องมาจากแมลงเป็นพาหะนำเชื้อโรคต้องอาศัยน้ำในการแพร่พันธุ์
(Water-related disease) เกิดจากแมลงพาหะนำโรคที่แพร่พันธุ์ในน้ำเช่น
ยุงชนิดต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของโรค ไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้เหลือง
4.ผลกระทบของสภาวะแวดล้อมที่เป็นอันตรายในชุมชน
เป็นผลให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพอันเกิดจากเชื้อโรค บางชนิด
เช่นขยะเป็นบ่อเกิดเมื่อมีขยะมูลฝอยตกค้าง
น้ำท่วมจากการขาดระบบระบายน้ำที่ดีและถนนที่ไม่สามารถใช้งานได้ในทุกลักษณะอากาศเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุทั้งภายในและรอบ
ๆ ของชุมชน โรคเท้าช้าง ไข้สมองอักเสบ ฯลฯ เป็นต้น
ผลกระทบของเสียงต่อสุขภาพ
ได้แก่
1.
ทำให้เกิดความรำคาญ รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ เกิดความเครียดทางประสาท
2.
รบกวนต่อการพักผ่อนนอนหลับ และการติดต่อสื่อสาร
3.
ทำให้ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และถ้าเสียงดังมากอาจทำให้ทำงานผิดพลาด
หรือเชื่องช้าจนเกิดอุบัติเหตุได้
4.
มีผลต่อสุขภาพร่างกาย ความเครียด อาจก่อให้เกิดอาการป่วยทางกาย เช่น โรคกระเพาะ
โรคความดันสูง
5.
การได้รับฟังเสียงดังเกินกว่ากำหนดเป็นระยะนานเกินไปอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน
ซึ่งอาจเป็นอย่างชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
มนุษย์เราสามารถได้กลิ่นของสารในระดับที่รับรู้ได้
แม้ว่าความเข้มข้นของสารนั้นยังไม่อยู่ในระดับที่จะก่อให้เกิดผลกระทบหรืออันตรายต่อสุขภาพ
เช่น เราจะได้กลิ่นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide; H2S) ที่ความเข้มข้นเพียง 0.01 ส่วนในล้านส่วน
(ppm) ในขณะที่ความเข้มข้นที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพสูงถึง
10 ppm ค่าขีดจำกัดความปลอดภัยเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (Threshold
Limit Value Time - Weighted Average) ที่กำหนดโดยสมาคมนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐบาลของสหรัฐอเมริกา
(American Conference of Governmental Industrial Hygienists ; ACGIH) ดังนั้นการที่ได้กลิ่นก๊าซไข่เน่า
ก็ไม่ได้หมายความว่ากลิ่นที่เกิดขึ้นจะอยู่ในระดับที่ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพเสมอไป
ระดับกลิ่นที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของสาร
ข้อมูลของผลกระทบของสารแต่ละชนิดที่มีต่อสุขภาพนั้น
ได้แสดงไว้ในตารางแสดงคุณสมบัติของสารเคมีที่มีกลิ่น
11.4 ลักษณะของเหตุรำคาญที่เกิดอยู่บ่อย ๆ
ได้แก่
เสียงดังรบกวนการสั่นสะเทือน แสงสว่างรบกวน กลิ่นเหม็น ฝุ่นและควัน
11.4.1.เหตุรำคาญจากการเผาขยะ
มาตรา 25
เหตุรำคาญ คือ การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน
สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด
จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
มาตรา 80
ผู้ดำเนินกิจการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และปรับอีกไม่เกินวันละ 5,000บาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เผาขยะผิดประมวลกฏหมายอาญา
มาตรา 220
ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ
แม้เป็นของตัวเองจนน่าเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือ ทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
7 และปรับไม่เกิน 14,000 บาท
11.4.2 ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติในเรื่องเหตุรำคาญ
หมวด 5 : เหตุรำคาญ (มาตรา 25 ถึง 28)
มาตรา 25
กำหนดให้กรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่
ต้องประสบกับเหตุนั้นให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ ซึ่งรวมถึง
อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนและสัตว์
โรงงานหรือสถานที่ประกอบกิจการใดไม่มีการระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือการควบคุมสารเป็นพิษหรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศ จากกลิ่นเหม็น
หรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียง จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็น อันตรายต่อสุขภาพ
การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น
แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า
หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
มาตรา 26 ถึง
28 กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใด มิให้ก่อเหตุรำคาญในที่
หรือทาง สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
โดยออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่
ซึ่งเป็นต้นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ระงับกำจัด ควบคุม
และป้องกันเหตุรำคาญ หรือมิให้ใช้ ยินยอมให้บุคคลใด ใช้สถานที่นั้น และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถกระทำโดยวิธีใด
เพื่อระงับเหตุ รำคาญและอาจจัดการตามความจำเป็น
หรือให้ระบุไว้ในคำสั่งกำหนดวิธีการป้องกัน
มิให้เหตุความรำคาญนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคตในการดำเนินการดังกล่าวให้บุคคลหรือเจ้าของ หรือผู้ ครอบ
ครองซึ่งเป็น ต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา 74)
11.5 การดำเนินการควบคุมปัญหาด้าน
เหตุรำคาญ
โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอย
การรักษาความสะอาด ในที่ หรือทางสาธารณะ สถานสาธารณะ
การรักษาความสะอาดของแม่น้ำลำคลอง การควบคุมดูแลกิจการตลาด สถานสาธารณะ
การรักษาความสะอาดของแม่น้ำลำคลอง การควบคุมดูแลกิจการตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหาร รวมทั้งกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน โรงงานขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ นอกจากนี้
ในกรณีที่มีโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ หรือโรคติดต่ออันตราย เกิดขึ้นในเขตท้องที่
ก็มีมาตรการในการควบคุม และการจัดการ
เพื่อการป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ในพื้นที่นั้นได้
ราชการส่วนท้องถิ่น
จะมีอำนาจดำเนินการ และควบคุมเรื่องต่างๆ ข้างต้นแล้ว ซึ่งนับว่า
เป็นมาตรการการป้องกัน และควบคุมเบื้องต้น เพื่อมิให้เกิดปัญหาต่อประชาชน
ในชุมชนท้องถิ่นนั้น ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
จึงได้กำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจดำเนินการ
ในกรณีที่เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน ซึ่งหมายถึง "การกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสื่อม
หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนข้างเคียง" ทั้งนี้
ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
มาตรการคุ้มครองประชาชน
กรณีเหตุรำคาญนี้ จึงเป็นมาตรการที่อุดช่องว่าง ที่อาจเกิดขึ้น
จากการขาดความรับผิดชอบของบุคคลใด บุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลใด
ที่ทำให้เกิดสภาวะความเสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาความสงบสุขของชุมชน เพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มีความเคารพสิทธิ และไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงมีเฉพาะพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ.2535 ฉบับเดียวที่มีบทบัญญัติไว้อย่างชัดเจน ส่วนกฎหมายอื่นๆ
จะมีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะกรณีที่การก่อเหตุรำคาญนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน
ที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้ด้วย ดังนั้น
จึงขอเสนอรายละเอียดในส่วนของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ดังนี้
11.6 กฎหมายที่เกี่ยวกับเหตุรำคาญ
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ.2535
1. ลักษณะของเหตุรำคาญ
ตามบทบัญญัติมาตรา
25 กำหนดว่า "ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน
แก่ผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ต้องประสบกับเหตุนั้น ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่า
เป็นเหตุรำคาญ ซึ่งได้แก่
แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อายน้ำ ส้วม
หรือที่ใส่มูล หรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใด ซึ่งอยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม สกปรก
มีการสะสม หรือหมักหมมสิ่งของ มีการเททิ้งสิ่งใด เป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็น
หรือละอองเป็นพิษ หรือเป็น หรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหะนำโรค
หรือก่อให้เกิดความเสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายถึง
กรณีที่ผู้ใดจัดให้มีแหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ที่ใส่มูล หรือเถ้า
หรือสถานที่อื่นใด ซึ่งต้องมีลักษณะ เป็นที่เก็บสิ่งของที่สกปรก
หรือใช้กับกิจกรรมที่น่าจะเกิดกับสิ่งโสโครก เช่น คูระบายน้ำ ร่องเก็บน้ำเสีย
ลานฆ่าสัตว์ เป็นต้น 1) ในทำเลที่ไม่เหมาะสม 2) ปล่อยปละละเลย
ไม่ดูแลรักษาความสะอาด จนเกิดสภาพที่สกปรก มีกลิ่นเหม็น 3)
เททิ้งสิ่งใดในสถานที่นั้น (ซึ่งอาจหมายถึง น้ำโสโครก ปัสสาวะ น้ำซากสัตว์
