แผนการสอน
รายวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย
บทที่ 1
แนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ
1.1 แนวคิดและหลักการ
1.2 นิยามสิ่งแวดล้อม
1.3 การจำแนกสิ่งแวดล้อม
1.4 สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
1.5 ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
1.6 การควบคุม ป้องกันและแก้ไข
1.7 บทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข
1.8 กิจกรรมที่ 1 ปฏิบัติการตามหลักการ green and clean
1.9 แบบฝึกหัดบทที่ 1
1.1แนวคิดและหลักการ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วจนระบบนิเวศน์วิทยาและทรัพยากรธรรมชาติขาดความสมดุล
เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ
สถานการณ์สิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มจะมีความรุนแรงมากขึ้น
ซึ่งมีผลกระทบทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (2560
– 2564)เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง
มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองตอบต่อการบรรลุ
ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว
และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม
ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ
ขับเคลื่อนโดยใช้ยุทธศาสตร์ที่ 4
ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ได้มีการปรับปรุงแนวทางการพัฒนา โดยให้ความสำคัญในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา
ได้เน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนโดยการฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกของประชาชน
ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตามเราต้องยอมรับว่าปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมยังคงมีอยู่
มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ปัญหาที่เกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาการหาพื้นที่เพื่อใช้สำหรับกำจัดของเสีย ซึ่ง จากเหตุการณ์และข้อร้องเรียนต่าง ๆ
ทำให้พอสรุปสาเหตุที่สำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ คือ ประชาชนขาดการมีส่วนร่วม
ขาดจิตสำนึกที่จะรับผิดชอบต่อส่วนรวม คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนเป็น หลัก
ขาดระเบียบวินัย
นอกจากนี้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ของ
ประชาชน เช่น มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำและขยะมูลฝอย
ซึ่งถ้าไม่มีแนวทางที่ดีในการจัดการ
หรือแก้ไขแล้วนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในที่สุด
สภาพปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติจะมีลักษณะไม่แตกต่างกัน ได้แก่
ปัญหาด้านป่าไม้ปัญหาด้านดิน ปัญหาการใช้ที่ดิน ปัญหาการบุกรุก
พื้นที่สาธารณประโยชน์ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล
ปัญหาอากาศเสีย ปัญหาน้ำเสีย และปัญหาเสียงรบกวนเป็นต้น
1.2
จำนวนชั่วโมงเรียน ภาคบรรยาย 2 ชั่วโมง
1.3
จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อม
เช่น ความหมาย ความสำคัญ ความสัมพันธ์ของอนามัยสิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศ
และขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม นโยบายการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมระดับต่างๆ
1.4จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อนักศึกษาเรียนวิชานี้แล้ว
นิสิตมีความรู้ ความสามารถและทักษะ ดังนี้ เข้าใจแนวคิด
ได้หลักการและนโยบายด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
สามารถบอกความหมายและความสำคัญของอนามัยสิ่งแวดล้อม สามารถอธิบาย
ความสัมพันธ์ของอนามัยสิ่งแวดล้อม และขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม สามารถอธิบายนโยบายการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมระดับต่างๆได้
จัดการคุณภาพน้ำได้ จัดการขยะมูลฝอยได้ จัดการสิ่งขับถ่ายได้ จัดการสุขาภิบาลอาหารได้
มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1.5
เนื้อหาสาระ
ความหมาย
หลักการและนโยบายด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม สามารถบอกความหมายและความสำคัญของอนามัยสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญ ความสัมพันธ์ของอนามัยสิ่งแวดล้อม และขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของอนามัยสิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศ
ขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 กับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม แผน/นโยบายสิ่งแวดล้อมระดับต่างๆ/กระทรวง/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล
1.6
กิจกรรมการเรียนการสอน
ภาคบรรยาย ทำการสอนในห้องเรียนแบบบรรยาย
4
ชั่วโมง ในหัวข้อที่ 1 - 6
ภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่มรายจังหวัดแล้วศึกษาข้อมูลปัญหาสิ่งแวดล้อมของจังหวัดในปัจจุบัน
