แผนการสอน
รายวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย
บทที่
12 การสุขาภิบาลในภาวะฉุกเฉิน
หัวข้อ
12.1 แนวคิด
12.2ความหมายและประเภทของภาวะฉุกเฉิน
12.3
ผลเสียและปัญหาที่เกิดจากสาธารณภัยที่ก่อให้เกิดภาวะฉุกเฉิน
12.4ปัญหาที่เกิดจากสาธารณภัย
12.5 ระยะของการเกิดภัยพิบัติ
12.6
หลักทั่วไปในการจัดการสุขาภิบาลภาวะฉุกเฉิน (Disaster Sanitation)
12.7การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดสุขาภิบาลสภาวะฉุกเฉิน
12.8
วิธีดำเนินการจัดการสุขาภิบาลสภาวะฉุกเฉิน
12.1 แนวคิดและหลักการ
คำว่า "เหตุฉุกเฉิน" ถูกมองโดยคนอื่นและองค์กรแตกต่างกัน
ในกรณีทั่วไปเหตุฉุกเฉินอาจถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้นและ
/
หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งส่งผลให้เกิดภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพหรือความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอก
เพื่อรับมือกับสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น [1]
มีประเภทที่แตกต่างกันของเหตุฉุกเฉินขึ้นอยู่กับกรอบเวลาไม่ว่าจะเป็นเวลาไม่กี่สัปดาห์หลายเดือนหรือหลายปี
[1]จำนวนผู้ที่ได้รับและจะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
(วิกฤติมนุษย์และภัยพิบัติทางธรรมชาติ) ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากและมีความถี่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
คนที่ได้รับผลกระทบอาจได้รับอันตรายเช่นการไร้ที่อยู่อาศัยชั่วคราวและความเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพ
[2]
12.2 จำนวนชั่วโมงเรียน ภาคบรรยาย 2 ชั่วโมง
12.3 จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแมลงที่เป็นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์
ยุง แมลงวัน แมลงสาบ หนู การควบคุมและป้องกันโรค
12.4 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อนิสิตเรียนวิชานี้แล้ว นักศึกษามีความรู้ ความสามารถและทักษะ ดังนี้
1. สามารถบอกความหมาย
ความสำคัญของการสุขาภิบาลสิ่งขับถ่าย
2. สามารถอธิบายองค์ประกอบที่พิจารณาในการกำจัดสิ่งขับถ่าย
3.
สามารถบอกและอธิบายหลักการกำจัดและวิธีการกำจัดสิ่งขับถ่าย
12.5 เนื้อหาสาระ
ภาคบรรยาย
ความหมาย ความสำคัญของเกี่ยวกับแมลง
หลักการกำจัดและวิธีการกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
12.6 กิจกรรมการเรียนการสอน
ภาคบรรยาย ทำการสอนในห้องเรียนแบบบรรยาย
4 ชั่วโมง ในหัวข้อที่ 1 - 3
12.7 สื่อการเรียนการสอน
แผ่นสไลด์บรรยาย
(power
point)
เอกสารประกอบการสอน
เอกสารประกอบการสอน
ประกอบด้วยรูปภาพและตารางประกอบคำบรรยาย
12.8 การวัดผลและประเมินผล
สอบข้อเขียนกลางภาค ปลายภาค สรุปเนื้อหาที่เรียน /
ความรู้ที่ได้รับลงสมุดบันทึกท้ายชั่วโมงบรรยาย
บทที่
12 การสุขาภิบาลในภาวะฉุกเฉิน
หัวข้อ
12.1
แนวคิด
12.2ความหมายและประเภทของภาวะฉุกเฉิน
12.3
ผลเสียและปัญหาที่เกิดจากสาธารณภัยที่ก่อให้เกิดภาวะฉุกเฉิน
12.4ปัญหาที่เกิดจากสาธารณภัย
12.5 ระยะของการเกิดภัยพิบัติ
12.6
หลักทั่วไปในการจัดการสุขาภิบาลภาวะฉุกเฉิน (Disaster
Sanitation)
12.7การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดสุขาภิบาลสภาวะฉุกเฉิน
12.8
วิธีดำเนินการจัดการสุขาภิบาลสภาวะฉุกเฉิน
12.1
แนวคิด
ภัยพิบัติโดยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ขัดขวางทำลาย
การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่แพ้ ภัยก่อการร้าย (terrorism) และภัยมลพิษต่างๆ การจัดการภัยพิบัติต่างๆแต่เดิมมักทำแต่เรื่องการแก้ไข
ให้ความช่วยเหลือผู้ประสพภัย หรือการเร่งตอบสนอง(emergency response) เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆผสมมาด้วย เช่น การช่วยเหลือขาดประสิทธิภาพ
ของที่ให้มาช่วยขาดคุณภาพก่อปัญหาใหม่ใหญ่หลวงได้
ดังนั้นแนวคิดใหม่ในเรื่องการจัดการภัยพิบัติ
จึงต้องการให้จัดตามแนวคิดแก้และป้องกันปัญหาด้วยกันในลักษณะเป็นการบูรณาการองค์
ประกอบปัจจัยแห่งการช่วยเหลือให้เป็นองค์รวมร่วมมือกับแท้จริงมากขึ้น
มีการวางแผนรองรับแต่ก่อนเกิดภัย (pre-disaster
planning) ได้แก่กิจกรรม การป้องกันและบรรเทาล่วงหน้า(prevention&mitigation)
ผสานไว้ในแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีทำไว้อยู่ทุกท้องถิ่น
ตามด้วยแผนการเตรียมพร้อมเผชิญภัย ( preparedness) และแผนจัดระบบเตือนภัย
(warning system) พร้อมการฝึกปฏิบัติการตามแผนเพื่อประเมินการรับมือเป็นระยะๆ
มีการเตรียมจัดทำ แผนที่ความเสี่ยงให้รู้สภาพและจุดเสี่ยง และจุดปลอดภัย (rally
point)เพื่ออพยพมาตั้งหลัก( evacuation)เมื่อภัยมาถึงจริง หลังจากนั้นจึงเป็นเรือเร่ง ตอบสนองช่วยเหลือ(emergency
response) ซึ่งทำไปพร้อมกับการประเมินสภาพปัญหาและความต้องการอย่างเร่งด่วน
(rapid assessment) และ
ระดมความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากส่วนที่เตรียมไว้ไม่พอให้ทันกาลยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะเรื่องปัจจัยดำรงชีวิตสำหรับผู้ประสบภัย บ้านพักชั่วคราว อาหาร
เครื่องนุงห่ม การรักษาพยาบาล น้ำดื่มสะอาด และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ทุกระยะแห่งการจัดการควรเชื่อมสัมพันธ์เพื่อให้การฟื้นฟู (recovery
/ Rehabilitation) ดำเนินการสำเร็จรวดเร็ว
กลับสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน( sustainable development )ตามเดิม
12.2ความหมายและประเภทของเหตุฉุกเฉิน
เหตุฉุกเฉิน
(Emergency) หมายถึง
เหตุการณที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด และมีความรุนแรงทำ
ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ทำ
ให้ภาครัฐต้องประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่นั้นๆ
เพื่อระดมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนภาวะฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน
มีผลกระทบในระยะสั้นๆ หรืออาจเกิดสะสมมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องยาวนานก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบและลักษณะของความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นๆประเภทของภาวะฉุกเฉิน
สาธารณภัย (Disaster) หมายถึง ภัยอันมีมาเป็นสาธารณะไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ
หรือมีผู้ทำให้เกิดขี้น ได้แก่ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ตลอดจนภัยอื่นๆ
ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชนหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือรัฐ
ภาวะฉุกเฉิน/ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หมายถึง
ภาวะที่ทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพที่มีความรุนแรง (Seriousness
of the public health impact) ทำให้เกิดการป่วย และการตายจำนวนมาก
เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรือไม่เคยพบมาก่อน (Unusual or unexpected nature
of the event) เช่น
โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ
และโรคที่ไม่เคยพบมาก่อน มีโอกาสที่จะแพร่ไปสู่พื้นที่อื่น (Potential
for the event to spread) และอาจต้องมีการจำกัด
การเคลื่อนย้ายที่ของผู้คนหรือสินค้า (The risk that restrictions to
travel or trade) เช่น
โรคติดต่อจากสัตว์หรือมีการติดต่อได้ง่ายจากการเดินทาง
โรคระบาด (Epidemic)
ภัยอันเกิดการระบาดของโรค เช่น โรคเอดส์ (HIV) โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (Severe Acute
Respiratory Syndrome: SARs) โรคไข้หวัดนก (Bird Flu) โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1) เป็นต้นการสุขาภิบาลฉุกเฉิน
หมายถึงการจัดการและกระบวนการทางเทคนิคที่จำเป็นเพื่อให้สามารถเข้าถึงสุขาภิบาลในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นภัยพิบัติทางธรรมชาติและระหว่างปฏิบัติการบรรเทาทุกข์สำหรับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายใน
(IDPs) มีสามขั้นตอน:ได้แก่ การปฏิบัติการเฉียบพลันทันที
การปฏิบัติการระยะสั้นและการปฏิบัติการระยะยาว ในระยะเร่งด่วนมุ่งเน้นไปที่การจัดการการถ่ายอุจจาระเปิดและเทคโนโลยีห้องน้ำอาจรวมถึงส้วมพื้นฐานห้องส้วมห้องสุขาถังห้องน้ำที่ใช้คอนเทนเนอร์ห้องสุขาเคมี
รวมถึงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือและการจัดการกากตะกอนเป็นส่วนหนึ่งของการสุขาภิบาลฉุกเฉิน
ภาวะฉุกเฉิน แบ่งตามลักษณะของสาธารณภัยภัยหรือความผิดปกติของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น
ดังต่อไปนี้
12.1.1. ภาวะฉุกเฉินจากภัยธรรมชาติ (Natural
Disaster)
เป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากภัยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
มักเกิดขึ้นตามฤดูกาลเป็นส่วนใหญ่แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว
ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก
ภาวะฉุกเฉินจากภัยธรรมชาติ สามารถแยกย่อยต่อไปได้อีก ดังนี้
- สาธารณภัยเชิงอุตุนิยมวิทยา (meteorological
disaster) เกิดขึ้นตามฤดูกาล คือ
วาตภัย (Windstorm) หมายถึง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุลมแรง นับเป็นภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในระดับหนึ่ง
ถึงแม้ความถี่ของการเกิดวาตภัยจะลดลง
แต่มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งกลับมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยลำดับภัยที่เกิดจากแรงลมและพายุ
เช่นพายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น
พายุใต้ฝุ่นที่มีอำนาจทำลายสูงมาก
สามารถทำให้ต้นไม้ถอนรากถอนโคน
อากาศหนาวผิดปกติ
เช่น ในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
อุณหภูมิในบางปีลดต่ำลงใกล้ศูนย์องศาเซลเซียส
คลื่นความร้อน
(heat
wave) ทำให้อากาศร้อนผิดปกติในประเทศเขตหนาวทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจเสียชีวิตมากขึ้น
ภัยแล้ง (Drought)
หมายถึง ความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศ
อันเกิดจากการที่มีฝนน้อยกว่าปกติ
หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นระยะเวลานานกว่าปกติ และครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง
ภัยแล้ง (drought) ทำให้ข้าวและพืชผลทางการเกษตรเสียหายมาก เกิดความขาดแคลนและอดอยาก เป็นต้นเหตุของทุพภิกขภัยอย่างหนึ่ง
- สาธารณภัยตามสภาพภูมิประเทศ (topological
disaster) เป็นสาธารณภัยที่เกิดขึ้นตามลักษณะของภูมิประเทศ สาธารณภัยประเภทนี้ได้แก่
อุทกภัย (Flood)
หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม
น้ำป่าหรืออื่นๆ โดยปกติอุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง
ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง
เป็นต้น ประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปี
เนื่องจากมีการตัดไม้ ทำลายป่า
การทรุดตัวของดิน
มีลมพายุและลมมรสุมรุนแรง
ฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุน
หิมะถล่ม
ซึ่งถ้าไม่มีอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ไม่จัดเป็นสาธารณภัย
-
สาธารณภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวโลก(tectonic disaster) การเปลี่ยนแปลงของผิวโลกทำให้เกิดแผ่นดินเลื่อน แผ่นดินไหว
ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น
แผ่นดินเลื่อนหรือแผ่นดินถล่ม
(landslide) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของการสึกกร่อนชนิดหนึ่ง
ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินสูงหรือภูเขาที่มีความลาดชันมาก
เนื่องจากขาดความสมดุลในการทรงตัวบริเวณดังกล่าว
ทำให้เกิดการปรับตัวของพื้นดินต่อแรงดึงดูดของโลก
และเกิดการเคลื่อนตัวขององค์ประกอบธรณีวิทยาบริเวณนั้นจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำการเปลี่ยนระดับของชั้นผิวโลกทำให้เกิดการไหวและสั่นสะเทือนของอาคารบ้านเรือน บางครั้งเมื่อมีฝนตกหนัก ไม่มีการยึดเหนี่ยวของพื้นผิวดิน
อาจทำให้พื้นผิวดินพังทลายลงมาและเป็นอันตรายได้
แผ่นดินไหว (earthquake)
คือ
การเปลี่ยนแปลงของผิวโลกที่มีการสั่นสะเทือนเป็นลูกคลื่นและเป็นระลอกเคลื่อนจากจุดศูนย์กลางออกไปทุกทิศทาง ทำลายบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆแผ่นดินไหว
(Earthquake) สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ
ภูเขาไฟระเบิด
(volcanic
eruption) เป็นการปลดปล่อยหินละลาย และแร่ธาตุต่างๆ
จากใต้พื้นผิวโลกออกมาซึ่งบางครั้งก็อาจเป็นเพียงขี้เถ้า หรือควันดำ
หรืออาจเป็นหินหลอมเหลวที่มีความร้อนสูงอันเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