มูลสัตว์ เถ้าเขม่า เป็นต้น) รกรุงรังจนเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์พาหะนำโรค
เหล่านี้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ ทั้งนี้ ต้องอยู่ในสภาวะที่อาจก่อให้เกิด ความเสื่อม
หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การเลี้ยงสัตว์ในที่
หรือวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควร จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายถึง การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดที่ 1)
สถานที่เลี้ยงไม่เหมาะสม สกปรก มีกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์พาหะนำโรค
เป็นต้น 2) โดยวิธีการเลี้ยงที่รบกวนความเป็นอยู่ ของผู้อาศัยข้างเคียง เช่น
การปล่อยให้สัตว์ไปกินพืชผักของคนข้างบ้าน หรือปล่อยให้ไปถ่ายบ้านข้างเคียง เป็นต้น
3) เลี้ยงจำนวนมากเกินไป เช่น สถานที่เลี้ยงคับแคบอยู่ใกล้บ้านข้างเคียง
แต่ก็เลี้ยงจำนวนมากจนเกิดเสียงร้องดัง มีกลิ่นสาบ หรือกลิ่นมูลเหม็น ฯลฯ
เรื่องนี้
มีมาตรการในการควบคุมดูแลอยู่แล้ว ในเรื่อง การควบคุมการเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์ และกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ประเภทการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสามารถควบคุมเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงสัตว์
ที่ถูกสุขลักษณะ การจำกัดจำนวนที่เหมาะสม
การให้เลี้ยงโดยมีเงื่อนไขที่จะป้องกันเหตุรำคาญได้ ดังนั้น
กรณีของเหตุรำคาญที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ จึงควรใช้มาตรการควบคุมข้างต้น
จัดการได้มากกว่า
อาคาร
อันเป็นที่อยู่ของคน หรือสัตว์ โรงงาน หรือสถานที่ประกอบการใด ไม่มีการระบายอากาศ
การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษ หรือมีแต่ไม่มีการควบคุม
ให้ปราศจากกลิ่นเหม็น หรือละอองสารเป็นพิษอย่างเพียงพอ จนเป็นเหตุให้เสื่อม
หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายถึง (ก)
กรณีที่บ้านเรือนที่เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน หรือโรงเรือนที่เลี้ยงสัตว์
หรือโรงงาน หรือสถานประกอบการ ที่จำเป็นต้องมีระบบการระบายอากาศ หรือระบายน้ำเสีย
หรือการกำจัดสิ่งปฏิกูล น้ำเสีย น้ำโสโครก รวมทั้งระบบการควบคุมสารพิษ
ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการนั้นๆ หากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นๆ
ไม่จัดให้มีขึ้น จะมีผลทำให้เกิดความเสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
กรณีเช่นนี้ กฎหมายถือว่า เป็นการก่อเหตุรำคาญ
หรือ (ข)
กรณีที่จัดให้มีระบบดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคาร
หรือสถานที่นั้นไม่ดูแลบำรุงรักษา หรือควบคุมระบบนั้น ให้ปราศจากกลิ่นเหม็น
หรือเกิดละอองสารพิษขึ้น จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถือว่า
เป็นเหตุรำคาญ
การกระทำใดๆ
อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน
ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อม
หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายถึง
กรณีที่บุคคลใด หรือกลุ่มบุคคล หรือสถานประกอบการ กระทำการใดๆ
ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางด้านกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน ความสั่นสะเทือน
ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือสารเป็นพิษอื่นๆ เช่น การเผามูลฝอย
เผาต้นหญ้าจนเกิดเขม่า ควันเถ้า การเคาะ / ตี /ทุบโลหะ เกิดเสียงดัง การตอกเสาเข็ม
จนเกิดความสั่นสะเทือน การโม่ บดสิ่งของ หรือสีข้าวจนเกิดฝุ่น ละออง เป็นต้น
จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ต้องมีลักษณะที่กระทำการ
เป็นการประจำ จนเกิดสภาวะที่กระทบต่อ การดำรงชีพเป็นการประจำ
จนเกิดสภาวะที่กระทบต่อการดำรงชีพ โดยปกติสุขของประชาชนข้างเคียง
เหตุอื่นใด
ที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมายถึง
กรณีอื่นๆ ที่มิได้ระบุไว้ข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรณีเช่นนั้น ก็ถือว่า
เป็นเหตุรำคาญเช่นกัน
ดังนั้น
กรณีของเหตุรำคาญ จึงต้องยึดบทบัญญัติมาตรา 25 เป็นหลักในการวินิจฉัย ที่สำคัญคือ
ต้องบ่งชี้ได้ว่า การกระทำดังกล่าว อาจก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
ในการวินิจฉัย จึงจำเป็นที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ ทางด้านการสาธารณสุข การสุขาภิบาล
และการอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีหลักฐานมาตรฐาน
หรือเครื่องมือที่สามารถชี้วัดได้อย่างชัดเจน ว่ากรณีใดเป็นเหตุรำคาญ โดยสภาพจึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ในอนาคตจึงเป็นเรื่องที่นักวิชาการสุขาภิบาล นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
และนักวิชาการสาธารณสุข จะต้องร่วมกันพิจารณา กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐาน
หรือแนวทางการวินิจฉัย หรือหาเครื่องมือในการตรวจสอบ ปัญหาเหตุรำคาญที่ชัดเจนต่อไป
เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองประชาชน และปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายได้ง่ายขึ้น
2. อำนาจในการควบคุมดูแล กรณีเหตุรำคาญ
2.1
กฎหมายสาธารณสุข มาตรา 26 ได้รับรองอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ผู้หนึ่งผู้ใดดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้ได้
ห้ามมิให้ก่อให้เกิดเหตุรำคาญขึ้น
ในที่ หรือทางสาธารณะ หรือในสถานที่เอกชน
ดูแล ปรับปรุง หรือบำรุงรักษาบรรดาถนน
ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถาบันที่ต่างๆ ในเขตความรับผิดชอบของตน
ให้ปราศจากเหตุรำคาญ ซึ่งกรณีนี้ จึงครอบคลุมถึงสถานที่สาธารณะ
ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ครอบครองดูแลอยู่ด้วย ดังนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่น
จึงมีอำนาจแจ้งเป็นหนังสือให้หน่วยงานใดๆ ที่รับผิดชอบพื้นที่ใดๆ ที่เป็นสาธารณะ
ให้ดูแลรักษามิให้เกิดเหตุรำคาญได้ด้วย
ให้ดำเนินการระงับ กำจัด
และควบคุมเหตุรำคาญต่างๆ ในที่ หรือทางสาธารณะ หรือในสถานที่เอกชน
2.2
กรณีที่เกิดเหตุรำคาญในที่ หรือทางสาธารณะ กฎหมายกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจดำเนินการ ดังนี้
ออกคำสั่งเป็นหนังสือ
ให้บุคคล ซึ่งเป็นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น
ดำเนินการระงับ หรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น ภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร
ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ (มาตรา 27 วรรค 1)
ในการออกคำสั่งนั้น
จะกำหนดวิธีระงับ หรือการป้องกันเหตุรำคาญนั้นก็ได้ รวมทั้งจะกำหนดวิธีการ
เพื่อการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญขึ้น ในอนาคตอีกด้วยก็ได้ (มาตรา 27 วรรค 1)
เมื่อออกคำสั่งแล้ว ปรากฎว่า
ผู้รับคำสั่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด
และกรณีเหตุรำคาญดังกล่าว อาจเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจเข้าไปจัดการตามความจำเป็น
เพื่อการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญเช่นนั้นขึ้นอีก ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดให้บุคคลที่เป็นต้นเหตุ
หรือเกี่ยวข้องกับการก่อ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น เป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย
สำหรับการจัดการนั้นของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (มาตรา 27 วรรค 2)
2.3
กรณีเกิดเหตุรำคาญในสถานที่เอกชน กฎหมายกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจดำเนินการได้ ดังนี้
ออกคำสั่งเป็นหนังสือ
ให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น ดำเนินการระงับเหตุรำคาญ
ภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร ตามสภาพของปัญหาได้ (มาตรา 28 วรรค 1)
ในการออกคำสั่งนั้น
จะกำหนดวิธีการระงับ หรือการป้องกันเหตุรำคาญนั้นก็ได้
รวมทั้งจะกำหนดวิธีการเพื่อการป้องกัน มิให้เกิดเหตุรำคาญ ขึ้นในอนาคตอีกด้วยก็ได้
(มาตรา 28 วรรค 1)
กรณีที่ผู้เป็นเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองสถานที่ได้รับคำสั่งนั้น มิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่น
จะมีอำนาจดำเนินการต่อไปได้ โดยแยกเป็น 2 กรณีคือ
กรณีเหตุรำคาญนั้น
มิได้ก่อให้เกิดสภาวะที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
อาจเข้าไประงับเหตุรำคาญนั้นเอง หรือจัดการตามความจำเป็น
เพื่อการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญเช่นนั้นขึ้นอีก ทั้งนี้กฎหมายกำหนดว่า
หากเหตุรำคาญนั้นเกิดจากการกระทำ หรือการละเลย หรือการยินยอม ของผู้เป็นเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น ให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น
เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
กรณีเหตุรำคาญนั้น
ก่อให้เกิดสภาวะที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพ กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ออกคำสั่งเป็นหนังสือ ห้ามมิให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครอง ใช้ หรือยินยอม