เน้นข้อมูลที่ได้รับจากสื่อต่างๆ เช่นข่าวจากหนังสือพิมพ์ จากรายงานของจังหวัด
รายงานของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม
พร้อมทั้งศึกษานโยบายด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด วิเคราะห์ความสอดคล้องกับนโยบายอนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศ
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน
ตัวแทนกลุ่มนำเสนอกลุ่มจังหวัดละ 10 นาที
หลังจากนั้นคัดเลือกตัวแทนกลุ่มที่เหมาะสมที่สุดมาสรุปเป็นบทเรียนและสร้างนโยบายสิ่งแวดล้อมระดับตำบลที่สอดคล้องกันของตนเอง ส่งเป็นรายงานเดี่ยวเป็นใบงานที่ 1
1.7
สื่อการเรียนการสอน
แผ่นสไลด์บรรยาย (power point)
วีดิทัศน์เกี่ยวกับความเป็นมาของสิ่งแวดล้อมโลก กำเนิดโลก
และธรรมชาติวิทยา
1.8
เอกสารประกอบการสอน
เอกสารประกอบการสอน
ประกอบด้วยรูปภาพและตารางประกอบคำบรรยาย
1.9
การวัดผลและประเมินผล
สอบเตรียมความพร้อมก่อน-หลังเรียนประจำสัปดาห์
สรุปเนื้อหาที่เรียน/ใบงาน/ความรู้ที่ได้รับลงสมุดบันทึกท้ายชั่วโมงบรรยาย
การเข้าชั้นเรียน/การส่งใบงานตามเวลากำหนด
สอบข้อเขียนกลางภาค ปลายภาค
1.10การวิพากย์ข้อสอบ
มีการเฉลยข้อสอบ
และวิพากย์ข้อสอบ โดย อาจารย์ประจำวิชา
ตัวแทนนักศึกษาที่สอบได้คะแนนสูง 10 ลำดับแรก ตัวแทนนักศึกษาที่สอบได้คะแนนต่ำ 10
ลำดับสุดท้าย ตัวแทนคณะ กรรมการวิชาการประจำหลักสูตรสาธารณสุขชุมชน ผู้แทนนักศึกษาประจำหลักสูตร ๆ ละ 2 คน
ร่วมกันวิพากย์ข้อสอบไล่ ตามหัวข้อของหลักสูตร และความสอดคล้องกับสมรรถนะของหลักสูตร
ตลอดจนความยากง่าย
1.11
พัฒนารายวิชา
มีนำหัวข้อในบทที่ 1
ไปทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียนด้วยกัน โดยการสร้างบล็อกของตนเอง
แล้วตั้งประเด็นคำถามชวนให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายให้ความเห็น
ตามทัศนะของตนเอง รวมทั้งการเสนอแนวคิด
วิธีการ ในการวิเคราะห์ ในแง่มุมเชิงวิชาการ
วิทยาศาสตร์ และสหสาขา โดยอาจารย์ประจำวิชาจัดเวที
มีการชี้แจงเพื่อให้นักศึกษาได้มีความกระตือรือร้น
ในการพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาการของตน ให้เข้มแข็ง ในหัวข้อที่ 1
มีการประกาศรายชื่อผู้ที่สามารถพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาการ ได้จนเป็นที่น่าสนใจของเพื่อนร่วมชั้นเรียน
และเป็นแบบอย่างที่ดีขององค์ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม
1.12
การทวนสอบ
โดยการสร้างระบบการทวนสอบรายวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมร่วมกับ
นักศึกษา
ในความรู้พื้นฐานเรื่องสิ่งแวดล้อม
มีระบบเคเอ็ม ที่สร้างจาก blogger.com ในเรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อม
มีการลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกของรายวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
โดยให้นักศึกษาที่เรียนใช้เมล์ของตนสมัครเข้าใช้บริการ โดยอาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบ
และประเมินได้จาก ความถี่ในการเข้าใช้เว็บบล็อกของนักศึกษา และสามารถติชม ตักเตือน เพิ่มเติมความรู้ให้กับนักศึกษาแต่ละคนโดยการใช้การสื่อสารทางระบบเมล์
และfacebook.com
1.13
ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
แบบประเมินผลการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี
แบบประเมินผลการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ
บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ
1.1 แนวคิดและหลักการ
1.2 นิยามสิ่งแวดล้อม
1.3 การจำแนกสิ่งแวดล้อม
1.4 สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
1.5 ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
1.6 การควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
1.7 บทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข
1.8 กิจกรรมที่ 1 ปฏิบัติการตามหลักการ green and clean
1.9 แบบฝึกหัดบทที่ 1
1.1แนวคิดและหลักการ
ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก
เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และด้านสาธารณสุข อุณหภูมิที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อนยังเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคและการเจ็บป่วย
ทำให้เกิดการระบาดของโรค ทั้งที่เป็นโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ เกิดการเพิ่มขึ้นของพาหะนำโรค
เกิดปัญหาด้านการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ ปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านโภชนาการจากการขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบทั้งทางตรง
และทางอ้อมต่อสุขภาพของมนุษย์ ในแต่ละปีจะพบว่ามีการเสียชีวิตของประชาชนราว 160,000
คน เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
เรื่องปัญหาการลดโลกร้อนไม่สามารถให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งลุกขึ้นมาแก้ไขได้