- สาธารณภัยทางชีวภาพ (biological
disaster) เป็นสาธารณภัยที่มีสาเหตุเนื่องมาจากสิ่งมีชีวิต เช่น
เชื้อโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคระบาด
สัตว์และแมลงที่ทำลายพืชไร่ทางเกษตรกรรม
การระบาดของโรค เช่น อหิวาตกโรค กาฬโรค โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ เป็นต้น
โรคติดต่อต่างๆ
สามารถทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ในเมื่อมีแหล่งแพร่เชื้อที่เหมาะสม มีการแพร่กระจายของโรค
และภูมิคุ้มกันของกลุ่มชนต่ำ
ภัยจากฝูงสัตว์และแมลง เกิดจากสัตว์บางชนิด เช่น หนูนา ตั๊กแตน ฯลฯ
ที่ทำลายพืชผลทางการเกษตรได้
อันนำมาซึ่งการเกิดทุพภิกขภัยหรือการระบาดของโรคจากอาหารได้
12.1.2. ภาวะฉุกเฉินจากภัยมนุษย์ (Man-made
disaster)
เป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งโดยความไม่ตั้งใจ
ประมาท เผลอเรอ และความตั้งใจในการทำลายล้างซึ่งกันและกัน ได้แก่
อัคคีภัย
หมายถึง ภยันอันตรายอันเกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล
ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง
สภาวะของไฟจะรุนแรงมากขึ้นถ้าการลุกไหม้ที่มีเชื้อเพลิงหนุนเนื่อง
หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามากจากการจราจร ทั้งทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ
ภัยจากการอุตสาหกรรม เช่น
การระเบิดของเครื่องจักร
ภัยจากการก่อสร้าง เช่น
อุบัติเหตุจากการก่อสร้าง
ภัยจากการขัดแย้งในผลประโยชน์
หรือการก่ออาชญากรรมในที่สาธารณะ เช่น การก่อการทะเลาะวิวาท
ภัยจากการก่อวินาศกรรม เช่น
การลอบวางระเบิด ลอบสังหารบุคคลต่างๆ
ภัยจากการจลาจล ภัยจากการรวมกลุ่มของบุคคลคณะใด
คณะหนึ่ง กระทำการมิชอบด้วยกฏหมาย ด้วยความตั้งใจและใช้ความรุนแรง
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทำให้เกิดภยันตรายขึ้นได้
ภัยจากสงคราม เช่น สงครามโลก
สงครามเกาหลี สงครามเวียตนาม
อย่างไรก็ตาม
ภาวะฉุกเฉินทั้งสองประเภทนี้อาจมีที่มาที่แตกต่างกัน
แต่ก็มักจะก่อให้เกิดภัยพิบัติในลักษณะเดียวกันได้ เช่น
ทั้งภัยธรรมชาติและภัยจากมนุษย์ก็สามารถก่อให้เกิด ไฟไหม้ อาคารก่อสร้างถล่ม
การระบาดของโรคได้ เป็นต้น
จากสาธารณภัยที่ก่อให้เกิดภาวะฉุกเฉินมาทั้งหมดนี้ อาจนำมาสรุปความสัมพันธ์ตมแผนภาพดังต่อไปนี้
12.3
ผลเสียและปัญหาที่เกิดจากสาธารณภัยที่ก่อให้เกิดภาวะฉุกเฉิน
1.
ผลเสียทางเศรษฐกิจ
เกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้ประเทศชาติต้องนำงบประมาณมาใช้เพื่อการบูรณะฟื้นฟู อันนำมาซึ่งการสูญเสียงบประมาณแทนที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้
อันเป็นการถ่วงการพัฒนาประเทศในอีกทางหนึ่งผลเสียทางเศรษฐกิจ
2.
ผลเสียทางเกษตรกรรม สาธารณภัยบางอย่าง เช่น วาตภัย อุทกภัย
สามารถก่อให้เกิดความเสียหายแก่การเกษตรกรรมของประเทศทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
ทั้งในระดับที่เกิดความเสียหาย และถึงขั้นเกิดการล่มสลาย
ซึ่งจะก่อให้เกิดการขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตรอันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ทั้งยังเป็นที่มาของผลเสียทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ได้ เช่น
อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
3.
ผลเสียทางอุตสาหกรรม เกิดจากความเสียหายของปัจจัยต่างๆ
ทางอุตสาหกรรมทั้งในด้านกระบวนการผลิต(สถานประกอบการ) ปัจจัยการผลิต (วัตถุดิบ แรงงาน ฯลฯ)
การขนส่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดการหยุดชะงักหรือล่มสลายลง และจะก่อให้เกิดการขาดแคลนสินค้า
และบริการต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสียหายของธุรกิจอื่นๆ อันนำมาซึ่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไปได้
4.
ผลเสียต่อทรัพย์สิน
สาธารณภัยก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติ
ทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้
ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซม แก้ไข
ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียเงินเพื่อการบูรณะฟื้นฟูและนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย
5.
ผลเสียต่อร่างกายและชีวิต
การเกิดสาธารณภัยแทบทุกครั้งจะนำมาซึ่งการสูญเสียร่างกายและชีวิตของทรัพยากรมนุษย์อันเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
ทั้งที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต
ซึ่งจะก่อให้เกิดการหยุดชะงักของการขับเคลื่อนของกลไกทางเศรษฐกิจได้
6.
ผลเสียต่อจิตใจ
การเกิดสาธารณภัยแทบทุกครั้งนอกจากจะนำมาซึ่งการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์อันแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียต่อจิตวิทยา คือ
ความหวาดวิตก กังวล และท้อแท้
ซึ่งสามารถจะนำไปสู่การหยุดชะงักในการปฏิบัติงาน
ตลอดจนการดำรงชีวิตได้
จนกลายเป็นการขัดขวางการพัฒนาประเทศชาติได้
12.4ปัญหาที่เกิดจากสาธารณภัย
1.
ปัญหาทางการสาธารณสุข เกิดจากการที่ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมอันไม่เหมาะสมจากความเสียหายอันเกิดจากสาธารณภัย
เช่น การขาดแคลนอาหาร น้ำสะอาด ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคระบาด
หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น
ทุพพภิกขภัยต่อประชาชนผู้ประสบสาธารณภัยเป็นอย่างมาก และสามารถก่อให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นๆ
ต่อไปได้
2.
ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม
นับเป็นผลต่อเนื่องมาจากความสัยทางด้านเศรษฐกิจและทรัพย์สิน เพราะเมื่อกลไกต่างๆ
ทางด้านเศรษฐกิจได้เกิดความเสียหายหรือล่มสลายลงไปแล้ว
ปัญหาการขาดแคลนสินค้าและบริการต่างๆ รวมทั้งเงินทองสามารถก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจติดตามมา
เช่น การว่างงาน ราคาสินค้าสูงขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ ปัญหาทางเศรษฐกิจดังกล่าวยังมีผลให้เกิดปัญหาสังคมติดตามมา เช่น
การว่างงานและไม่มีเงินในการยังชีพจะก่อให้เกิดการประกอบอาชญากรรม
ปัญหาราคาสินค้าสูงขึ้นอาจจะนำไปสู่ การก่อความไม่สงบ การจลาจล รวมไปถึงการก่อสงครามขนาดย่อยได้ ทั้งยังอาจเกิดปัญหาสังคมอื่นๆ อีก เช่น
เด็กถูกทอดทิ้งเพราะพ่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้
3.