ให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมด หรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจ
แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ว่า ได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้ว
3. โทษความผิดของผู้ก่อเหตุรำคาญ
โดยที่เหตุรำคาญเป็นเรื่องที่ต้องการควบคุม
ให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข และป้องกันมิให้มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
โดยสภาพของเรื่อง จึงมิได้พุ่งเป้าไปที่กรณี ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว
หากแต่มุ่งให้ความสนใจ ต่อการกระทำอันอาจทำให้
เกิดสภาวะที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่ง คือ
ทำให้เกิดสภาวะที่บุคคล เกิดความรำคาญ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพทางจิตใจ เช่น
นอนไม่หลับ เพราะเสียงดัง กลิ่นเหม็นจนหายใจไม่ออก เกิดความสั่นสะเทือน
จนทำให้ที่อยู่อาศัยเกิดแตกร้าว เผาสิ่งของ หรือมูลฝอยจนเกิดควัน เขม่า ฟุ้งกระจาย
รบกวนคนอื่น เป็นต้น
ตามหลักการเหตุรำคาญ
เป็นเรื่องที่กระทบต่อการดำรงชีวิตโดยปกติสุข ประกอบกับสังคมไทย
มีลักษณะที่ถ้อยทีถ้อยอาศัย ที่ไม่ชอบฟ้องร้อง หรือเป็นความกัน
จึงมักไม่มีการร้องเรียน แม้ว่าจะเกิดเหตุรำคาญแล้ว
เว้นแต่เป็นกรณีที่เหลืออดเหลือทนเสียแล้ว หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นกรณีที่โกรธกัน
ก็จะร้องเรียนกันทุกเรื่อง นี่คือ ความไม่พอดีของสังคมไทย
ความผิดของเรื่องนี้
จึงเน้นไปที่การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มิได้เน้นที่การกระทำที่เป็นเหตุรำคาญ เพราะกฎหมายประสงค์ จะให้มีการแก้ไข
และเชื่อว่า บุคคลโดยทั่วไป ไม่มีเจตนา หรือจงใจที่จะก่อเหตุรำคาญต่อผู้อื่น
หมายความว่า การก่อเหตุรำคาญใดๆ
ต้องได้รับการวินิจฉัยจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเสียก่อน (ซึ่งโดยทั่วไปต้องอาศัย
เจ้าพนักงานสาธารณสุขที่มีความรู้ ด้านการสาธารณสุข หรือการสุขาภิบาล
หรือการอนามัยสิ่งแวดล้อม) เมื่อพบว่า บุคคลใดได้ก่อเหตุรำคาญขึ้น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็จะออกคำสั่ง ให้ปรับปรุงแก้ไข หรือระงับเหตุรำคาญนั้น
หากไม่ปรับปรุงแก้ไข โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จึงจะมีโทษความผิด ตามมาตรา 74
กล่าวคือ มีความผิดฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยไม่มีเหตุ
หรือข้อแก้ตัวอันสมควร ก็จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งกรณีที่ขัดคำสั่ง ห้ามมิให้ใช้
หรือยินยอมให้ใช้สถานที่เอกชน ที่เกิดเหตุรำคาญ
ที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน
2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับกรณีเกิดเหตุรำคาญในที่
หรือทางสาธารณะ และเหตุรำคาญนั้น มิได้ก่อให้เกิดสภาวะอันตรายอย่างร้ายแรง
ต่อสุขภาพ กฎหมายก็มิได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องดำเนินการอย่างไร
เพียงแต่ลงโทษผู้กระทำ หรือก่อเหตุแล้วจะไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวเท่านั้น
เมื่อมีกรณีเหตุรำคาญเกิดขึ้น
ประชาชนที่อยู่ข้างเคียงที่ประสบเหตุ หรือผู้ที่ไปประสบพบเห็น
มีสิทธิที่จะร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทุกระดับ
หรือหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขของหน่วยงาน ที่ได้รับการร้องเรียน
ต้องดำเนินการตรวจสอบกรณีเหตุร้องเรียนนั้น ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมักขอให้
เจ้าพนักงานสาธารณสุขเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งการตรวจสอบต้องพิจารณาว่า
เป็นเหตุรำคาญหรือไม่
ถ้าไม่เหตุรำคาญ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้ร้องทราบ (ถ้าผู้ร้องแจ้งที่อยู่ให้ทราบ)
แล้วแต่กรณี เรื่องร้องเรียนนี้ถือเป็นอันยุติ
แต่ถ้าเป็นเหตุรำคาญ
ต้องพิจารณาว่า เหตุรำคาญนั้น เกิดขึ้นในที่ หรือทางสาธารณะ
หรือเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน และเกิดขึ้นเขตท้องถิ่นใด
แล้วดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจสอบพบว่า
เป็นเหตุรำคาญ เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีหน้าที่
ต้องเสนอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีอำนาจในเขตท้องถิ่นนั้น
ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ก่อเหตุนั้น (กรณีที่เกิดในที่ หรือทางสาธารณะ)
หรือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่เอกชน (กรณีที่เกิดในสถานที่เอกชน)
เพื่อให้ปรับปรุงแก้ไข หรือระงับเหตุรำคาญนั้น ซึ่งคำสั่งนั้นต้องมีสาระที่สำคัญ
ดังนี้
ต้องมีชื่อหน่วยงาน