แต่จะต้องร่วมมือกันผนึกกำลังจากทุกฝ่ายและทุกภาคส่วน ความเชื่อมโยงของงานด้านสาธารณสุขที่นำไปสู่การลดปัญหาโลกร้อน
ก็คือการสุขาภิบาลและการอนามัยสิ่งแวดล้อม
โดยเริ่มต้นจากการปรับกระบวนทัศน์หรือวิธีคนใหม่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูล จากเดิมของเสีย
คือ สิ่งที่น่ารังเกียจที่ต้องมุ่งกำจัดให้หมดไปปรับวิธีคิดใหม่เป็นของเสีย คือ ทรัพยากรใหม่ที่มีคุณค่าที่มุ่งการใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
และผลที่ได้จะทำให้ก๊าซเรือนกระจกจากภาคของเสียลดลงซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการลดโลกร้อนด้วย
เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมต่อการแก้ไขและบรรเทาปัญหาต่างๆ
จากภาวะโลกร้อน ทุกภาคส่วนจึงต้องเร่งให้ความรู้กับประชาชนในการปรับตัวเพื่อการอยู่ให้ได้กับภาวะโลกร้อน
รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นตัวการของปัญหาโลกร้อน โดยได้มอบเป็นนโยบายให้กรมอนามัยจัดทำ
"โครงการสาธารณสุขรวมใจ
รณรงค์ลดโลกร้อน ด้วยการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"
ขึ้นโดยมีเกณฑ์มาตรฐาน 5
ข้อด้วยกัน คือ
1.การจัดการขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ
2.ลดการใช้พลังงานทั่วไป และหันมาใช้พลังงานชีวมวลกันมากขึ้น
3.มีการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาล ที่มีความเหมาะสม
4.มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ส่งเสริมการใช้น้ำหมักชีวภาพเข้ามาช่วยทำความสะอาด
5.อาหารที่บริโภคในโรงพยาบาลจะต้องเป็นอาหารที่ปลอดสารพิษ รณรงค์บริโภคอาหารที่ได้จากท้องถิ่น
6.พัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
โดยเริ่มที่ระดับโรงพยาบาล ให้โรงพยาบาลเป็นฐานปฏิบัติการ เพราะตั้งอยู่ในทุกชุมชน
และเป็นหน่วยงานที่ต้องให้การบริการประชาชนทั้งงานด้านป้องกัน และการรักษาสุขภาพ ในแต่ละวันจะมีกิจกรรมเป็นจำนวนมากทั้งจากประชาชนผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล
การดำเนินกิจกรรมในแต่ละวัน ได้ส่งผลให้เกิดของเสียเป็นจำนวนมาก ทั้งเศษอาหารจากตึกผู้ป่วย
โรงอาหาร ร้านอาหาร สิ่งปฏิกูลที่เกิดจากการขับถ่าย และน้ำเสีย ที่เกิดขึ้นจากการใช้ของผู้ป่วย
ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ ตลอดจนมูลฝอยติดเชื้อหรือการใช้สารเคมี ของเสียจากกิจกรรมดังกล่าวล้วนก่อให้เกิดก๊าซที่ส่งผลต่อการเกิด
"ภาวะโลกร้อน" ทั้งสิ้น
หากทำเรื่องนี้ขึ้นและประสบผลสำเร็จก็จะเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน และยังนำไปสู่การขยายผลในชุมชน
ซึ่งจะก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมขึ้นภายในท้องถิ่นด้วย โดยจะใช้หลักการ "Green &
Clean" เป็นแนวทางดำเนินโครงการฯ ซึ่งคำว่า "Green"
ประกอบด้วย
1.G-Garbage คือ
การจัดการมูลฝอย และการใช้ประโยชน์จากสิ่งปฏิกูล
2.R-Rest room คือ การจัดการส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐานส้วมสาธารณะไทย หรือ HAS
3.E-Energy คือ
การลดใช้พลังงาน และใช้พลังงานทดแทนจากชีวภาพ หรือชีวมวล
4.E- Environment คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดโลกร้อน
และเอื้อต่อสุขภาพ
5. N- Nutrition คือ รณรงค์การบริโภคอาหารปลอดสารพิษ
การใช้ผักพื้นบ้าน และอาหารพื้นเมือง ส่วน
คำว่า
"Clean"
กลยุทธ์การดำเนินงานประกอบด้วย
1.C-Communication
คือ การสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจ
2.L-Leader
คือ การเป็นผู้นำเพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินการ
3.E-Effectiveness
คือ การบังเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ
4.A-Activity
คือ กิจกรรมสร้างจิตสำนึกอย่างมีส่วนร่วมและ
5.N-Networking
คือ การร่วมมือกับภาคีเครือข่าย
หลักการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน
และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเน้นในเรื่องของการจัดการของเสีย หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
และสิ่งแวดล้อม แต่จะเป็นการใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ด้วยแนวคิดและหลักการที่ว่า
สิ่งปฏิกูลไม่ใช่ของเสียแต่เป็นทรัพยากร ตัวอย่างเช่น การนำสิ่งปฏิกูลไปผลิตก๊าซชีวภาพ
หรือหมักในระบบปิดไม่ใช้ออกซิเจนอย่างน้อย 28 วันเชื้อโรคและไข่พยาธิจะตายหมด
ได้กากตะกอนเป็นปุ๋ย ซึ่งมีคุณค่าที่เหมาะสมกับพืช เป็นต้น
1.2
นิยามสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม หมายความถึง สิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นอยู่รอบ
ๆตัวเรา มนุษย์ สัตว์ หรือ สิ่งที่กล่าวถึงและทั้งที่มีลักษณะทางกายภาพที่เห็นได้และไม่สามารถจะเห็นได้
1.3
การจำแนกสิ่งแวดล้อม
1.3.1การจำแนกตามองค์ประกอบเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่
1)
สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ (Physical Environment) หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่มีองค์ประกอบเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ดิน