ปัญหาทางการเมืองการปกครอง เมื่อเกิดสาธารณภัยใดๆ
และหากหน่วยงานของรัฐไม่ได้เข้าไปช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีแล้วอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว
ก็อาจทำให้ประชาชนเกิดปฏิกิริยในทางลบต่อหน่วยงานของรัฐ
อันอาจก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ จนกลายเป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศชาติได้
นอกจากนี้
สิ่งดังกล่าวยังนำอาจนำมาซึ่งการเสียภาพพจน์ของประเทศชาติในสังคมโลกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคข่าวสารในปัจจุบันนี้
4.
ปัญหาทางสาธารณูปโภค การสาธารณคมนาคม และการขนส่ง สาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ไฟฟ้า
น้ำประปา การคมนาคม ขนส่ง ติดต่อสื่อสารต่างๆ
เมื่อได้รับความเสียหายจากสาธารณภัยก็จะเกิดการหยุดชะงักไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนส่วนรวม
จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมบูรณะให้ใช้งานต่อไปได้ ในการนี้ก็จำเป็นต้องใช้งบประมาณมาดำเนินการอันจะนำมาซึ่งปัญหาเศรษฐกิจของประเทศชาติต่อไป
12.5 ระยะของการเกิดภัยพิบัติ
1.
ระยะเตือนภัย (warning stage) ระยะนี้เป็นช่วงระยะเวลาก่อนเกิดภัยซึ่งอาจจะสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิดของสาธารณภัย ทำให้มีโอกาสเตือนภัยแก่ประชาชนได้ ในปัจจุบันองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (world
meteorological organization) และการเฝ้าระวังอากาศโลก (world
weather watch) ได้อาศัยดาวเทียมขอบข่ายงานของสถานีพยากรณ์อากาศต่างๆ
และอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์ที่ทันสมัย
สามารถพยากรณ์สาธารณภัยทางอุตุนิยมวิทยาได้ล่วงหน้า เช่น พายุโซนร้อน
พายุดีเปรสชั่น พายุไต้ฝุ่น ซึ่งสามารถแจ้งให้ทราบถึงความเร็วลม
ทิศทางและกำหนดเวลาที่เข้าพื้นที่ได้ล่วงหน้าอย่างน้อย 36
ชั่วโมงซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินการป้องกัน
อพยพประชาชนและเตรียมการบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ การเตือนภัยให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้านับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อที่ประชาชนและเจ้าหน้าที่จะได้เตรียมการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามแบบแผนที่วางเอาไว้ อันจะมีผลให้เกิดความสูญเสียได้น้อยที่สุด
2.
ระยะเกิดภัย (impact phase) ระยะนี้เป็นระยะเวลาในการเกิดภัยพิบัติอันก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ระยะเวลาที่เกิดภัยพิบัตินี้แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของภัยนั้นๆ
ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เป็นวินาทีหรือนาที เช่น แผ่นดินไหว
คลื่นยักษ์ หรืออาจเกิดยืดเยื้อยาวนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน เช่นอุทกภัย วาตภัย
หรืออาจเกิดขึ้นยาวนานเป็นปี เช่น โรคระบาด
ความแห้งแล้ง
ผลกระทบนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้
ภัยพิบัติหนึ่งยังสามารถก่อให้เกิดผลกระทบที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ได้
เช่น การเกิดวาตภัยอาจนำมาซึ่งการเกิดอุทกภัยติดตามมาได้
3. ระยะกู้ภัย
(rescue
phase) ระยะนี้เป็นระยะของการช่วยชีวิตและระงับภัย
โดยทำให้ภัยสงบลงโดยเร็ว หรือลดอันตรายให้น้อยลง
การกู้ภัยควรทำทันทีขณะเกิดภัยพิบัติเพื่อลดความสูญเสียให้น้อยลงหรือจำกัดความสูญเสียนั้นไม่ให้ขยายวงกว้างออกไป
งานกู้ภัยนั้นมีความแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น
การดับเพลิง การรื้อถอนซากปรักหักพังเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
การปฐมพยาบาลและการดูแลฉุกเฉินแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ
ระยะนี้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานฝ่ายปกครองทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลางเป็นหลัก
ดังนั้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบงานในระยะนี้ต้องได้รับการจัดการให้มีความพร้อมต่อการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างทันเวลา
และสามารถประสานหน้าที่กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่
4.
ระยะบรรเทาภัย (relief phase) ระยะนี้เป็นระยะที่ภัยเริ่มสงบหรือหมดฤทธิ์ไม่เป็นอันตรายต่อไป
งานในระยะนี้จึงเป็นการบรรเทาภัยหรือบรรเทาทุกข์ที่ประชาชนกำลังประสบอยู่โดยทีมงานจากสาขาวิชาชีพต่างๆ
ทำงานร่วมกันทำการสำรวจความเสียหาย
ประเมินผลความจำเป็นรีบด่วน กำหนดเตรียมแผนการปฏิบัติการทันที และเริ่มดำเนินการตามแบบอย่างที่เร่งด่วน
ซึ่งในช่วงแรกควรมีการจัดการแจกจ่ายปัจจัยยังชีพขั้นพื้นฐาน เช่น อาหาร น้ำดื่ม
เครื่องนุ่งห่มฯ ไปสู่ผ็ประสบภัยการขนย้ายประชาชนออกนอกเขตอันตราย การสืบเสาะและส่งผู้ประสบภัยกลับภูมิลำเนาเดิม ประสิทธิภาพของการดำเนินการบรรเทาภัยนั้นขึ้นอยู่กับการเตรียมการ ความพร้อมของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งถ้าสิ่งเหล่านี้มีความพร้อมและความเพียงพอ การบรรเทาภัยก็ย่อมประสบความสำเร็จ
5.
ระยะฟื้นฟูสภาพ (rehabilitation phase) ระยะนี้เป็นระยะหลังจากภัยพิบัติได้สงบลงไปแล้ว
และได้รับการบรรเทาภัยในระยะเร่งด่วนไปแล้ว
งานในระยะนี้ควรเป็นงานในระยะยาวที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูบูรณะสิ่งชำรุดเสียหายที่เกิดจากสาธารณภัยให้กลับคืนสู่สภาพเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น
การขจัดสิ่งปรักหักพัง
การจัดการที่อยู่อาศัย
การฟื้นฟูงานอาชีพ
การซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ต่างๆ
12.6 หลักทั่วไปในการจัดการสุขาภิบาลภาวะฉุกเฉิน (Disaster
Sanitation)
12.6.1.