ชื่อเจ้าพนักงาน พร้อมตำแหน่ง และวันเดือนปีที่ออกคำสั่ง
ต้องอ้างอิงข้อกฎหมาย
ที่ให้อำนาจในการออกคำสั่งนั้น เช่น อาศัยอำนาจตามมาตรา ..... แห่งพระราชบัญญัติ
..... เป็นต้น
ต้องอธิบายข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ต้องออกคำสั่ง
ตามที่กฎหมายกำหนด
ต้องสั่งให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
หรือระงับ หรือกำหนดวิธีการเพื่อการป้องกัน เหตุรำคาญในอนาคต ตามหลักวิชาการ
ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ข้อเท็จจริงเรื่องนั้น พร้อมนี้ต้องกำหนดระยะเวลา
ที่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้น ตามความเหมาะสมด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา
ความยากง่ายในการแก้ไขปัญหานั้นๆ
กรณีที่คำสั่งใด
ที่ผู้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องแจ้งสิทธิ และระยะเวลาที่จะอุทธรณ์ได้
ต่อบุคคลใดไว้ด้วย ในกรณีของเหตุรำคาญ ซึ่งกฎหมายสาธารณสุข
กำหนดให้ผู้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น
เมื่อครบกำหนดเวลาที่ให้ไว้ในคำสั่งนั้น
เจ้าพนักงานสาธารณสุขต้องไปตรวจสอบว่า มีการปรับปรุงแก้ไข หรือไม่อย่างไร
กรณีที่ไม่มีการแก้ไข โดยเหตุผลอันสมควร ก็เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานฯ
ที่จะผ่อนผันระยะเวลาตามข้อเท็จจริงได้ ตามความเหมาะสม
แต่หากเป็นกรณีที่ผู้รับคำสั่งไม่ใส่ใจ
หรือไม่นำพาต่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็อาจดำเนินการได้
2 กรณี คือ
กรณีที่เหตุรำคาญนั้นเกิดในที่
หรือทางสาธารณะ เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุขต้องพิจารณาว่า
เหตุรำคาญนั้นยังคงเกิดขึ้น และก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพหรือไม่?
ถ้าไม่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง
ก็ให้ดำเนินการลงโทษผู้ก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น
โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจดำเนินการเปรียบเทียบปรับ หรือดำเนินคดีทางศาล
แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3
ถ้าเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ร่วมกับเจ้าพนักงานสาธารณสุข ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
เพื่อมิให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนต่อไป แล้วคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมด
จากผู้ที่ก่อเหตุรำคาญนั้น แล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการ เปรียบเทียบปรับ
หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3
และหากผู้ที่ก่อเหตุไม่ยินยอมเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ก็สามารถฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายทางศาลได้ด้วย
กรณีที่เหตุรำคาญนั้นเกิดในสถานที่เอกชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ต้องพิจารณาว่า เหตุรำคาญนั้นยังคงเกิดขึ้น
และก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพหรือไม่?
หากเหตุรำคาญยังคงเกิดขึ้น
แต่ไม่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข
อาจร่วมกันดำเนินการแก้ไขในสถานที่เอกชนนั้นได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายจากเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น (ในกรณีที่เป็นเพราะการละเลย
หรือยินยอมให้กระทำจากผู้เป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองนั้น)
แล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการลงโทษ โดยการเปรียบเทียบปรับ
หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3 และหากผู้ที่ก่อเหตุ
ไม่ยินยอมเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็สามารถห้องเรียก
ค่าใช้จ่ายทางศาลได้ด้วย
หากเหตุรำคาญยังคงเกิดขึ้น
และเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพด้วย
นอกจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการลงโทษ โดยการเปรียบเทียบปรับ
หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3 ต่อเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองสถานที่เอกชนนั้นแล้ว เจ้าพนักงานสาธารณสุข
อาจเสนอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ออกคำสั่งเป็นหนังสือ ห้ามิให้ใช้
หรือยินยอมให้บุคคลใด ใช้สถานที่นั้นทั้งหมด หรือบางส่วน
จนกว่าจะได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้ ซึ่งกรณีนี้ก็จะมีผลคล้ายกับ
การสั่งให้หยุดดำเนินกิจการนั่นเอง
11.7กิจกรรมที่กิจกรรมสำรวจเหตุรำคาญในชุมชน
หน่วยงาน..................................................