น้ำ ลม แสงแดด เป็นต้น
2) สิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ
(Biological Environment) หมายถึง คุณลักษณะสิ่งแวดล้อมที่มีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต
เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ รวมถึงมนุษย์ด้วย ซึ่งมนุษย์มีบทบาทที่สำคัญทั้งในการช่วยค้ำจุน
และในการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยกันเอง
3)
สิ่งแวดล้อมทางด้านเคมี ( Chemical Environment ) หมายถึง คุณลักษณะสิ่งแวดล้อมที่มีสารเคมีเป็นองค์ประกอบ เช่น แร่ธาตุ
โลหะ อโลหะ สารประกอบเคมีต่างๆ เป็นต้น
4)
สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม ( Social Environment ) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มี
ความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในด้านการใช้ชีวิตในสังคม
รวมถึงพฤติกรรม จารีตประเพณี และวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน เช่น ประเพณีทางศาสนา
เป็นต้น
1.3.2 จำแนกตามลักษณะตามเกิด เป็น 2 ลักษณะ
1)
สิ่งแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติ ( Natural
Environments ) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น ดิน
น้ำ อากาศ จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ เป็นต้น
2)
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ( Man-made
Environments ) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย
ยารักษาโรค อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
1.3.3 จำแนกตามการมีชีวิต เป็น 2 ลักษณะ
1)
สิ่งแวดล้อมมีชีวิต (Biotic Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ รวมถึงมนุษย์ด้วย
2)
สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น
เช่น อากาศ น้ำ แสงสว่าง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
1.4 สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
เมื่อจำนวนประชากรมากขึ้น ความต้องการใช้สิ่งของต่าง
ๆ ก็มากขึ้นตามมา ซึ่งมนุษย์ก็ได้ใช้ทรัพยากรมากขึ้นและอย่างรวดเร็ว การขุดค้นหาและนำทรัพยากรมาใช้มากขึ้นนี้
มนุษย์มักจะได้กระทำโดยไม่ได้ระมัดระวังถึงผลเสียที่จะตามมาและมักจะได้กระทำการอย่างไม่สนใจต่อการหมดสิ้น
หรือเสื่อมสภาพของทรัพยากร อันทำให้เกิดเสียสมดุลธรรมชาติ เกิดมลพิษทางสภาวะแวดล้อม
กลายเป็นปัญหาสะสมพอกพูนขึ้นมาซึ่งได้แก่
1)
การใช้ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการอยู่อาศัย เพื่อการเกษตร
มีการตัดต้นไม้ทำลายป่าและยังทำลายบางสารอาหารบริเวณหน้าดิน
2)
การพัฒนาของมนุษย์ มนุษย์ มีความสามารถอย่างมากมายในการค้นหาวิธีการที่จะพัฒนาให้มนุษย์เองได้ดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบาย
ในการพัฒนาต่าง ๆ เหล่านี้มนุษย์ก็ได้สร้างสรรค์ทำสิ่งต่าง ๆ มาสนองความต้องการของตนอย่างมหาศาล
จากเพียงเพื่อช่วยผ่อนแรงแล้วก็เปลี่ยนเป็นการค้นหาความสะดวกสบาย และกลายเป็นความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย
แต่มนุษย์ก็ยังไม่ยอมหยุดยั้งการพัฒนา ยังคงตักตวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติอย่างจริงจัง
ดังนั้นการพัฒนาบางอย่างของมนุษย์ไม่ได้คิดถึงผลกระทบซึ่งจะเกิดขึ้นกับธรรมชาติจึงเกิดเป็นการทำลายขึ้นมา
3) การพัฒนาอุตสาหกรรมหรือการพัฒนาเกษตรกรรมก็ตาม
ได้มีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างมากมายจนเกิดเป็นการทำลายธรรมชาติ เช่น การขุดแร่
การสร้างเขื่อน มีส่วนทำให้สภาพป่าสลายไป ฯลฯ ทำให้สมดุลของธรรมชาติเสียและเกิดมีของเหลือทิ้งความสกปรกมากขึ้นจนที่สุดที่ธรรมชาติจะรับไว้ได้
ธรรมชาติก็เสียหายสภาพแวดล้อมก็เสื่อมโทรมไป
1.5 ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
1)
ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเนื่องจากสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม การเกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิตประจำวันจากที่เคยสุขสบายก็อาจจะเกิดเป็นทุกข์เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ
เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ดังเช่น น้ำ อาหารที่ดื่มกินถ้าสกปรกก็จะเกิดเป็น โรคอุจาระร่วง ไทฟอยด์ หรือโรคที่เป็นพิษทางสารเคมี
อากาศรอบ ๆ ตัวถ้าเป็นพิษหายใจเข้าไปก็เกิดเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ การถ่ายทิ้งของเสีย
ถ้าไม่มีระบบเก็บกำจัดที่ถูกต้องก็จะเป็นที่ น่ารังเกียจ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน
เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสมก็จะเกิดโรคที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพนั้น
ๆ ได้ ในยามพักผ่อนนอนหลับถ้ามีกลิ่นเหม็นรบกวน