จัดการด้านทรัพยากรกลุ่มช่วยเหลือ
- หน่วยงานต่าง ๆ
- อาสาสมัคร
- เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
- มูลนิธิต่าง ๆ
โดยระบุ
ชื่อ-ที่อยู่-โทรศัพท์-ช่องทางติดต่อกันอย่างชัดเจน
- กองอำนวยการของฝ่ายช่วยเหลือต่าง ๆ
- ประสานงานระหว่างกองอำนวยการ
- มีลำดับ-เชื่อมโยงระหว่างผู้อำนวยการและประสานงานอย่างมีแผนเพื่อขจัดความสับสน
-
ตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในภาวะฉุกเฉิน 24
ชั่วโมง เพื่อให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและประชาชน1.
การจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราว ในกรณีที่ผู้ได้รับภัยพิบัติ เช่น อัคคีภัย วาตภัย
อุทกภัย อพยพลี้ภัย
อันทำให้ต้องไร้ที่อยู่อาศัยนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัยดังกล่าว
โดยที่พักอาศัยชั่วคราวนี้จำเป็นที่จะต้องมีสภาพการสุขาภิบาลขั้นมูลฐานที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง ทั้งนี้
โดยคำนึงถึงทำเลชั่วคราวที่จะสร้างที่พักชั่วคราวนั้นควรที่จะมีความเหมาะสม สะดวกปลอดภัยจากแหล่งที่ล่อแหลมต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ
เช่น ต้องเป็นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
สามารถจัดหาน้ำสะอาดได้ง่าย
สะดวกต่อการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
การคมนาคมที่สะดวก
12.6.2.
ประเมินความต้องการช่วยเหลือเฉพาะหน้า
และบริการสาธารณะที่ถูกทำลาย เพื่อทราบถึงขนาดความต้องการ
12.6.3.
จัดสรรทรัพยากรและบริการช่วยเหลือบริการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
1.
การจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค บริโภค
เนื่องจากน้ำสะอาดเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่สำคัญ ดังนั้น
จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการที่จะต้องจัดหาน้ำสะอาดเพื่อให้ผู้ประสบภัยได้บริโภค
และอุปโภคในปริมาณที่เพียงพอ
ไม่ว่าจะเป็นการนำน้ำในพื้นที่ เช่น ห้วยหนอง คลอง บึง
มาปรับปรุงคุณภาพโดยการประปาขั้นพื้นฐาน
หรือการต้องขนส่งน้ำจากนอกพื้นที่
เช่น จากชุมชนเมือง
มารองรับการอุปโภค บริโภคของผู้ประสบภัยซึ่งกำลังประสบความเดือดร้อนในขณะนั้น ทั้งนี้
เพราะน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง
โดยทั่วไปควรต้องจัดให้มีน้ำใช้วันละ 35 แกลลอนต่อคนต่อวัน
ระยะแรกต้องการใช้น้ำดื่มที่มั่นใจว่าสะอาดสำเร็จ คือ น้ำดื่มบรรจุขวด
ขนาดที่สะดวกเหมาะแก่การใช้ดื่ม
ขวดเล็กหรือขนาดถ้วย จำนวนมาก หน่วยการจ่ายน้ำที่สะอาดแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้มาช่วยเหลือควรอยู่นอกพื้นที่แต่ไม่ห่างจนเกินไป โดยมีพาหนะเช่น รถบรรทุกหรือปิคอัพ สามารถวิ่งระยะทางใกล้เข้าบริการ พื้นที่ข้างเคียงเหมาะจะเป็นกองอำนวยการจัดจ่ายน้ำที่
หน่วยราชการที่มีรถบรรทุกน้ำ
เตรียมพร้อมเสมอเหมือนกรณีเพลิงไหม้
2.
อาหาร-ระยะแรกควรเน้นเรื่องอาหารกระป๋องที่ปลอดภัยเท่านั้น เพื่อตัดปัญหาการปรุงซึ่งอาจมีการปนเปื้อน ไม่สะอาด
จากคนปรุงและอุปกรณ์ภาชนะ
-ระยะถัดไปหลังจากที่ผู้ประสบภัยกลับสู่ที่อยู่อาศัย
หรือมีการปรุงอาหารบริโภคกัน
ไม่ว่าจะปรุงเพื่อบริโภคกับคนกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ ต้องใช้สุขศึกษา เรื่อง ความสะอาดคือ ใช้น้ำสะอาด
ล้างภาชนะ
• คนสะอาด ล้างมือ
• ปรุงสะอาด สุกทั่วถึงสำคัญมาก
• เก็บสะอาด ป้องกันแมลง สัตว์นำโรค
• กินให้หมด คือ
จะได้หมดปัญหาเรื่อง เก็บอาหารไว้กิน
ถ้าเก็บควรเลือกชนิดอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อการบูด
• สภาพแวดล้อมบริเวณปรุงให้สะอาดให้มีภาชนะรองรับขยะ เศษอาหาร และมีฝาปิด
หรือถุงขยะมัดปากถุง
3.
ขยะมูลฝอยของเสียในพื้นที่หลังน้ำท่วม
ย่อมมีของเสียจากทะเลขึ้นมาบนบกด้วยและของเสียจากบกลงสู่ทะเล
เพื่อน้ำทะเลพักขึ้นท่วมและกวาดทุกอย่างลงจึงเป็นการละเลงทุกอย่างลงบนพื้นผิวบริเวณกว้างบ่อน้ำใต้ดินย่อมถูกปนเปื้อนด้วยของเสีย ซึ่งอาจเป็นทั้งเชื้อโรคและสารพิษต่าง ๆ
รวมทั้งของมีคมต่าง ๆ ที่เมื่อบาดเป็นแผลแล้วจะเกิดติดเชื้อทางแผลได้
วิธีการจัดการควรแยกบริเวณปนเปื้อนเป็นโซน
ๆ
และกันไม่ให้ประชาชนเข้าค้นหาสิ่งของแต่ถ้าจำเป็นควรใส่ถุงมือและสวมชุดป้องกันใส่รองเท้าบูท
หรือหาทางป้องกันการเกิดบาดแผลหรือการสัมผัสกับขยะด้วย
-ทีมอาสาสมัครเก็บกวาดขยะมูลฝอย ก็สวมชุดป้องกันครบถ้วน ฉะนั้นควรขอบริจาคถุงมือยางหนา และรองเท้าบูทจำนวนมาก
-ที่รองรับมูลฝอยเพื่อเก็บขน เป็นไปตามมาตรฐานปฏิบัติงานปกติทางเทศบาล
-ควรหลีกเลี่ยงการกองสุมขยะแล้วเผาในที่กลางแจ้ง ถ้าจำเป็นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิดป้องกันเพลิงไหม้เป็นปัญหาใหญ่ถัดไปอีก3. การกำจัดอุจจาระ
เนื่องจากอุจจาระเป็นสื่อในการติดต่อของโรคระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างมาก ดังนั้น
จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนมากในการจัดสร้างส้วมที่ถูกหลักสุขาภิบาลเพื่อใช้ในการขับถ่ายเป็นการชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัย
เช่น การสร้างส้วมสนาม
หรืออาจต้องใช้รถสุขาภิบาลเคลื่อนที่ซึ่งต้องจัดให้มีจำนวน 5 - 6
ที่ต่อคน
และจัดให้อยู่ห่างจากเต๊นท์หรือที่พักแรมไม่เกิน 200 ฟุต เพื่อป้องกันปัญหาโรคติดต่อดังกล่าว
ทั้งยังเป็นการป้องกันการเห็นภาพที่ไม่น่าดูด้วยในขณะขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายด้วย
4. สิ่งแวดล้อมในที่พักอาศัยปลอดภัยและสะอาด
เมื่อกลับเข้าบ้าน ตรวจดูสภาพพร้อมระวังอุบัติเหตุอันตราย เพราะบ้านอาจไม่แข็งแรงดังเดิม ระวังเรื่องไฟฟ้าช็อต เพราะผ่านน้ำท่วม
ศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูควรส่งช่างไฟฟ้าดูแลทั้งระบบปลอดภัยและให้คำแนะนำชาวบ้าน เรื่องความปลอดภัยด้านไฟฟ้าในบ้าน บ้านสะอาดต้องมีน้ำดื่มน้ำใช้สะอาด
มีส้วมและรองรับขยะมิดชิดพอสมควรแก่ฐานะ
มีครัวที่สะอาดพร้อมที่เก็บอาหารมิดชิดจากแมลงและสัตว์ที่อาจนำโรค
ความสะอาดทั่วไปจากพื้นบ้าน ใต้ถุนบ้านและบริเวณโดยรอบควรค่อย ๆ
เพิ่มภาระในก็เก็บกวาดรักษาความสะอาดจนปกติการทำความสะอาดบริเวณที่อาศัยและการกำจัดขยะมูลฝอย
ในที่อยู่อาศัยชั่วคราวที่จัดไว้ให้นั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำจัดขยะมูลฝอยที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคของผู้ประสบภัยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลเพื่อป้องกันการเกิดแหล่งที่เพาะโรคติดต่อต่างๆ
และเป็นที่อยู่ของสัตว์นำโรคติดต่อต่างๆ อันจะก่อให้เกิดปัญหาโรคระบาดติดตามมา
5.