ก. ข้อมูลการผลตรวจวัดเสียง
(กรณีเหตุร้องเรียนจากเสียงดัง)
1.
เครื่องตรวจวัดเสียง ยี่ห้อ......................................รุ่น............................
serialNo............................
2.
บริเวณที่ตั้งเครื่องมือ
.........................................................................................................................
-
การตรวจวัดเสียงขณะไม่มีการรบกวน และระดับเสียงพื้นฐาน ที่บริเวณ
........................................
-
การตรวจวัดเสียงขณะมีการรบกวน ที่บริเวณ
...................................................................................
3.
วัน/เดือน/ปี ที่ติดตั้งเครื่องมือ
...........................................................................................................
4.ผลการตรวจวัด
มีรายละเอียดดังนี้
4.1
ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน (LAeq 5
นาที)..........................................................เดซิเบล เอ
4.2
ระดับเสียงพื้นฐาน (LA90).......................................................................................เดซิเบล
เอ
4.3
ระดับเสียงขณะมีการรบกวน (LAeq 1 ชั่วโมง ;กรณีเสียงต่อเนื่อง) .............................เดซิเบล เอ
4.4 ระดับเสียงขณะมีการรบกวน
(LAeq
; กรณีเสียงต่อเนื่องไม่ถึง 1 ชั่วโมง) ช่วงเวลา...............นาที
ระดับเสียง.......................................เดซิเบล
เอ
4.4
ระดับเสียงขณะมีการรบกวน (กรณีเสียงไม่ต่อเนื่อง
ให้ตรวจวัดทุกช่วงเวลาที่เกิดเสียงดังใน 1 ชั่วโมง) - ช่วงที่ 1 ระยะเวลา ........................นาที
ระดับเสียงดัง......................................เดซิเบล เอ
- ช่วงที่ 2 ระยะเวลา
........................นาที
ระดับเสียงดัง......................................เดซิเบล เอ
- ช่วงที่ 3 ระยะเวลา ........................นาที
ระดับเสียงดัง......................................เดซิเบล เอ
- ช่วงที่ 4 ระยะเวลา
........................นาที
ระดับเสียงดัง......................................เดซิเบล เอ
ข้อเสนอแนะอื่น
ๆ ...............................................................................................................................
ข.
ข้อมูลการเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง (กรณีเหตุร้องเรียนจากฝุ่นละออง)
1.
เครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง
ยี่ห้อ....................................รุ่น.......................Serial
No.................
2.
บริเวณที่ตั้งเครื่องมือ
........................................................................................................................
3.
วัน/เดือน/ปี ที่ติดตั้งเครื่องมือ ...............................................วันเก็บเครื่อง.......................................
4.ข้อมูลการเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง
มีรายละเอียดดังนี้
4.1
น้ำหนักกระดาษกรองก่อนเก็บตัวอย่าง...............................................................กรัม
4.2
น้ำหนักกระดาษกรองหลังเก็บตัวอย่าง
..............................................................กรัม
4.3
อัตราการไหลของอากาศ...............................................................................ลูกบาศก์เมตร/นาที
4.4
ระยะเวลาที่เก็บอากาศรวม.................................................................................นาที
4.3
อุณหภูมิเฉลี่ยขณะตรวจวัด.................................................................................องศาเซลเซียส
4.4
ระดับความดันบรรยากาศเฉลี่ยขณะตรวจวัด ....................................................มิลลิเมตรปรอท
4.5
ทิศทางลม.....................................................................................................................................
4.6
ความเร็วลม .......................................................................................................เมตรต่อวินาที
5.ปริมาณฝุ่นละอองที่ได้จากการคำนวณ.......................................................มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ค.
ข้อมูลการเก็บตัวอย่างกลิ่น/ไอระเหยสารเคมี (กรณีเหตุร้องเรียนจากกลิ่นเหม็น)
ค.1.
กรณีเก็บตัวอย่างอากาศแบบไม่ทราบชนิด ประเภท สารเคมี
1.
เครื่องเก็บตัวอย่างกลิ่น
ยี่ห้อ.......................................รุ่น.............................Serial
No....................
2. วัน/เดือน/ปี
ที่ติดตั้งเครื่องมือ
...................................วันเก็บเครื่อง...................................................
3.ข้อมูลการเก็บตัวอย่างอากาศ
มีรายละเอียดดังนี้
3.1 เก็บตัวอย่างที่บริเวณ
........................................................................................................ระดับสารอินทรีย์ระเหยง่าย
(TVOCs)
......................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง ....................นาทีหรือชม.
3.2 เก็บตัวอย่างที่บริเวณ
........................................................................................................ระดับสารอินทรีย์ระเหยง่าย
(TVOCs)
.......................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง ....................นาทีหรือชม.