และ มีเสียงดังรบกวนหรือที่เรียกว่ามลพิษทางเสียงทำให้การหลับนอนพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ก็เกิดอาการอ่อนเพลียเจ็บไข้ได้ง่ายและถ้ามีความเครียดอีกด้วยอาจทำให้เกิดสุขภาพจิตไม่ดี
2)
ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ระบบนิเวศในโลกมีมากมายหลายระบบ เช่น ระบบนิเวศน์ในทุ่งนา ระบบนิเวศน์ในทะเล ระบบนิเวศน์ในสระน้ำ ระบบนิเวศน์ในป่า แต่เมื่อเกิดสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงระบบนิเวศน์เหล่านี้มักเกิดการเปลี่ยนแปลง
ยกตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศน์ในป่าถ้าเกิดระบบนิเวศน์ เสียไปผลเสียที่จะตามมาคือป่าก็จะหมดสภาพ
สัตว์ที่อาศัยอยู่ก็กระจัดกระจายจากการเป็นระบบไปสู่ความไม่มีระบบถ้ายิ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารถูกทำลาย
ระบบนิเวศน์สลายไป ผลกระทบต่อปริมาณน้ำลดลงลักษณะของน้ำเปลี่ยนไปสิ่งที่ตามมาก็เกิดสภาพดินเสื่อมโทรมน้ำท่วมโดยฉับพลันอยู่เสมอ
ๆ เพราะไม่มีป่าช่วยทำหน้าที่เป็นเขื่อนธรรมชาติกั้นไว้และสุดท้ายพื้นที่นั้น ๆ ก็อาจจะกลายสภาพเป็นทะเลทรายได้ในที่สุด
ในแหล่งที่อยู่อาศัยอื่น ๆ ก็เช่นกัน ถ้าสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ก็จะมีอย่างมากมายและผลเสียก็จะมาสู่มนุษย์ทั้งในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน และทั้งการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ
1.6 การควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
1.8.1 ใช้หลักวิชาการที่ประกอบด้วย กระบวนการป้องกันและควบคุมทางกายภาพ
เคมี ชีววิทยา
1.8.2 ใช้ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยทั่วไปแล้วลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงมีอยู่
6 ขั้นตอน คือ
Pre-contemplation ขั้นตอนนี้
คนยังไม่พร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
และอาจจะยังไม่เห็นว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่เป็นปัญหาด้วย
Contemplation คนรับรู้ถึงปัญหาที่เกิด
และคิดว่าน่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ยังคงไม่เริ่มปรับพฤติกรรมใดๆ
Preparation คนเริ่มวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เริ่มตั้งเป้าหมาย เตรียมพร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยน
Action คนเริ่มปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
Maintenance คนสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างน้อย
6 เดือน
Relapse เป็นขั้นตอนที่อาจเกิดหรือไม่ก็ได้
คือ คนกลับไปกระทำพฤติกรรมเดิม
1.8.3 ใช้การแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ องค์ประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน
องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนมีจำนวน 3 ด้าน
ได้แก่
ด้านสิ่งแวดล้อม
ทำให้มีมากขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและอนุรักษ์ทรัพยากรพื้นฐานให้มั่นคง
ด้านสังคม มีการจัดสรรความเท่าเทียมกันในการใช้ทรัพยากรที่เป็นตัวชี้วัดพื้นฐานที่เพียงพอและจำกัดจำนวนประชากร
ด้านเศรษฐกิจ
ที่ต้องเติบโตอย่างเหมาะสมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและความสมดุลในระบบนิเวศ
โดยมีการดำเนินการดังนี้
1.การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ
เป็นรูปแบบในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเชิงพื้นที่ (Area Approach) มีการสร้างความสมดุลของการพัฒนาทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาแบบบูรณาการและมีความยั่งยืน
2.กระบวนการในการบริหารจัดการจะต้องมีความสอดคล้องกับหลักการของพื้นที่-ภารกิจ-การมีส่วนร่วม
(Area-Function-Participation : AFP) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในกระบวนการบริหารจัดการแนวใหม่
จะต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มและสนับสนุนบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน และภาคีการพัฒนาอื่นๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบแนวคิด
วิธีการ กลไกในการบริหารจัดการโครงการต่างๆ
เพื่อร่วมกันบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค
3.แนวทางการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ให้ความสำคัญในมิติของสิ่งแวดล้อมรวมถึงมิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
ที่ทำให้เกิดและได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบ
จากระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่สิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
1.8.4 ใช้หลักการสร้างมีส่วนร่วมในการรับรู้
วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา หลักการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง
การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคราชการนั้น
International Association for Public Participation ได้แบ่งระดับของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น
5 ระดับ ดังนี้
1.