การกำจัดน้ำเสีย
น้ำเสียซึ่งเกิดจากการอุปโภค บริโภคของประชาชนผู้ประสบภัยนั้น
จำเป็นที่จะต้องได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อต่างๆ
ที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ รวมทั้งเป็นที่มาของเหตุรำคาญได้โดยอาจจะทำเป็นการบำบัดแบบง่ายๆ
เท่าที่จะสามารถจัดหาได้ตามสถานการณ์โดยอาจจัดทำเป็นระบบ septic tank โดยปกติควรห่างจากค่ายพักหรือครัวประมาณ
50 ฟุต หรืออาจปล่อยให้ซึมลงพื้นดินบริเวณนั้นได้
ถ้าหากปริมาณน้ำเสียนั้นไม่มากจนเกินไป
6. การควบคุมป้องกันแมลงสัตว์แทะ และสัตว์ร้ายเนื่องจากผ่านน้ำท่วม อาจมีน้ำขังหลายบริเวณ ยุงจะชุม
อาจนำโรคไข้เลือดออก ดังนั้นการนอนในมุ้งหรือบริเวณที่ป้องกันยุงได้ จะช่วยป้องกันโรคที่นำโดยยุงได้ แต่กรณีใช้ธูปกันยุงต้องระมัดระวังไฟไหม้ และสูดกลิ่นไอให้เกิดการแพ้หรือเป็นพิษขึ้นได้
ถังขยะ
เศษอาหารต้องมิดชิดไม่เช่นนั้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธ์ หรือชักนำมาซึ่งแมลง และสัตว์อื่น ๆ แมลงวันจะชุกชุมมากภายใน2สัปดาห์
ควรรีบป้องกันและกำจัดที่แหล่ง
บริเวณที่อยู่อาศัยของผู้ประสบภัยนั้นอาจมีแมลงและสัตว์ที่สามารถนำโรคติดต่อต่างๆ
ให้แพร่ระบาดในคนหมู่มากได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น
การตรวจตราและกำจัดแมลงและสัตว์แทะเหล่านี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นมากกว่าการสุขาภิบาลในสภาวะปกติ
ทั้งการใช้วัสดุอุปกรณ์และสารเคมีกำจัดแมลงและสัตว์แทะโดยตรง และการกำจัดแหล่งอันเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงและสัตว์แทะเหล่านั้น
สรุป เรื่องที่ต้องช่วยเหลือในระยะฉุกเฉิน
1. น้ำดื่มสะอาด น้ำขวด
ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน
2.
น้ำใช้เพื่อรักษาความสะอาด
ล้างมือ ประปาฉุกเฉิน
3. อาหารปลอดภัย อาหารกระป๋อง
4. การกำจัดอุจจาระและล้างมือสะอาด
5.
ขยะมูลฝอยของเสียอันตราย เก็บกวาดขนหรือกองเผาฆ่าเชื้อด้วย การฝังต้องลึกและกลบทับพอเพียง
6.
แมลง/สัตว์นำโรค
ป้องกันยุงกัดขจัดโรคไข้เลือดออก
7.
การฆ่าเชื้อบริเวณที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับศพและการขนย้ายที่ถูกต้อง
8.
ระดมจัดการหาดสาธารณให้สะอาดโดยเฉพาะบริเวณที่ปกติน้ำเค็มท่วมไม่ถึง
9.
เตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อ
น้ำยาดับกลิ่น คลอรีน ปูนขาวให้พอเพียง
12.7การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดสุขาภิบาลสภาวะฉุกเฉิน
เมื่อเกิดสาธารณภัยใดๆ
และทำให้ประชาชนจำนวนมากได้รับภัยพิบัติโดยกะทันหัน
ในสภาพฉุกเฉินเช่นนั้นย่อมไม่สามารถจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลใดๆ
ที่เหมาะสมต่อการจัดสุขาภิบาลใดๆ ได้อย่างเพียงพอและทันที ดังนั้น
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่อย่างยิ่งที่จะต้องมีการคิดค้น ดัดแปลงวัสดุ
อุปกรณ์เท่าที่หาได้ในท้องถิ่นหรือเท่าที่มีอยู่ในสภาวะนั้นๆ
ให้สามารถใช้การได้ไปก่อนเป็นการชั่วคราว
เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการจัดสุขาภิบาลในสภาวะฉุกเฉินคือ
1.
การสร้างส้วมและห้องน้ำ
ในขณะที่ยังไม่สามารถสร้างส้วมซึมได้นั้น
เนื่องจากกิจวัตรของมนุษย์ที่สำคัญประการหนึ่งคือการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้น
การใช้ส้วมถังเท
หรือแม้แต่การขับถ่ายลงในภาชนะบางอย่าง เช่น กระโถน
หรือแม้แต่ถุงพลาสติกและใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
เช่น
คลอรีนในการกำจัดเชื้อจึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมในสภาวะที่ฉุกละหุกเช่นนั้น แล้วจึงมีการนำไปกำจัดโดยการเผาทิ้งหรือฝังทีหลังอย่างถูกหลักสุขาภิบาลได้
สำหรับการสร้างส้วมซึมไว้ใช้ในยามฉุกเฉินนั้น
จำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุที่มีความทนทานสามารถรองรับการใช้งานจากผู้ประสบภัยซึ่งมีเป็นจำนวนมากได้ในระยะเวลาหนึ่ง
เช่น ซีเมนต์เป็นหลักแทนที่จะใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สวยงามแต่ไม่สามารถรองรับปริมาณการใช้งานจำนวนมากขนาดนั้นได้
2.