3.3 เก็บตัวอย่างที่บริเวณ
........................................................................................................ระดับสารอินทรีย์ระเหยง่าย
(TVOCs)
.........................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง ..................นาทีหรือชม.
ค.2.
กรณีเก็บตัวอย่างอากาศแบบทราบชนิด ประเภท สารเคมี
1.
เครื่องเก็บตัวอย่างกลิ่น
ยี่ห้อ.....................................
รุ่น...........................Serial No.....................
2.
วัน/เดือน/ปี ที่ติดตั้งเครื่องมือ
..........................................วันเก็บเครื่อง............................................
3.ข้อมูลการเก็บตัวอย่างอากาศ
มีรายละเอียดดังนี้
3.1
เก็บตัวอย่างที่บริเวณ
...................................................................................................................
-
ชนิดสารเคมี..........................ระดับ.................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
-
ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
-
ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
- ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
3.2
เก็บตัวอย่างที่บริเวณ
...................................................................................................................
- ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
-
ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
- ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
-
ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
3.3
เก็บตัวอย่างที่บริเวณ ...................................................................................................................
-
ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
- ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
-
ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
- ชนิดสารเคมี...........................ระดับ................ppm ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง.................นาทีหรือชม.
ค.3.
กรณีเก็บตัวอย่างอากาศด้วยปั๊มดูดอากาศ
เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
1.
เครื่องเก็บตัวอย่างกลิ่น
ยี่ห้อ......................................................รุ่น.................................................
2.
วัน/เดือน/ปี ที่ติดตั้งเครื่องมือ
....................................วันเก็บเครื่อง..................................................
3.
ข้อมูลการเก็บตัวอย่างอากาศ มีรายละเอียดดังนี้
3.1 บริเวณที่เก็บตัวอย่างอากาศ
............................................................................................
-
อัตราการไหลอากาศของปั๊มดูดอากาศ..........................................................................ลิตรต่อนาที
-
ระยะเวลาการเก็บตัวอย่างอากาศ..............................................................................................นาที
-
ชนิดของหลอดดูดซับอากาศ.............................................................................................................
-
ชนิด/ประเภทของสารเคมีที่ต้องการเก็บตัวอย่าง (ระบุ)
1.
.............................................................. 2.
..............................................................
3.2 บริเวณที่เก็บตัวอย่างอากาศ
............................................................................................
-
อัตราการไหลอากาศของปั๊มดูดอากาศ..........................................................................ลิตรต่อนาที
-
ระยะเวลาการเก็บตัวอย่างอากาศ..............................................................................................นาที
-
ชนิดของหลอดดูดซับอากาศ.............................................................................................................
-
ชนิด/ประเภทของสารเคมีที่ต้องการเก็บตัวอย่าง (ระบุ)
1. ..............................................................
2.
..............................................................
3.2 บริเวณที่เก็บตัวอย่างอากาศ
............................................................................................
- อัตราการไหลอากาศของปั๊มดูดอากาศ..........................................................................ลิตรต่อนาที
-
ระยะเวลาการเก็บตัวอย่างอากาศ..............................................................................................นาที
-
ชนิดของหลอดดูดซับอากาศ.............................................................................................................
-
ชนิด/ประเภทของสารเคมีที่ต้องการเก็บตัวอย่าง (ระบุ)
1.
............................................................. 2. ..............................................................
4.
หน่วยงานที่รับตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ..............................................................................
ลงชื่อ..................................................ผู้ตรวจสอบ/ผู้เก็บข้อมูล
(...............................................)
ตำแหน่ง
...........................................................
วันที่/เดือน/ปี......................................................
11.8คำถามประจำบทที่ 11
1.จงบอกบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเมื่อมีประชาชนเข้ามาร้องเรียนปัญหาเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในตำบล
ที่ท่านปฏิบัติงานอยู่
1.1หน้าที่ของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเมื่อมีผู้มาแจ้งเหตุรำคาญ
1.2 หน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเมื่อเกิดเหตุรำคาญขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ
2. จงบอกแนวทางการจัดการเหตุรำคาญอย่างสร้างสรรค์ในเหตุต่อไปนี้
2.1 กลิ่นเหม็นจากถังขยะหน้าบ้าน
2.2 สุนัขชอบเห่าเวลาเดินผ่าน
2.3 จากเสียงวิทยุของนักศึกษาบนหอพักชอบเปิดเพลงฟังตอนกลางคืน
2.4 รำคาญเสียงสุนัขเห่าหอนตอนกลางคืน
ทำให้นอนไม่หลับ
2.5 รำคาญทางเดินผ่านที่มีผู้นำสุนัขออกมาถ่ายมูลอุจจาระทิ้งไว้
ทำให้อุจาดตา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น