การให้ข้อมูลข่าวสาร
ถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ำที่สุด แต่เป็นระดับที่สำคัญที่สุด
เพราะเป็นก้าวแรกของการที่ภาคราชการจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง
ๆ วิธีการให้ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางเสื่อต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ จดหมายข่าว การจัดงานแถลงข่าว
การติดประกาศ และการให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น
2.
การรับฟังความคิดเห็น
เป็นกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐด้วยวิธีต่าง
ๆ เช่น การรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ
การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น
3.
การเกี่ยวข้อง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
หรือร่วมเสนอแนะทางที่นำไปสู่การตัดสินใจ
เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงานของภาครัฐ
เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะ ประชาพิจารณ์
การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเสนอแนะประเด็นนโยบาย เป็นต้น
4.
ความร่วมมือ เป็นการให้กลุ่มประชาชนผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม
โดยเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ
และมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น
คณะกรรมการที่มีฝ่ายประชาชนร่วมเป็นกรรมการ เป็นต้น
5.
การเสริมอำนาจแก่ประชาชน
เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับสูงที่สุด โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ เช่น
การลงประชามติในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ
โครงการกองทุนหมู่บ้านที่มอบอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด เป็นต้น
1.8.5 ใช้หลักการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการหมายถึงกระบวนการที่บุคคลหรือองค์กร
การทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยห้าขั้นตอนรวมถึงการวางแผนการจัดระเบียบ
ผู้บัญชาการสั่งการประสานงานและการควบคุม ซึ่งประกอบด้วย
1.
การวางแผนหมายถึงแนวทางในการทำงาน
ภารกิจเสร็จสมบูรณ์โดยการใช้ดุลพินิจมองไปข้างหน้าเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานในอนาคต
2.
การจัดระเบียบองค์กรหรือวิธีการในการจัดระเบียบหรือโครงสร้าง
การทำงานในระบบเป็นระเบียบและส่วนประกอบที่เหมาะสม
จะได้รับประโยชน์และช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น
3. การบังคับบัญชาหมายถึงภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่จะโน้มน้าวชักชวนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือความสามารถในการทำงานตามคำสั่ง
องค์กรสามารถบรรลุ
4. การประสานงานวิธีการหรือทรัพยากรเพื่อให้แน่ใจว่าการประสานงานที่สอดคล้องกันภายในองค์กรที่ทำงานในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
เพื่อให้บรรลุการทำงานที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
5. การควบคุมงานหรือกระบวนการทำงานที่เริ่มต้นจากการกำหนดมาตรฐาน
การแก้ไขการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นเดียวกับการดำเนินการตามแผน
และการประเมินผลของแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
1.8.6 ใช้หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
การจัดการสิ่งแวดล้อมในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2550 นั้น แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านๆ มา
โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปราม
การกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและก่อให้เกิดมลพิษไว้ชัดเจนในมาตราต่างๆ
อาทิ
มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต
หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น
และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ
การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์การวางผังเมือง
การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน
ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ
มาตรา 66 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา
และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน
มาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์
บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้
เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน
และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน
รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ
ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว
สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้
ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 73 บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร
ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ
รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น
และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 85 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
โดยให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน้ำ
วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
และกำหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน
โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย
(2) กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น
รวมทั้งจัดหาแหล่งน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร
(3) จัดให้มีการวางผังเมือง
พัฒนา และดำเนินการตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
(4) จัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
ทั้งต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล
(5) ส่งเสริม บำรุงรักษา
และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย
สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน
ตลอดจนให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจัดการสิ่งแวดล้อม
ดังเช่น
มาตรา 290
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ
กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(1) การจัดการ
การบำรุงรักษา
และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในเขตพื้นที่
(2) การเข้าไปมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกเขตพื้นที่
เฉพาะในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตน
(3) การมีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมใดนอกเขตพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่
(4) การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
มาตราอื่นๆ เช่น มาตรา 86 (3) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา
และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งได้จากธรรมชาติและเป็นคุณต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
เป็นต้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2550
ฉบับเต็มอ่านได้ที่ ห้องสมุดกฎหมาย ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
2.พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
ตามความในมาตราของพระราชบัญญัตินี้
กรมควบคุมมลพิษมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการควบคุมการดำเนินกิจการของโรงงานอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะมาตรฐานและวิธีการควบคุมการกำจัดของเสียมลพิษหรือสารปนเปื้อนซึ่งเกิดจากกิจการของโรงงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ภายใต้พระราชบัญญัติโรงงานกระทรวงอุตสาหกรรมสามารถประกาศกฎกระทรวงเกี่ยวกับการกำจัดของเสียสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย
ห้ามการปล่อยทิ้งน้ำเสียและอากาศเสียจากโรงงานอุตสากรรม
แนวทางการมีระบบบำบัดของเสีย ตลอดจนกำหนดระดับเสียงไม่ให้เกินมาตรฐานของ EPA (US
Environmetal Protection Agency)
3.พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
ตามความในพระราชบัญญัตินี้
กรมควบคุมมลพิษเกี่ยวข้องในส่วนการกำจัดของเสีย ทั้งการควบคุมผู้ประกอบการขนส่ง /
ผู้รับจ้างกำจัดขยะมูลฝอยและของเสีย และการกำหนดเกณฑ์ควบคุม
เหตุเดือดร้อนรำคาญของส่วนรวมที่เกิดจากกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สารอันตราย
ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ขี้เถ้าพิษ ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
กรมควบคุมมลพิษควบคุมดูแลกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลาด การเก็บรักษา
การเก็บขนและสถานที่กำจัดมูลฝอย การปล่อยน้ำทิ้งและอากาศเสีย
4.พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดเกณฑ์ควบคุมวัตถุอันตราย
โดยการนำเข้า ผลิต ขนส่ง ใช้งาน การกำจัดและส่งออก
ไม่ให้มีผลกระทบและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช สมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
กระทรวงอุตสาหกรรมได้แบ่งสารอันตรายออกเป็น 4 ประเภท เพื่อให้สามารถควบคุมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตราย เพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการอื่นๆ
ในด้านข้อมูลวัตถุอันตรายและสร้างเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนวัตถุอันตราย
5.พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.
2535
ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให้กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการด้านขยะมูลฝอย
ความสะอาดของบ้านเมืองโดยทั่วไป สถานที่สาธารณะใดถูกปนเปื้อนก็จะทำให้เกิดมลพิษ
เช่น ขยะ กลิ่น เหตุเดือดร้อนรำคาญ และทัศนอุจาด (มลพิษภาวะทางสายตา)
6.พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 "กำหนดให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง
และตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น....."
ซึ่งหมายรวมถึงการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และเพื่อกระจายอำนาจอำนาจให้ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 จากพระราชบัญญัติกำหนดแผนฯ นี้
ได้มีการจัดทำแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมควบคุมมลพิษที่สำคัญ ได้แก่
งานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษด้านต่างๆ
งานการติดตามและตรวจสอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและมลพิษ
7.กฎหมายอื่นๆ
1.7 บทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข
1.7.1หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น
ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านวิชาการสาธารณสุข ภายใต้การกำกับ แนะนำตรวจสอบ
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ
ดังนี้
1.
ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา ค้นคว้า
วิเคราะห์ วิจัย สำรวจ รวบรวม ข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน
เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังโรค
การควบคุมป้องกันโรคและ ภัยสุขภาพ และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้ง การดูแลรักษาพยาบาล
การจัดบริการสุขภาพ การสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ การสุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อม
พัฒนาระบบกลไกและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุข
เพื่อช่วยในการเสริมสร้างระบบการสาธารณสุขที่ดี
(2) สรุปรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงาน
หรือรายงานการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการด้านสาธารณสุข เสนอผู้บังคับบัญชา
เพื่อประกอบการวางแผนในการปฏิบัติงาน
(3) ติดตามผลการศึกษา
วิเคราะห์ และวิจัยงานด้านสาธารณสุข เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน
ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ
(4) ร่วมพัฒนาเนื้อหา
องค์ความรู้ คุณภาพมาตรฐานเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข และระบบบริการสุขภาพ โดยบูรณาการแบบองค์รวมว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา
เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุขและระบบบริการสุขภาพ และจัดทำคู่มือ แนวทางปฏิบัติ
เอกสารวิชาการ สื่อสุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ สามารถ
ป้องกันตนเองจากโรคและภัยสุขภาพ
(5) ปฏิบัติการในการส่งเสริมสุขภาพ
อนามัยสิ่งแวดล้อม การควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ การเฝ้าระวังโรค
รักษาเบื้องต้น และติดตามฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์
ที่พร้อมใช้งาน เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
(6) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข
เช่น ข้อมูลของผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง บุคลากรทางด้านบริการสุขภาพ ประชากร
สถานะสุขภาพ ระบาดวิทยา สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคีเครือข่าย เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์
ในการปรับปรุงระบบงานสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
(7) ให้บริการคัดกรอง
ตรวจวินิจฉัย รักษาเบื้องต้น สอบสวนสืบสวนโรค ติดตามผู้ป่วย ผู้สัมผัส
เพื่อการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพ
และฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อให้ประชาชน มีสุขภาพที่ดี
(8) ร่วมประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงาน
ประเมินสถานประกอบการ สถานบริการสาธารณะ สถานที่สาธารณะทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
เพื่อการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
(9) ช่วยปฏิบัติงานส่งเสริม
ควบคุม กำกับมาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุข และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
1.7.2.
ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
1.7.3.
ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล
ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
1.7.4.
ด้านการบริการ
(1) ตรวจสอบสภาพของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ
ให้มีคุณภาพและเหมาะแก่การนำไปใช้งานอยู่เสมอ รวมทั้งสนับสนุนงานอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางสาธารณสุข
เพื่อให้การบริการดังกล่าวเป็นไปอย่างราบรื่น
(2) สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการหรือเทคโนโลยี
แก่บุคคลภายในหน่วยงาน เพื่อเป็นความรู้และให้สามารถดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
(3) ให้บริการทางวิชาการ
เช่น การจัดทำเอกสาร ตำรา คู่มือ เอกสารสื่อ เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ
เพื่อการเรียนรู้และความเข้าใจในระดับต่าง ๆ ในงานด้านสาธารณสุข
(4) ร่วมปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
และองค์กร เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีความชำนาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(5) นิเทศงานด้านสาธารณสุขให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
บรรณานุกรม
ท้าไม
ต้องมีมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ???. (2552). มติชนสุดสัปดาห์,
29 (1522), หน้า
54-55.
พนัส ทัศนียานนท์. (2541). พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม 2535
ถึงเวลาต้องยกเครื่องใหม่แล้ว ใน
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, สิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญ แปลงแนวคิดสู่ปฏิบัติ(หน้า 24).
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2535.
(2535,4 เมษายน).
ไพโรจน์ ภัทรนรากุล. ( 2545). ยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติตามแนวทางชุมชนพึ่งตนเองแบบ
ยั่งยืน : กรอบนโยบายและตัวแบบการจัดการ.
วารสารพัฒนบริหารศาสตร์,
42 (3), หน้า 24-
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
(255).การดำเนินงานแก้ไขมลพิษ. จาก http://www.pcd.go.th/Info_serv/pol_maptapoot_comment.html#s2
เกษม. (2535).แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม จาก http://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20Environment%20gr.4/Intro3.html
คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. (
2550).
การจัดการมลพิษ.,จาก http://www.nidaems5.com/modules/1212/archive/index.php/thread-632.html
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2548). สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2 : เรือนแก้วการพิมพ์,
1.7กิจกรรมที่ 1 ปฏิบัติการตามหลักการ green and
clean
จงบอกกิจกรรมของตัวท่านที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมตามหลักการgreen and
clean ในแต่ละด้าน
G ได้แก่
R ได้แก่
E ได้แก่
E ได้แก่
N ได้แก่
C ได้แก่
L ได้แก่
E ได้แก่
A ได้แก่
N ได้แก่
1.8แบบฝึกหัดบทที่ 1
1.ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้
1.1ความหมายของอนามัยสิ่งแวดล้อม
1.2ความสำคัญของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
1.3 ประเภทของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
1.4 ขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
12
2.1จงบอกประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
2.2ทิศทางของงานอนามัยสิ่งแวดล้อมหรือแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับประเด็น
3. จงให้คำนิยามสิ่งแวดล้อมของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
จ.ชลบุรี
3.1.ให้ท่านบอกวิธีจำแนกสิ่งแวดล้อมในวิทยาลัยฯตามองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม
3.2จงบอกผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในวิทยาลัยฯกรณี
3.2.1เกิดขึ้นที่หอพัก
3.2.2เกิดขึ้นที่โรงอาหาร
3.2.3เกิดขึ้นที่บริเวณทิ้งขยะของวิทยาลัยฯ
3.3.สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมของวิทยาลัยฯ
3.4การควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามหัวข้อ3.2ท่านจะใช้วิธีการใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น