การเก็บกักขยะมูลฝอย
ในการเก็บกักขยะมูลฝอยของแต่ละครอบครัวที่ประสบภัยก็เช่นเดียวกัน ควรจัดให้มีถังพลาสติกพร้อมฝาปิดขนาดความจุ
50-100 ลิตรไว้เพื่อเก็บกักขยะมูลฝอยของแต่ละวัน
ส่วนขยะมูลฝอยชนิดเปียกนั้น ควรใช้ถุงพลาสติกที่มีขนาดเท่ากันหรือใหญ่กว่าถังเล็กน้อยรองอีกชั้นหนึ่งภายในถังก่อนเพื่อป้องกันการรั่วไหล
และมีการเก็บรวบรวมจากทุกครอบครัวเพื่อนำไปทิ้งหรือทำลายยังสถานที่จัดไว้สำหรับทิ้งหรือทำลายโดยเฉพาะต่อไป
3.
การสร้างประปาฉุกเฉิน ประปาฉุกเฉินที่จัดสร้างขึ้นนี้ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยกองสุขาภิบาล
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นประปาสนาม สามารถติดตั้งและขนย้ายได้โดยสะดวก
รวดเร็ว โดยวัสุดอุปกรณ์การเก็บกักน้ำ
การทำหอถังน้ำ ได้ถูกออกแบบไว้เรียบร้อยสามารถถอดเก็บหรือติดตั้งได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพราะโครงสร้างต่างๆ
ทำด้วยเหล็กที่ออกแบบมาง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนแต่ประการใด
ส่วนที่ใช้บรรจุน้ำก็ทำด้วยผ้าใบพลาสติกที่สามารถม้วนพับได้
ท่อสำหรับจ่ายน้ำออกจากท่อประธานก็อาจเป็นท่อเหล็กหรือท่อเทฟล่อนได้
4.
การล้างบ่อน้ำและการทำลายเชื้อ ในกรณีที่เกิดอุทกภัยและได้เกิดน้ำท่วมในบ่อน้ำสำหรับอุปโภค
บริโภคของประชาชน เมื่อน้ำลดแล้ว
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการล้างบ่อน้ำและทลายเชื้อในบ่อน้ำเสียก่อน
โดยใช้ปูนคลอรีนละลายลงบ่อน้ำและวัดความเข้มข้นให้ได้ 50
ppm ทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วใช้เครื่องสูบน้ำสูบน้ำในบ่อทิ้งเพื่อทำลายเชื้อโรคที่ปนมากับน้ำในบ่อ ก่อนที่จะใช้น้ำซึ่งจะซึมออกมาในรอบต่อไป
12.8 วิธีดำเนินการจัดการสุขาภิบาลสภาวะฉุกเฉิน
1.
การเตรียมการก่อนมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
กลไกการทำงานเพื่อจัดการสุขาภิบาลสภาวะฉุกเฉินในประเทศไทยในปัจจุบันมีการดำเนินการดังต่อไปนี้
1.1
ส่วนกลาง กระทรวงสาธารณสุขมอบหมายให้กองสาธารณสุขภูมิภาคเป็นผู้ประสานงานทั้งกับกรมกองต่างๆ
ภายในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานอื่นภายนอก
กระทรวง ทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดทั้งเป็นกรรมการและอนุกรรมการร่วม และกองสุขาภิบาล กรมอนามัย
รวมทั้งศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 1-9
ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ
จะต้องร่วมกันจัดทำแผนการล่วงหน้าโดยคาดคะเนและคาดการณ์ตามเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแต่ละฤดูกาล
เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบภัยพิบัติ ดังนี้
1)
จัดทำงบประมาณสำรองเพิ่มเติมจากงบประมาณปกติไว้รองรับสภาพการณ์ที่จะเกิดขึ้นเพื่อจัดสรรให้จังหวัดที่ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์
2)
จัดเตรียมวัสดุครุภัณฑ์ด้านการสุขาภิบาลและทรัพยากรสนับสนุนที่จำเป็นตลอดทั้งยานพาหนะพร้อมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง
และน้ำมันหล่อลื่นไว้ให้พร้อม
3)
จัดตั้งศูนย์ประสานงานและเครือข่ายการสื่อสารส่วนกลางไว้
เพื่อสามารถติดต่อกับจังหวัดที่ประสบภัยได้ตลอดเวลา
4)
จัดหน่วยเฉพาะกิจไว้เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านกำลังคนแก่จังหวัดที่ประสบภัยเท่าที่จำเป็นตามที่จังหวัดร้องขอ
1.2
ส่วนภูมิภาค ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มีฝ่ายสุขาภิบาล
สำนักงานวิชาการและบริการสาธารณสุขเป็นเจ้าของเรื่อง
โดยมีการเตรียมการใหญ่ๆ ดังนี้คือ
1)
ทราบข้อมูลและแหล่งน้ำครอบคลุมทุกท้องที่ของจังหวัดว่าเป็นอย่างไรเพื่อพร้อมที่หาน้ำสะอาดให้กับผู้ประสบภัยหรือผู้อพยพได้อย่างทันท่วงที และมีเครื่องมือตรวจวิเคราะห์น้ำเคลื่อนที่พร้อมทีจะใช้งานได้ทุกโอกาสที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น
พร้อมกันนี้จะต้องมีสารส้มและคลอรีนหรือไฮโปคลอไรด์กักตุนไว้ใช้
ซึ่งจะเป็นชนิดใดขึ้นอยู่กับเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีอยู่
และเตรียมพร้อมไว้เพื่อปฏิบัติงานภาคสนามได้ทันที
2)
มีเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ไว้ในสำนักงาน
หรือถ้าหากไม่มีก็จะต้องทราบว่าสามารถจัดหาเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่หรือรถบรรทุกน้ำเคลื่อนที่ได้จากที่ใดบ้าง
หรือรถดับเพลิงที่มีอยู่ในท้องที่ก็สามารถนำมาใช้ในกิจการดังกล่าวได้
3)
อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับกักเก็บน้ำสะอาดเพื่อแจกจ่ายหรือบริการแก่ประชาชน เช่น
ถังบรรจุน้ำพลาสติก
ถังเหล็กหรือโครงเหล็กพร้อมทั้งผ้าใบหรือผ้าพลาสติกเพื่อทำประปาฉุกเฉิน
4)
การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดสร้างที่พักอาศัยชั่วคราว
อย่างน้อยอาจจะเป็นเต๊นท์ผ้าใบหรือเกี่ยวกับหน่วยงานที่จะต้องขอความร่วมมือและประสานงานที่มีอุปกรณ์เหล่านี้พร้อมอยู่แล้ว
เช่น กรมทหารที่มีอยู่ในจังหวัดนั้นๆ หน่วยของกรมทางหลวงภายในจังหวัด
หน่วยบรรเทาสาธารณภัยที่มีอยู่ในจังหวัด เป็นต้น
5)
การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น
ที่จะช่วยให้การช่วยเหลือสนับสนุนได้ทั้งหมดที่มีอยู่ในจังหวัดนั้น เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีที่จะเข้าไปปรึกษาหารือ
หรือพร้อมที่จะอธิบายแผนงานของตนให้หน่วยงานอื่นได้ทราบ นอกจากนี้
ยังต้องศึกษาดูว่าแต่ละหน่วยงานจะให้ความร่วมมือและสนับสนุนงานของตนในด้านใดได้บ้าง
6)
ควรกระตุ้นให้มีคณะกรรมการด้านการจัดการสุขาภิบาลในภาวะฉุกเฉินขึ้นภายในจังหวัด
ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จำเป็นต้องมีบัญชีหรือข้อมูลต่างๆ
ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสุขาภิบาล คือ
-
รายชื่อของอาสาสมัครด้านสาธารณสุขอื่นๆ
หรือรายชื่อช่างสุขภัณฑ์ประจำหมู่บ้านที่ได้รับการอบรมด้านการจัดหาน้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
-
วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการสุขาภิบาลที่มีอยู่ในจังหวัด ทั้งสถานที่ จำนวน
การนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีระหว่างที่มีภาวะฉุกเฉิน เช่น รถบรรทุก รถดับเพลิง
เครื่องสูบน้ำ เครื่องมือทำประปา เครื่องมือก่อสร้าง เครื่องพ่นยาฆ่าแมลง
อุปกรณ์เก็บขยะมูลฝอย และเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นต้น
2.
การดำเนินการขณะที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น
ในขณะที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นไม่ว่าผู้อพยพจะเป็นผู้ประสบภัยชนิดใดก็ตาม สิ่งที่จำเป็นเบื้องต้นสำหรับทุกคนคือ ปัจจัย 4
และสิ่งจำเป็นอีกประการหนึ่งก็คือ การบริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข อาหารและน้ำสะอาด ที่พักอาศัยและเครื่องนุ่งห่ม
ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องจัดบริการให้นั้น ต้องดำเนินการดังนี้คือ
2.1
ส่วนกลาง
กระทรวงสาธารณสุขมีเครือข่ายการสื่อสารโดยตรงกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีวิทยุของกระทรวงฯ อยู่แล้ว ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอด 24
ชั่วโมง
ถ้าหากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด และนอกจากจังหวัดและศูนย์สุขาภิบาลเขตฯ
จะรายงานข่าวสถานการณ์เข้าสู่ส่วนกลางเป็นระยะๆ ทางวิทยุของกระทรวงฯ แล้ว ก็สามารถติดต่อทางสื่อสารอื่นได้ตามความสะดวกและเหมาะสม
เพื่อผู้มีอำนาจจะได้พิจารณาสั่งการให้ปฏิบัติตามแผนและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดย
1)
สนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็นตามที่จังหวัดร้องขอ
2)
ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการนี้
3)
ในกรณีที่เกินกำลังความสามารถของจังหวัด
ก็จัดส่งหน่วยเฉพาะกิจเข้าไปช่วยเหลือ
4)
ติดตามประเมินผลทุกระยะ
พร้อมทั้งเตรียมการไว้ในการช่วยเหลือและสนับสนุนเพิ่มเติม
2.2
ส่วนภูมิภาค ในจังหวัดที่มีผู้ประสบภัยนั้น
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบเรื่องนี้จะรายงานให้ส่วนกลางทราบ
และติดต่อรายงานทุกระยะเพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและได้ดำเนินการแล้ว
พร้อมทั้งขอความช่วยเหลือและสนับสนุนจากส่วนกลาง ทั้งงบประมาณ
ทรัพยากร
กำลังคนที่เกินความสามารถของจังหวัดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้บริการแก่ผู้ประสบภัยเหล่านั้น และในการให้บริการด้านสาธารณสุขนั้น นอกจากการรักษาพยาบาลแล้ว การสร้างเสริมภุมิคุ้มกันโรคต่างๆ
ตลอดทั้งเซรุ่มป้องกันพิษงูก็จำเป็นต้องจัดบริการและจัดเตรียมให้พร้อมไว้ด้วย
2.3
การดำเนินงานหลังจากเหตุการณ์สงบแล้ว
เมื่อเหตุการณ์ต่างๆ สงบลง ในส่วนของผู้ประสบภัยซึ่งมาจากถิ่นอื่นก็สามารถกลับคืนสู่แหล่งที่อยู่อาศัยเดิมของตนได้
ส่วนผู้ประสบภัยซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นก็จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือตามแต่กรณี สำหรับงานที่ต้องทำหลังจากเหตุการณ์สงบลงแล้วนั้น มีดังต่อไปนี้
1)
ส่วนกลาง โดยเฉพาะกองช่างสุขาภิบาลและกองสาธารณสุขภูมิภาคนี้
จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านงบประมาณ ทรัพยากร กำลังคน และอื่นๆ
ที่ได้ให้การช่วยเหลือสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัยเสนอต่อผู้บังคับบัญชา
พร้อมทั้งสรุปรายงานผลการดำเนินงานตลอดทั้งปัญหา อุปสรรค
ข้อขัดข้องและข้อเสนอแนะ และนำมาปรับปรุงแผนงานเพื่อดำเนินการในปีต่อๆ ไป
2)
ส่วนภูมิภาค ในทำนองเดียวกันนี้
จังหวัดที่ประสบภัยก็จะต้องรวบรวมข้อมูลทุกประเภทนำเสนอต่อกระทรวงฯ
และนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับปีก่อนๆ
และทำการปรับปรุงแผนไว้รอรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปีต่อๆ ไปได้ถูกต้องตามระยะเวลาและฤดูกาลที่เกิดขึ้น
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
1.เอกสารการสอนชุดวิชาบรรเทาสาธารณภัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
2539
2.เอกสารการสอนชุดวิชา
อนามัยสิ่งแวดล้อม หน่วยที่ 13
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2537
3.Peter Harvey, with contrib. from Andy
Bastable...[et al.] (2007). Excreta disposal in emergencies a field manual : an
inter-agency publication. Loughborough: Loughborough university. Water,
engineering and development centre (WEDC). p. 250. ISBN 9781843801139.
4.Jump up ^ BORDA (2010). EmSan - Emergency
Sanitation - An innovative & rapidly applicable solution to safeguard
hygiene and health in emergency situations. Bremen Overseas Research and
Development Association (BORDA) & BORDA BNS Network
Your Affiliate Profit Machine is waiting -
ตอบลบPlus, getting it set up is as easy as 1--2--3!
Here's how it all works...
STEP 1. Tell the system what affiliate products the system will push
STEP 2. Add PUSH BUTTON traffic (it takes JUST 2 minutes)
STEP 3. Watch the system grow your list and up-sell your affiliate products all on it's own!
Are you ready???
Click here to make money with the system